การประเมินระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส เขตสุขภาพที่ 5
คำสำคัญ:
การประเมินระบบเฝ้าระวัง, โรคซิลิโคสิส, ฝุ่นหินบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสของเขตสุขภาพที่ 5 ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในปี พ.ศ. 2565 ของเขตสุขภาพที่ 5 จากแหล่งข้อมูลในจังหวัดสุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร และเพชรบุรี คือข้อมูลสุขภาพ 43 แฟ้ม (รหัส ICD-10) และโปรแกรมตรวจสอบข่าวการระบาด กรมควบคุมโรค โดยการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคตามรหัส ICD – 10 ที่กำหนด และเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้รับผิดชอบและผู้เกี่ยวข้องในระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิส
จากการทบทวนและสืบค้นเวชระเบียนผู้ป่วยตามรหัส ICD - 10 J62, J63, J64, J65, J40, J41, J42, J43, J44 และ J47 จำนวน 777 ราย พบการรายงานผู้ป่วยจำนวน 15 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์ตามนิยามที่กำหนดจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 0.77) มีความไวของการรายงานร้อยละ 100.00 และค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 40.00 ด้านคุณภาพของข้อมูลพบมีการบันทึกข้อมูลเพศ อายุ ร้อยละ 100.00 มีการบันทึกข้อมูลอาชีพที่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 46.66 และมีการบันทึกข้อมูลอาชีพแต่ไม่ระบุถึงการสัมผัสฝุ่นหินร้อยละ 53.33 โดยระบบเฝ้าระวังโรคซิลิโคสิสได้รับการยอมรับมีความยืดหยุ่น มีความมั่นคงและสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้
จากผลการศึกษาดังกล่าว เสนอแนะให้หน่วยงานส่วนกลางมีการพัฒนาระบบโปรแกรมหรือรูปแบบการบันทึกข้อมูลของโรงพยาบาลให้มีการบันทึกถึงลักษณะการทำงานหรือสิ่งคุกคาม และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ การรายงานโรค การวินิจฉัยและการส่งต่อ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
References
คณะทำงานแนวทางป้องกันควบคุมโรคปอดและฝุ่นหิน. แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคปอดฝุ่นหิน (Silicosis). มปม: กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. โรคจากการประกอบอาชีพ: โรคจากฝุ่นซิลิกา. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2566.
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center: HDC). กลุ่มรายงานมาตรฐาน: โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มี.ค. 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
กรมโรงงานอุตสาหกรรม. ข้อมูลโรงงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธ.ค. 65]. เข้าถึงได้จาก: https://www.diw.go.th/webdiw/s-data-fac/
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติควบคุมโรคจากการประกอบอาชีพและโรคจากสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 66]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/8420191010020910.PDF
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อหรืออาการสำคัญของโรคจากการประกอบอาชีพ พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 ต.ค. 66]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/0.pdf
คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, บรรณาธิการ. พื้นฐานระบาดวิทยา (Basics of Epidemiology). พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี; 2559.
เอื้อมพร หลินเจริญ. การวิเคราะห์และนำเสนอผลงานวิจัยคุณภาพ [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.พ. 67]. เข้าถึงได้จาก: http:// www.edu.tsu.ac.th/major/eva/files/journal/DataAnalysis.pdf
Nowak-Pasternak J, Swiatkowska B, Lipinska-Ojrzanowska A. Concept of health surveillance programmed for workers exposed to respirable crystalline silica at present and in the past. Med Pr 2023; 74(4): 341 – 6.
Schleiff PL, Mazurek JM, Reilly MJ, Rosenman KD, Yoder MB, Lumia ME, et al. Surveillance for silicosis – Michigan and New Jersey, 2003 – 2011. MMWR 2016; 63(55): 73 – 8.
Moreno – Torres LA, Ventura – Alfaro CE. Underreporting trends of occupational illnesses in Mexico. J Occup Health 2018; 60(1): 85 – 8.
J. Nowak – Pasternak, A. Lipinska – Ojrzanowska and B. Swiatkowska. Epidemiology of silicosis reported to the central register of occupational diseases over last 20 years in Poland. Int J Occup Med Environ Health 2022; 35(5): 561 – 70.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น