การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เด็งกี เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2566 ในหมู่ 7 และหมู่ 10 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ สุกาวงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • เชาวชื่น เชี่ยวการรบ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู
  • คเณศวร โคตรทา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสัง
  • ทรงเกียรติ ยุระศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ธนวัฒน์ ชนะแสบง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ผไทมาศ เปรื่องปรีชา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • เสียน ชุมสีวัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • สิวะนนท์ เติมสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ณัฐพล ยิ่งจำเริญ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู
  • นัฐพงษ์ ปัตถา สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโนนสัง
  • จารุณี แก้วยอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านก้าวหน้า
  • ชยานันท์ เกตุเมฆ องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู
  • รุ่งนภา สุ่ยหนู องค์การบริหารส่วนจังหวัดหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, ไข้เด็งกี่, การสอบสวนการะบาด, การควบคุมการระบาด

บทคัดย่อ

         โรคติดเชื้อไข้เด็งกีเป็นโรคประจำถิ่นที่เป็นปัญหาสำคัญต่อสุขภาพของประชาชนในประเทศไทย โดยมียุงลายบ้านและยุงลายสวนเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ การสอบสวนการระบาดโรคไข้เด็งกีในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันวินิจฉัยและยืนยันการระบาดของโรค เพื่ออธิบายลักษณะการเกิดโรค (บุคคล เวลา สถานที่) เพื่อศึกษาด้านกีฏวิทยา เพื่อประเมินการรับรู้และความตระหนักของประชาชน และหามาตรการควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออก วิธีการศึกษาได้แก่ การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา การศึกษาสภาพแวดล้อม การศึกษาผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ การศึกษาด้านกีฏวิทยา การศึกษาพฤติกรรมการรับรู้ของประชาชน ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยโรคไข้เด็งกีจำนวน 23 ราย (ยืนยัน 22 ราย เข้าข่าย 1 ราย) ไม่พบผู้เสียชีวิต พบผู้ป่วยในกลุ่มอายุ 10-14 ปี จำนวน 13 ราย ส่วนใหญ่มีอาการไข้สูงเฉียบพลันร้อยละ 95.65 ไข้สูงลอย 2 วันขึ้นไปร้อยละ 78.26 และปวดศีรษะร้อยละ 17.39 การระบาดแบบแหล่งโรคแพร่กระจายในครั้งนี้มีความเชื่อมโยงกันในชุมชนและโรงเรียน ผลการสำรวจพบความชุกลูกน้ำยุงลายในบ้านพบว่าหมู่ 7 มีความชุกร้อยละ 35.00 และหมู่ 10 ร้อยละ 37.50 (มาตรฐานในพื้นที่ระบาดเท่ากับร้อยละ 0) โดยพบลูกน้ำยุงลายทั้งภาชนะในบ้านและนอกบ้าน ได้แก่ ที่รองขาตู้กันมด ถังน้ำใช้ ภาชนะที่ไม่ใช้ ต้นบอนกระดาษ จานรองกระถาง อ่างบัว และน้ำเลี้ยงสัตว์ ผลการศึกษาด้านกีฏวิทยาพบเพียงยุงลายบ้านเพศเมียจำนวน 4 ตัว โดยทุกตัวเคยผ่านการวางไข่มาแล้ว ผลการศึกษาการรับรู้และความตระหนักต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนพบว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ดำเนินการกำจัดแหล่งวางไข่ยุงลายภายในบ้านและบริเวณบ้านร้อยละ 100.00 ประชาชนได้รับการแจ้งหรือประชาสัมพันธ์เมื่อมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกร้อยละ 93.10 และการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายควรเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านร้อยละ 48.61 ควรเป็นหน้าที่ของประชาชนร้อยละ 37.50 และเป็นหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขร้อยละ 13.89 ภายหลังจากดำเนินการสื่อสารความเสี่ยง การพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัยในบ้านและนอกบ้านด้วยเครื่องพ่นฝอยละออง (ULV) ติดรถยนต์และเครื่องพ่นสะพายไหล่ มาตรการสุ่มไขว้ประเมินความชุกของลูกน้ำยุงลาย และการจัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อกำหนดมาตรการควบคุมป้องกันโรค ทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคไข้เด็งกีได้ และไม่พบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลรักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีในผู้ใหญ่ พ.ศ.2563. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2558.

วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ. ผลแลปจากการตรวจเลือด....มีความหมายว่าอย่างไร [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 20 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://shorturl-ddc.moph.go.th/hI3Rn

เดลินิวส์. นักกีฏชี้ไข่ยุงลายสุดทนอยู่ในพื้นที่แห้งได้นาน 5 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 25 กันยายน 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://d.dailynews.co.th/regional/363201/

Kurnia N, Kaitana Y, Salaki CL, Mandey LC, Tuda JSB, Tallei TE. Study of dengue virus transovarial transmission in Aedes spp. in Ternate city using streptavidin-biotin-peroxidase complex immunohistochemistry. Infect Dis Rep 2022; 14(5): 765-71.

จำรัส เอี้ยงหมี, ภิพาภรณ์ โมราราช, นภดล วันต๊ะ, บุญรัตน์ ปันตา, เกษม ศิริมา, ประสิทธิ์ ถาวรอ้าย. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เดงกี บ้านสันป่าลาน หมู่ 5 ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2558. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2559; 47(พิเศษ): S34-40.

Bajwala VR, Nagamuthu A, Venkatasamy V, Rajasekar TD, John D, Ranga V, et. al. Report of dengue outbreak investigation in Jothinagar village, Thiruvallurdistrict, Tamil Nadu, India, 2017: epidemiological, entomological, and geospatial investigations. Int J Res Med Sci 2022; 10(7): 1494-502.

ชวนนท์ อิ่มอาบ วัฒนชัย ปริกัมศีล. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เดงกี่และโรคไข้เลือดออกเดงกี่ ในหมู่ 6 ตำบลจอมประทัด อำเภอวัดเพลง จังหวัดราชบุรี วันที่ 18-26 สิงหาคม 2559. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2559; 47(พิเศษ): S22-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-31

How to Cite

1.
สุกาวงค์ ก, เชี่ยวการรบ เ, โคตรทา ค, ยุระศรี ท, ชนะแสบง ธ, เปรื่องปรีชา ผ, ชุมสีวัน เ, เติมสุข ส, ยิ่งจำเริญ ณ, ปัตถา น, แก้วยอด จ, เกตุเมฆ ช, สุ่ยหนู ร. การสอบสวนการระบาดของโรคไข้เด็งกี เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ.2566 ในหมู่ 7 และหมู่ 10 ตำบลกุดดู่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. jdpc7kk [อินเทอร์เน็ต]. 31 กรกฎาคม 2024 [อ้างถึง 14 มิถุนายน 2025];31(2):29-44. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jdpc7kk/article/view/266491