การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในโรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง ในอำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ทวี พิมพันธ์ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น
  • รัตนา หาทนต์ โรงพยาบาลหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

สอบสวนโรค, โควิด 19, การติดเชื้อในโรงพยาบาล

บทคัดย่อ

งานระบาดวิทยา กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในอำเภอหนองเรือได้รับแจ้งว่าพบกลุ่มก้อน (Cluster) ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน 8 ราย หลังจากพบผู้ป่วยยืนยันโรครายแรกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2566 ทีมสอบสวนโรคดำเนินการสอบสวนระหว่างวันที่ 7 - 12 กุมภาพันธ์ 2566 มีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันการระบาดและวินิจฉัยโรคติดเชื้อ COVID-19 ศึกษาลักษณะทางระบาดวิทยา และกำหนดมาตรการควบคุมการระบาดของโรคที่เหมาะสม โดยทำการศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนาจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย สัมภาษณ์บุคลากรทางการแพทย์ ศึกษาสภาพแวดล้อมในกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค และยืนยันการติดเชื้อโดยป้ายหลังโพรงจมูกเพื่อส่งตรวจหาเชื้อ COVID-19 ผู้ป่วยยืนยันโรครายแรกเป็นผู้ป่วยชายอายุ 39 ปี จากการสอบสวนและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 21 ราย พบผู้ป่วยยืนยัน COVID-19 จำนวน 7 รายคือเภสัชกร 4 ราย (ร้อยละ 19.05) และเจ้าพนักงานเภสัชกรรม 3 ราย (ร้อยละ 14.29) อัตราป่วยร้อยละ 33 ลักษณะการระบาดเป็นแบบแพร่กระจาย แต่ไม่สามารถระบุต้นตอของการระบาดได้ชัดเจน แต่จากการสอบสวนโรคพบว่าบุคลากรทางการแพทย์ไม่ได้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานในห้องยา จุดอ่อนที่อาจเป็นสาเหตุของการระบาดครั้งนี้เกิดจากการไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเคร่งครัด ดังนั้นโรงพยาบาลควรมีการปรับปรุงมาตรการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ COVID-19 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นย้ำให้บุคลากรทางการแพทย์ใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลให้เหมาะสม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในกลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ควรส่งเสริมให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเพื่อป้องกันโรค COVID-19

References

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2020 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no607-010964.pdf

Centers for Disease Control and Prevention (US). Scientific brief: SARS-CoV-2 transmission [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 20]. Available from:https://www.cdc.gov/coronavi-rus/2019-ncov/science/science-briefs/sars-cov-2-transmission.html

Islam MS, Rahman KM, Sun Y, Qureshi MO, Abdi I, Chughtai A, et al. Current knowledge of COVID-19 and infection prevention and control strategies in healthcare settings: A global analysis. Infect Control Hosp Epidemiol 2020; 41: 1196-206.

Van Doremlen N, Bushmaker T, Morris DH, Holbrook MG, Gamble A, Williamson BN, et al. Aerosol and surface stability of SARS-CoV-2 as compared with SARS-CoV-1. N Engl J Med. 2020; 382: 1564-7.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-9) ทางห้องปฏิบัติการ SARS-CoV-2. นนทบุรี:กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

Department of disease control. Treatment guidelines for COVID-19 [Internet]. 2020[cited 2023 Feb 20]. Available from: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/eng/file/guidelines/g_treatment.pdf

สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.)กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 เขตเมืองด้วยกลไกอาสาสมัครชุมชน (อสช.). กรุงเทพฯ: ฮีซ์; 2565.

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563. เล่ม 117 ตอนพิเศษ 48 ง. หน้า 1. 2563.

Barranco R, Vallega Bernucci Du Tremoul L, Ventura F. Hospital-Acquired SARS-Cov-2 infections in patients: inevitable conditions or medical malpractice? Int J Environ Res Public Health 2021;18(2):489.

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers on vaccine [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 20]. Available from: https://www.emro.who.int/health-topics/corona-virus/covid-19-vaccines-questions-and-answers.html#safety

Juntaradee M, Yimyaem S, Soparat P, Jariyasethpong T, Danchaivijitr S. Nosocomial infection control in district hospitals in northern Thailand. J Med Assoc Thai 2005;88 (Suppl10): S120-3.

The European Centre for Disease Prevention and Control. Surveillance definitions for COVID-19 [Internet]. 2021 [cited 2023 Feb 26]. Available from: https://www.ecdc.europa.eu/en/COVID-19/surveillance/surveillance-definitions

Habermann EB, Tande AJ, Pollock BD, Neville MR, Ting HH, Sampathkumar P. Providing safe care for patients in the coronavirus disease 2019 (COVID-19) era: A case series evaluating risk for hospital-associated COVID-19. Infect Control Hosp Epidemiol 2021; 42(12): 1479-85.

เจษฎา ธนกิจเจริญกุล. หลัก ระบาดวิทยา การเฝ้าระวังทางสาธารณสุขและ การสอบสวนโรคทางระบาดวิททยา [อินเทอร์เน็ต]. มปป. [เข้าถึงเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/files/01_Priciple%20of%20Epi%20PHsurveillance%20and%20OB%20investigation_JT%20edit%20BG.pdf

กรมควบคุมโรค. แนวทางการสอบสวนโรคและควบคุมการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระยะเปลี่ยนผ่านสู่โรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง [อินเทอร์เน็ต. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_srrt/g_srrt_011065.pdf

Ariza-Heredia EJ, Frenzel E, Cantu S, Carlson M, Thomas G, Khawaja F, et al. Surveillance and identification of clusters of healthcare workers with coronavirus disease 2019 (COVID-19): Multidimensional interventions at a comprehensive cancer center. Infect Control Hosp Epidemiol. 2021; 42(7): 797-802.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30