การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในชุมชน สำหรับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • เกศรา แสนศิริทวีสุข สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • จุติพร ผลเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแลสุขภาพ, กลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ, สถานีสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพในชุมชนสำหรับกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานี  พื้นที่ศึกษาเลือกแบบเจาะจงเป็นพื้นที่เสี่ยงสูงและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ ประชากรเป้าหมายดังนี้ กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบ ได้แก่ 1) ฝ่ายวิชาการ 15 คน 2) ฝ่ายบุคลากรและอาสาสมัครสาธารณสุข 26 คน  3) ฝ่ายตัวแทนท้องถิ่น 12 คน และ 4) กลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจหรือผู้ดูแล 16 คน  และกลุ่มเป้าหมายในการดูแลสุขภาพในชุมชน คือประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป 461 คน  เก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบดูแลสุขภาพในชุมชน ประกอบด้วย 1) การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2) การคืนข้อมูลสู่ชุมชน 3) การสร้างระบบและกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงาน 4) การจัดรูปแบบดูแลสุขภาพในชุมชนครอบคลุมทุกกลุ่ม จึงเกิดกิจกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การร่วมจัดตั้งสถานีสุขภาพ “จิตอาสาดูแลหัวใจ” การคัดกรองความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด การให้ความรู้ 3 ฐานการเรียนรู้ การประเมิน CVD Risk การใช้แอปพลิเคชันแจ้ง 1669 และสอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ส่วนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเน้นการดำเนินงานเชิงรุก การบันทึกพิกัดบ้านใน Google Map ลงข้อมูลในแอปพลิเคชันรักษ์กุดยาลวน เพื่อเชื่อมหน่วยกู้ชีพ 1669 ทั้งระดับอำเภอและตำบลให้ทราบในเวลาเดียวกัน จากการประเมินผลลัพธ์หลังดำเนินการ พบว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบลมีคะแนนเฉลี่ยด้านทักษะและกิจกรรมการให้บริการดูแลสุขภาพกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05) ส่งผลทำให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นเบาหวานและความดันโลหิตสูง 390 คน ได้รับการคัดกรอง CVD Risk ร้อยละ 88.46 สำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจะได้รับการเยี่ยมบ้านและดูแลอย่างต่อเนื่อง ผลทำให้กลุ่มเสี่ยงสูงลดลงร้อยละ 58.82   ในจำนวนนี้เลิกบุหรี่ได้ใน 6 เดือนร้อยละ 100 และเลิกสุราได้ใน 6 เดือนร้อยละ 60 และมีผู้สงสัยโรคหลอดเลือดหัวใจได้รับการช่วยเหลือผ่านแอปพลิเคชันรักษ์กุดยาลวน 3 คน ดังนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลสุขภาพตนเอง ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องควรสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าถึงการรับบริการตรวจคัดกรองที่สถานีสุขภาพชุมชน เพื่อให้รู้ตัวเลข รู้ความเสี่ยง รู้สถานะ นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสมกับระดับความเสี่ยงและกลุ่มวัย เพื่อลดความสูญเสียด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคมต่อไป

References

สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ และแผนงานเครือข่ายควบคุมโรคไม่ติดต่อ สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานสถานการณ์ NCDs วิกฤตสุขภาพ วิกฤตสังคม. นนทบุรี: สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ; 2557.

สำนักโรคไม่ติดต่อ. แนวปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด (A practical guide for health behavioral modification to reduce multiple risk factors on cardiovascular disease). นครปฐม: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2553.

กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักควบคุมโรคไม่ติดต่อ. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคไม่ ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: อิโมชั่นอาร์ต; 2560.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานสรุปผลการตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10 ปี 2562. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2562.

HDC กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวาน และ/หรือ ความดันโลหิตสูงที่มี CVD Risk ≥ 20% ในช่วงไตรมาส 1, 2 และมีผล CVD Risk ลดลงเป็น < 20% ในไตรมาส 3, 4 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=cb65de9ec5fa4e5987b43da669b2280d.

กองโรคไม่ติดต่อ. รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2562.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานสรุปผลการนิเทศติดตามการดำเนินงาน NCDs ปี 2562. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี; 2562.

พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, ขนิษฐา นันทบุตร, บำเพ็ญจิต แสงชาติ. ศึกษากระบวนการใช้ข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 26(2): 29-40.

ปรีชา เปรมปรี, จิรภัทร กัลป์ยาณพจน์พร, สุพจน์ ศรีมหาโชตะ, เพชร รอดอารีย์, อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ. โครงการการทบทวนระบบข้อมูลโรคหัวใจ หลอดเลือด และ เบาหวาน. สํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

Millin MG, Gullett T, Daya MR. EMS management of acute stroke out of hospital treatment and stroke system development (resource document to NAEMSP position statement). Prehosp Emerg Care 2007; 11(3): 318-25.

ชนัญธวีร์ ฐิตวัฒนานนท์. ศึกษาการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนในการวางแผนกิจกรรมส่งเสริม สุขภาพโดยใช้กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ กรณีศึกษาชุมชนหนองไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. เวชสารโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 2553; 34(2): 99-104.

Kemmis S, McTaggert R. The action research planner. 3nd ed. Geelong: Ausralia Deakin University; 1988.

เจมส์ แอล เครย์ตัน. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน. ขอนแก่น: ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ท; 2551.

Dale, E. Audiovisual methods in teaching (3rd ed.). New York: Dryden Press; 1969.

Monday JL. Creating a sustainable community after disaster. The Natural Hazards Informer 2002; 3: 3.

Barbier EB, The Concept of sustainable economic development. JSTOR 1987; 14(2): 101-10.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย