การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การจมน้ำ, เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสาเหตุเชิงลึกของการจมน้ำในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โดยเริ่มต้นจากการสืบค้นฐานข้อมูลมรณบัตรและข่าวจากสื่อดิจิทัลในช่วงปี 2561-2564 เพื่อหาข้อมูลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำจำนวน 40 กรณีศึกษา จากนั้นทำการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์กับเครือญาติ เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยแบบเก็บรวบรวมข้อมูลและวิธี snowball sampling technique วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า เด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่ (ร้อยละ 50.0) อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ผู้ดูแลหลักมีการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด (ร้อยละ 42.5) เหตุการณ์เสียชีวิตมักเกิดขึ้นขณะที่ผู้ดูแลทำงานบ้าน/ทำงาน/เผอเรอ (ร้อยละ 80.0) โดยผู้ดูแลหลักในกลุ่มอายุ 0 - 2 ปี คือพ่อและแม่ร่วมกับปู่ย่าหรือตายาย (ร้อยละ 50.0) ส่วนในกลุ่มอายุ 3 - 4 ปีคือ พ่อและแม่ (ร้อยละ 59.1) แหล่งน้ำที่จมน้ำมากที่สุดในกลุ่มอายุ 0 - 2 ปีคือ แหล่งน้ำภายในบ้าน ได้แก่ ถังน้ำ อ่างปลา โอ่งน้ำ (ร้อยละ 33.3) ส่วนกลุ่มอายุ 3 - 4 ปีคือ บ่อน้ำ สระน้ำสาธารณะ (ร้อยละ 21.8) นอกจากนั้นยังพบว่า เหตุการณ์จมน้ำเสียชีวิตพร้อมกันหลายคนมักมีเด็กอายุ 5 - 7 ปีจมน้ำเสียชีวิตร่วมอยู่ด้วยเนื่องจากเด็กที่โตกว่าจะชวนเด็กเล็กไปเล่นด้วยกัน และผู้ดูแลหลักหรือผู้ที่พบเหตุการณ์ส่วนใหญ่ไม่รู้วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ทั้งนี้เกือบทุกกรณีศึกษาเป็นการจมน้ำที่เป็นอุบัติเหตุ (accidental drowning) มี 3 กรณีมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ (อุทกภัย) และ 2 กรณีที่อาจมีสาเหตุมาจากความตั้งใจ (intentional drowning)
สำหรับสาเหตุเชิงลึกที่พบได้แก่ พ่อแม่ หรือผู้ดูแลหลักขาดความรอบคอบและความเอาใจใส่ในการดูแลเด็ก การปล่อยให้เด็กเล็กอยู่กันเองตามลำพัง การปล่อยให้อยู่กับสัตว์เลี้ยง ของเล่น การฝากเด็กไว้กับผู้ที่ไม่มีความพร้อม เช่น ต้องดูแลเด็กหลายคน และ/หรือเป็นผู้สูงวัย การพลัดตกลงไปในแหล่งน้ำเนื่องจากพาเด็กไปอยู่ใกล้แหล่งน้ำหรือไปแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ภัยธรรมชาติ ได้แก่อุทกภัย น้ำท่วม น้ำป่าไหลหลาก และการเสียชีวิตที่มีสาเหตุไม่ชัดเจน
References
World Health Organization. The global burden of disease:2004 update. Geneva: WHO Press; 2008.
World Health Organization. Global report on drowning: preventing a leading killer. Geneva: WHO Press; 2014.
World Health Organization. Preventing drowning: an implementation guide. Geneva: WHO Press; 2017.
ส้ม เอกเฉลิมเกียรติ. ทบทวนวรรณกรรมการจมน้ำของเด็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2550.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2552.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ (Injury) ของเด็กในประเทศไทย ปี 2558 – 2562 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1343520221109024056.pdf.
กองป้องกันการบาดเจ็บ. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย ปี 2552 - 2561. นนทบุรี: รำไทยเพลส; 2563.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. จำนวนและอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำ พ.ศ. 2553 - 2564 [ไม่ได้ตีพิมพ์]; 2565.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การเสียชีวิตจากการจมน้ำ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://dip.ddc.moph.go.th/satdrowning/
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2556: การสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability-Adjusted Life Year: DALY). นนทบุรี: เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์; 2558.
Liu Z, Kong F, Yin L, Wang A, Xiong L, Xie D, et al. Epidemiological characteristics and influencing factors of fatal drowning in children under 5 years old in Hunan Province, China: case-control study. BMC Public Health 2019; 19(1): 955.
Cenderadewi M, Franklin RC, Peden AE, Devine S. Pattern of intentional drowning mortality: a total population retrospective cohort study in Australia, 2006–2014. BMC Public Health 2019; 19: 207.
Centers for Disease Control and Prevention. Drowning Prevention [Internet]. 2021 [Cited 2022 Nov 10]. Available from: https://www.cdc.gov/drowning/pdf/CDC-DIP_At-a-Glance_Drowning_508.pdf.
กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล, อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, อภิชาติ เมฆมาสิน. การศึกษาปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำในเด็ก พ.ศ. 2543 - 2545. วารสารกรมควบคุมโรค 2546; 29: 229 - 36.
ปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์. ภัยใกล้ตัวลูกที่พ่อแม่นึกไม่ถึงเด็กไทยจมน้ำตายอันดับหนึ่ง. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์; 2551.
สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. เรื่องเล่า ปิดเทอมอันตราย เด็กไทยจมน้ำตายมากที่สุด. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2555.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. รายงานการเฝ้าระวังการบาดเจ็บระดับชาติ (Injury Surveillance System: IS) ปี พ.ศ. 2563 [ไม่ได้ตีพิมพ์]; 2564.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
United Nations Thailand.Sustainable Development Goals in Thailand [Internet]. 2017 [Cited 2017 Jul 22]. Available from: https://thailand.un.org/th/sdgs
United Nations. Resolution adopted by the General Assembly on 28 April 2021: Global drowning prevention [Internet]. 2021 [Cited 2021 Apr 30]. Available from: https://documents-dds-ny.un.org/doc/UNDOC/GEN/N21/106/27/PDF/N2110627.pdf?OpenElement
Haddon W. Advances in the epidemiology of injuries as a basis for public policy. Public Health Rep 1980; 95(5): 411–21.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำในประเทศไทย ปี 2558 – 2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. จำนวน ร้อยละ และอัตราการเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ พ.ศ. 2546 - 2564 [ไม่ได้ตีพิมพ์]; 2565.
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์. รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาทบทวนสถานการณ์และโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บในเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2549 [ไม่ได้ตีพิมพ์]; 2549.
Plitponkarnpim A, Andersson R. Drowning: a hidden leading cause of death in Thai children. In: Book of abstract. World congress on drowning 2002; June 26-28, 2022; Stichting Foundation Drowning 2002. Amsterdam: Consumer Safety Institute Amsterdam; 2002. p.108.
Zhang PB, Deng JY, Chen RH. Analysis on the causes of accidental suffocation and drowning among children aged 0~4 in countryside of Jiangsu. Chin J Dis Control Prev 2001; 5 (3): 243–4.
Yang L, Nong QQ, Li CL, Feng QM, Lo SK. Risk factor for childhood drowning in rural regions of a developing country: a case-control study. Injury Prevention 2007; 13 (3): 178–1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น