ประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี พื้นที่จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณ พ.ศ.2565

ผู้แต่ง

  • สุจิตรา เทพมงคล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • ดารณี จุนเจริญวงศา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี, ประเมินผลการดำเนินงาน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และการสะท้อนกลับข้อมูลตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ปีงบประมาณพ.ศ.2565 เป็นการวิจัยประเมินผล  กลุ่มเป้าหมายคือบุคลากรผู้รับผิดชอบงานโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีพื้นที่จังหวัดสระแก้วจำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกผลการดำเนินงาน แบบสัมภาษณ์บุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และแบบสอบถามความรอบรู้ด้านการสื่อสารตามบริบท วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านปัจจัยนำเข้ามีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานครอบคลุม 5 มาตรการ ได้แก่ การคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ  คัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี  จัดระบบสุขาภิบาล บริหารจัดการสิ่งปฏิกูล การสื่อสารตามบริบทพื้นที่ และพัฒนานวัตกรรม 2) ด้านกระบวนการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับ เป็นไปตามแผนคือ 9 อำเภอ 59 ตำบล ตำบลละ 100 ราย รวมทั้งสิ้น 5,900 ราย คัดกรองมะเร็งท่อน้ำดีเป็นไปตามแผนจำนวน 2,000 ราย  จัดระบบสุขาภิบาล บริหารจัดการสิ่งปฏิกูล มีการประชุมเจ้าหน้าที่เทศบาล/อบต./สาธารณสุข  การสื่อสารตามบริบทพื้นที่เป็นไปตามแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจำนวน 1 อำเภอ คือ อำเภอวัฒนานคร และพัฒนานวัตกรรมเป็นไปตามแผนการพัฒนาบุคลากรในการตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับด้วยปัญญาประดิษฐ์ 3) ด้านผลผลิตโดยเปรียบเทียบค่าเป้าหมายตามผลการดำเนินงานกับค่าเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับ พ.ศ. 2559–2568 โดยผลการคัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 15 ปี ขึ้นไป ความชุกร้อยละ 2.92 (ความชุก < ร้อยละ 1)  อัตราการตายด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี 0.01  ต่อประชากรแสนคน (ปี 2578  อัตราการตาย 0.003 ต่อประชากรแสนคน)  การจัดระบบสุขาภิบาล บริหารจัดการสิ่งปฏิกูล  บ่อบำบัด ใช้ได้อำเภอละ 1 บ่อ (9 อำเภอ/9 บ่อ)

            ผลการประเมินหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการจัดระบบการนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานให้ต่อเนื่อง พร้อมทั้งคืนข้อมูลผลการดำเนินงาน ตลอดจนพัฒนาแนวทางใหม่ๆ  เช่น การตรวจพยาธิโดยการตรวจปัสสาวะ เป็นต้น  เพื่อนำไปสู่การบรรลุตามยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับ พ.ศ. 2559–2568

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ปี 2559-2568. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์กรทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

เจาะระบบสุขภาพ สบส. ลุยพื้นที่ 30 จังหวัดนำร่องป้องกันและควบคุมมะเร็งท่อน้ำดี สร้างระบบเฝ้าระวังเตือนภัยพฤติกรรมสุขภาพโดยชุมชน [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2023/03/27227.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี. รายงานข้อมูลผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2559-2564. กลุ่มโรคติดต่อ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี; 2565.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2564.

บุญทนากร พรมภักดี, สารัช บุญไตรย์, จุลจิลา หินจำปา, ประณิตา แก้วพิกุล. รูปแบบการติดตามและประเมินผลความสำเร็จของการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ระยะที่ 2 (ปี 2562 – 2568). วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2566; 30(3): 54-71.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

สถาบันมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชุดตรวจพยาธิใบไม้ตับสำเร็จรูปชนิดเร็ว OV-Rapid Diagnosis Test (OV-RDT) [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 6 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://cascap.kku.ac.th/ov-rdt/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30