ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • บุญธง พิมพ์โคตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า, ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2, ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 327 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Multiple logistic regression นำเสนอค่า Adjusted Odds Ratio (ORAdj) พร้อมช่วงเชื่อมั่น 95% Confidence interval (95%CI) และ p-value กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าอยู่ในระดับดีร้อยละ 65.75 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าในระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศหญิง (ORAdj = 1.87, 95%CI = 1.05 ถึง 3.29, p-value = 0.031) ไม่มีโรคไตร่วม (ORAdj = 5.29, 95%CI = 1.39 ถึง 19.47, p-value = 0.014) แรงจูงใจในการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าระดับสูง (ORAdj = 2.64, 95%CI = 1.24 ถึง 5.63, p-value = 0.011) และแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าระดับสูง (ORAdj = 4.86, 95%CI = 2.70 ถึง 8.73, p-value = 0.001) สรุป เพศ ภาวะโรคไตร่วม แรงจูงใจ และแรงสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้า ดังนั้น ควรเสริมสร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว ชุมชน มีส่วนร่วมในการดูแล และป้องกันการเกิดแผลเบาหวานที่เท้าร่วมกับผู้ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะโรคไตร่วมด้วย

References

กรมควบคุมโรค. รณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2564 หัวข้อ ACCESS TO DIABETES CARE : การเข้าถึงการดูแลโรคเบาหวาน ถ้าไม่ใช่ตอนนี้ แล้วจะต้องเมื่อไร [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=21692&deptcode=brc&news_views=60

ชยพล ศิรินิยมชัย. การจัดการแผลเท้าเบาหวาน: บทบาทของพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาล แห่งประเทศไทยฯ สาขาภาคเหนือ 2561; 24(1): 1-14.

พูนพงศ์ หุตะโชค. การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ป้องกันการถูกตัดเท้า [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.phyathai.com/article_detail/2485/th/การดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน_ป้องกันการถูกตัดเท้า_

โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. ดูแลเท้าอย่างไร? เมื่อเป็นเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/456.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ระบบติดตามประเมินคุณภาพข้อมูลตามตัวชี้วัดคุณภาพ จังหวัดอุดรธานี 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://203.157.168.50/cockpit65_ud/main/new_index2.php?stg_group_id=6&

สิริรัตน์ สถิตย์เสถียร. ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการป้องกันที่มีต่อพฤติกรรมการป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2560.

อภิชัย คุณีพงษ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 43(3): 101-7.

กรรณิการ์ ศรีสมทรง, โรจนี จินตนาวัฒน์, กนกพร สุคำวัง. ผลของการสนับสนุนการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล 2560; 32(3): 120-34.

นิชาภา เหมือนภาค, เขมกัญญา อนันต์, วัชรินทร์ จั่นขุนทด. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนอร์ทเทิร์น 2564; 2(4): 110-23.

อ่อนอุษา ขันธรักษา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี. ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถตนเองกับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารสุขศึกษา 2564; 44(2): 156-70.

Prentice-Dunn S, Rogers RW. Protection motivation theory and preventive health: beyond the health belief model. Health Educ Res 1986; 1(3): 153-61.

House JS, Kahn RL. Measures and concept of social support. In S. Cohen, & Sl. Syne Social support and health. New York: Academic Press; 1985. p83-108.

Hsieh FY, Bloch DA, Larsen MD. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Sta Med 1998; 17(14): 1623-34.

ธนาภรณ์ สาสี, เบญจา มุกตพันธุ์, พิษณุ อุตตมะเวทิน. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลคำบ่อ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2561; 21(1): 87-98.

Best J W. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc; 1977.

วงศา เล้าหศิริวงศ์. การประเมินคุณภาพบทความวิจัยด้านสาธารณสุขและการพัฒนาโครงร่างวิจัย. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2560.

Tavakol M, Dennick R. Making sense of Cronbach’s alpha. Int J Med Educ 2011; 2: 53-5.

พิมพ์ลักษณ์ รังษีภโนดร, ชัชวาล วงค์สารี, อัมพร เจียงวิริชัยกูร. การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเร็มในการดูแลป้องกันการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2561; 12(3): 89-100.

วิภาวรรณ นวลทอง, วัลภา คุณทรงเกียรติ, สุภาภรณ์ ด้วงแพง. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2561; 10(1): 94-105.

ศิริลักษณ์ ขณะฤกษ์, อุบล จันทร์เพชร. พฤติกรรมสุขภาพของวัยทำงานอายุ 15-59 ปี ในเขตสุขภาพที่ 5. วารสารช่อพะยอม 2562; 30(1): 153-64.

สุปรียา เสียงดัง. พฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลสิงหนคร อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2562; 2(3): 1-15.

ณิปไทย ศิลาเจริญ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลเท้าเบาหวานในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารกรมการแพทย์ 2560; 42(3): 85-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30