การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้กลไก 3 หมอ จังหวัดอุดรธานี
คำสำคัญ:
กระบวนการดูแลผู้ป่วยติดเตียง, กลไก 3 หมอบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเตียงโดยใช้กลไก 3 หมอ จังหวัดอุดรธานี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยติดเตียงจำนวน 259 คน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 45 คน และทีม 3 หมอจำนวน 30 คน แบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ขั้นการวางแผน (Plan) มีการวิเคราะห์สถานการณ์ ประเมินสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยติดเตียง จังหวัดอุดรธานี มีการวัดความรู้ อสม. และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงก่อนดำเนินการ ระยะที่ 2 ขั้นปฏิบัติการ (Do) มีการพัฒนาศักยภาพ อสม. กำหนดบทบาทหน้าที่ แนวทางการดำเนินการเยี่ยมบ้าน และแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของทีม 3 หมอ และการจัดกิจกรรมการดูแลผู้ป่วยติดเตียง การเยี่ยมบ้าน ระยะที่ 3 ขั้นการติดตามและประเมินผล (Check) มีการประเมินผลกระบวนการดูแลผู้ป่วยของทีม 3 หมอ วัดความรู้ อสม. และวัดคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียง หลังดำเนินการ และสรุปผล ระยะที่ 4 ขั้นการปรับปรุง (Act) การสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เก็บข้อมูลหลังการพัฒนา เปรียบเทียบการดำเนินการก่อนและหลังการพัฒนาเพื่อวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขเพื่อการปรับปรุงในรอบต่อไป เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามผู้ป่วยติดเตียง อสม. และแบบสัมภาษณ์ทีม 3 หมอซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และวิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ในส่วนแบบวัดคุณภาพชีวิตเท่ากับ 0.84 แบบประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการของผู้ป่วยติดเตียงเท่ากับ 0.94 หาค่าความยากง่ายของแบบสอบถามวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของ อสม. ด้วยวิธี KR20 ได้ค่าเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test
ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยติดเตียงหลังการดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value<0.001) 95%CI อยู่ระหว่าง 1.99 ถึง 4.66 ความพึงพอใจของผู้ป่วยติดเตียงต่อการได้รับบริการจากทีม 3 หมอ ภาพรวมอยู่ระดับมาก ( =4.00, S.D.=0.54) และสถานะสุขภาพของผู้ป่วยติดเตียงหลังได้รับการดูแลจากทีม 3 หมอมีสถานะสุขภาพดีขึ้นร้อยละ 72.59 รองลงมาคือ คงที่/เท่าเดิม ร้อยละ 26.25 และค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงของ อสม. พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้หลังดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (p-value=0.001) 95%CI อยู่ระหว่าง 0.54 ถึง 2.22
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน “สมาร์ท อสม. และ อสม.หมอประจำบ้าน”. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2564.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์แห่งประเทศไทย; 2559.
เพียงใจ จันทร์มณี. การดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านในรายที่มีสุขภาวะที่ดีในเขตเทศบาลนครภูเก็ต: กรณีศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 มิถุนายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.vachiraphuket.go.th/wp-content/uploads/2020/12/vachira-2021-03-19_08-34-40_414373.pdf.
สุวรรณา วุฒิรณฤทธิ์, วลัยนารี พรมลา. การดูแลผู้สูงอายุติดเตียง: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลทหารบก 2564; 22(3): 367-75.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2550.
กังวานไทย ออกตลาด. ศักยภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยกลุ่มติดเตียง โรงพยาบาลห้วยเกิ้ง จังหวัดอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560; 25(3): 231-40.
ประภาส อนันตา, จรัญญู ทองเอนก. ผลการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการเยี่ยมบ้านตำบลขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น 2556; 20(1): 1-8.
Likert R. New Patterns of Management. New York; 1961.
ปกรณ์ ประจัญบาน. สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2555.
Bloom BS. Taxonomy of Education. David McKay Company Inc., New York; 1975.
นงนุช หอมเนียม, สุภาพร มะรังษี, ดลนภา จิระออน. ผลของโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง ตำบลชุมเห็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2565; 30(3): 460-70.
ทิพยาภา ดาหาร, เจทสริยา ดาวราช. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม ตำบลหนองเหล็ก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม 2561; 2(3): 42-54.
อังคณา ธัญวัฒน์สวัสดิ์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมบริการของพยาบาลในโรงพยาบาลทั่วไปเขตภาคตะวันออกประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.
ประดับ มหายาโน. พฤติกรรมพยาบาลตามการรับรู้ของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. [การค้นคว้าแบบอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2548.
พิศสมัย บุญเลิศ, เทอดศักดิ์ พรมอารักษ์, ศุภวดี แถวเพีย. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(2): 79-87.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น