ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการลด เลิกบุหรี่ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสถาบันแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ไกรฤกษ์ สุธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • ขวัญตา สุธรรม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, การลด เลิกบุหรี่, นักศึกษาระดับอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการลด เลิกบุหรี่ของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษาในสถาบันแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี คัดเลือกกลุ่มทดลองแบบเจาะจงซึ่งเป็นนักศึกษาชายระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 2 และ 3 ที่สูบบุหรี่ 52 คน ตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วัดผลโปรแกรมก่อนและหลังการทดลอง เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Paired Sample T-test, Wilcoxon Matched Pairs Signed Rank Test พบว่า หลังทดลองค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อการลด เลิกบุหรี่ และค่าเฉลี่ยความรู้แตกต่างจากก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.001) ค่ามัธยฐานจำนวนมวนบุหรี่ที่สูบต่อวัน และค่าเฉลี่ยปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากลมหายใจลดลงกว่าก่อนทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) องค์ประกอบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูล การสื่อสาร ความเข้าใจ การจัดการตนเอง และการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้อง มีค่ามัธยฐานหลังทดลองมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.001) ส่วนค่ามัธยฐานการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศก่อนและหลังทดลองแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value >0.05) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ พร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับโทษของการสูบบุหรี่ และการเลิกบุหรี่ พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้แก่นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาที่สูบบุหรี่

References

World Health Organization. Guidelines for controlling and monitoring the tobacco epidemic. Geneva: WHO; 1998.

U.S. Department of Health and Human Services. The Health consequences of smoking-50 Years of progress: A report of the surgeon general [Internet]. 2014[cited 2020 Jan 2]. Available from: https://www.hhs.gov/sites/default/files/consequences-smoking-exec-summary.pdf

WHO global report. Mortality attributable to tobacco; 2012.

รณชัย คงสกนธ์, อนุตเชษฐ์ พัฒนธีร์ปพน. รายงานสถานการณ์การบริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2562.กรุงเทพฯ: สินทวีกิจพริ้นติ้ง; 2563.

พรรณปพร ลีวิโรจน์, อรวรรณ คุณสน, เกสร ศรีอุทิศ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่และผลการพัฒนาโปรแกรมการปรับความคิดและพฤติกรรม เพื่อลดการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นนอกระบบการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและการจัดการความรู้เพื่อควบคุมการบริโภคยาสูบ (ศจย.)สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2559.

จิราพร สุวะมาตย์, มณีรัตน์ เทียมหมอก. การทบทวนแนวทางการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการสูบบุหรี่สำหรับวัยรุ่น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2561; 34(1): 141-9.

Nutbeam D. The evolving concept of healthliteracy. Social Science and Medicine [Internet].2008 [cited 2020 January 10]; 67(12): 2072-8. Available from:https://doi.org/10.1016/j.socscimed.2008.09.050

กองสถิติเศรษฐกิจ, สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2562. (มปป.). ISBN 1686-4212.

สำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค. แผนงานควบคุมการบริโภคยาสูบ พ.ศ. 2560-2564[อินเทอร์เน็ต]. (มปป.)[เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.ashthailand.or.th/content/lists/524/42

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แนวทางการดำเนินงานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ปี 2562. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

อภิญญา ราชศรีเมือง, เกศินี สราญฤทธิชัย. ผลของโปรแกรมการประยุกต์ใช้ความรอบรู้ด้านสุขภาพร่วมกับการสร้างแรงจูงใจในการลดพฤติกรรมการดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นชาย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2563; 38(1): 49-58.

อาคม ทิพย์เนตร. ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสุขภาวะด้านยาเสพติดของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา; 2556.

กองสุขศึกษา, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561[อินเทอร์เน็ต]. 2560[เข้าถึงเมื่อ 13 มกราคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/linkHed/333

ภาสกร เนตรทิพย์วัลย์. โปรแกรมสร้างเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพเพื่อพัฒนาพฤติกรรมการป้องกันการสูบบุหรี่ในวัยรุ่นตอนต้นโดยประยุกต์การจัดการเรียนรู้แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2564.

สุกฤตา สวนแก้ว, ศิวพร อึ้งวัฒนา. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของวัยรุ่น ตำบลยางเนิ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพยาบาลกาชาดไทย 2564; 14(2): 93-106.

ปรัชพร กลีบประทุม, ศรัณญา เบญจกุล. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกสูบบุหรี่ ของผู้สูบบุหรี่ในตำบลบางแก้ว อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, นิรุวรรณ เทิรนโบล์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์. ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้สุขภาพของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2564; 20(3): 144-55.

ปราณี แผนดี. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการลดสูบบุหรี่ต่อพฤติกรรมการลดสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2563.

จรุณรักษ์ ยี่ภู่, อุษา คงทอง, บุญเรือง ศรีเหรัญ. การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อลด ละ เลิกพฤติกรรมการสูบบุหรี่สำหรับผู้ป่วยยาเสพติดเด็กและวัยรุ่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2561; 8(1): 131-46.

สุกัญญา คำก้อน, แอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ, สุรินธร กลัมพากร, สุคนธา ศิริ. โปรแกรมช่วยเลิกบุหรี่สำหรับผู้กลับมาสูบซ้ำของทหารกองประจำการ ในค่ายกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาล 2563; 69(1): 44-53.

ผกามาศ สุฐิติวนิช. การบูรณาการการดูแลผู้ป่วยสูบบุหรี่ในคลินิกโรคเรื้อรัง. ชัยภูมิเวชสาร 2558; 35(1): 40-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย