การศึกษาการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

ผู้แต่ง

  • สุภาพร พุทธรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • อรุณ เที่ยงอาชา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี
  • อภิลักษณ์ สลักหล่าย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

ช่องทางเข้าออก, เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ, ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดนบ้านคลองลึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงรวม 435 คน ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 จำนวน 5 คน 2) บุคลากรเครือข่ายผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวนทั้งสิ้น 20 คน และ 3) ประชาชนผู้มารับบริการ จำนวน  410 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา คือ จำนวนและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ด่านที่ศึกษามีการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) การจัดองค์กร 2) การเป็นผู้นำ 3) การจัดทำแผนปฏิบัติการ และ 4) การควบคุมกำกับ ติดตามและการประเมินผล มีความครอบคลุมของกระบวนการบริหารจัดการทั้งด้านการจัดองค์กร การวางแผนปฏิบัติการ การเป็นผู้นำและการควบคุมกำกับ ติดตามและการประเมินผล และผลความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการในด้านต่างๆของด่านที่ศึกษา ในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ปัจจัยความสำเร็จมีการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้มากที่สุด คือ การใช้กลไกการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรค ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ 2558 ผ่านคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด มีการดำเนินการตามขั้นตอนการเฝ้าระวังและคัดกรองผู้เดินทางและยานพาหนะตามแนวทางที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 กำหนดได้เป็นอย่างดี เจ้าหน้าที่ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ มีการฝึกอบรมทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องรวดเร็ว มีคู่มือแนวทางประกอบการดำเนินงานที่ชัดเจน มีการจัดโครงสร้างองค์กรและ work flow การปฏิบัติงานที่ง่ายผู้ใช้บริการสะดวก รวมทั้งผู้บริหารทุกระดับที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญ ส่วนโอกาสพัฒนาการบริหารจัดการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าปัญหาด้านบุคลากรไม่เพียงพอ ส่งผลให้ “งานล้นมือ” ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรอง ทั้งด้านบุคลากร เครื่องมือ/อุปกรณ์ และเพิ่มความครอบคลุมพื้นที่ส่วนอื่น เช่น จุดผ่อนปรนชั่วคราว และบูรณาการดำเนินการตามกระบวนการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเครือข่ายเพื่อให้เกิดความร่วมมือและให้ความสำคัญกับภาคเอกชน และมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน

References

โอภาส การย์กวินพงศ์. แนวทางการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในด้านโรคติดต่ออุบัติใหม่และโรคระบาดตามกรอบกฎอนามัยระหว่างประเทศ ค.ศ. 2005. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร; 2561.

พวงทิพย์ รัตนะรัต, พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ธีรศักดิ์ ชักนำ, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์. การประเมินสมรรถนะหลักด้านการเฝ้าระวัง สอบสวน และควบคุมโรค ตามตัวชี้วัดกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2557. สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค; 2557.

Cochran WG. Sampling Techniques. 3' ed. New York: John Wiley & Sons; 1977.

วีรพงษ์ ปงจันตา, อดุลย์ศักดิ์ วิจิตร. การตรวจจับ สกัดกั้นโรคติดต่อข้ามประเทศแบบบูรณาการของด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2560; 24(1): 14-24.

นาริฐา ทาคำสุข, ศิวากานต์ ชัยนนถี, พิมพ์ฤทัย จงกระโทก. รายงานการศึกษาการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรณีศึกษาการเฝ้าระวังป้องกันโรคไข้เหลือง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานดอนเมือง ปี พ.ศ. 2558 – 2562. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2563.

สมคิด บางโม. องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2553.

กนกศักดิ์ รักษาสัตย์. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเขตพื้นที่ชายแดนเขตสุขภาพที่ 10. วารสารศรีวนาลัยวิจัย 2564; 11(2): 51-61.

รุ่งทิวา มากอิ่ม, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย,ชมพูนุท โตโพธิ์ไทย. บทเรียนจากการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอ่างทอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2563; 14(4): 489-507.

องค์การอนามัยโลก ประเทศไทย. การทบทวนร่วมระหว่างการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด19 ในประเทศไทย. ม.ป.ท.: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

รูซือมัน อาแวเง๊าะ, นิสาพร มูหะมัด, วิชิต เรืองแป้น, วารุณี หะยีมะสา, นฤมล ทองมาก. การบริหารจัดการการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ชายแดนประเทศไทยในอนาคต. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2563;15(2): 230-9.

นรินทิพย์ ชัยพรมเขียว, ดารารัตน์ ศิริมงคล. รายงานการศึกษาการดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันโรคติดต่อระหว่างประเทศ กรณีศึกษาการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เหลือง ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ปี พ.ศ.2557 – 2561. กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค; 2562.

ฐิติญา รุ่งฟ้า, สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. ปัญหาทางกฎหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ กรณีฉุกเฉินตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565; 9(3): 398-411.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย