การประเมินประสิทธิผลมาตรการป้องกันควบคุมโรคกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล โยธา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นครินทร์ ประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประภัสรา ศิริกาญจน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภูวนาถ ศรีสุธรรม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การประเมินประสิทธิผล, มาตรการป้องกันควบคุมโรค, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง รูปแบบกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวโดยมีการวัดผลลัพธ์ก่อนและหลังให้ Intervention วัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลมาตรการป้องกันควบคุมโรคกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากฐานข้อมูลผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ของกรมควบคุมโรค ปี พ.ศ 2563-2564 จำนวน 2,223,435 คน ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยแบบแบ่งช่วงเชิงเส้นในการวิเคราะห์ข้อมูล

ผลการศึกษาพบว่า มาตรการปิดเมืองปี 2563 ของประเทศไทย หลังได้รับมาตรการปิดเมือง 1 เดือน อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 3.036 ต่อแสนประชากร (95%CI = 1.217 ถึง 4.856) และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับมาตรการปิดเมืองเปรียบเทียบกับก่อนได้รับมาตรการปิดเมือง อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 1.025 ต่อแสนประชากร (95%CI = 0.350 ถึง 1.701) และมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2564 ของประเทศไทย พบว่า 1 เดือนหลังจากได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 317.123 ต่อแสนประชากร (95%CI = 77.856 ถึง 556.390) และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงหลังจากได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เปรียบเทียบกับก่อนได้รับมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อโรคไวรัสโคโรนา 2019 ลดลง 257.419 ต่อแสนประชากร (95%CI = 213.642 ถึง 301.195)

โดยสรุปพบว่า มาตรการปิดเมืองปี 2563 และมาตรการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2564 ของประเทศไทย มีประสิทธิผลในการลดอุบัติการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย ซึ่งสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในการกำหนดนโยบาย วางแผน เฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงโรคอุบัติใหม่ เพื่อลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดผลกระทบทางสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

References

World Health Organization (WHO). Naming the coronavirus disease (COVID-19) and the virus that causes it [Internet]. 2021 [cited 2021 Nov 24]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-the-coronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it

WHO. WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2021 [cited 2021 Dec 31]. Available from: https://covid19.who.int

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 3 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/situation/situation-no728-311264.pdf

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/048/T_0001.PDF

กรมควบคุมโรค. คำแนะนำสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19 สำหรับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565] เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กรกฎาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2563/E/055/T_0001.PDF.

WHO. Status of COVID-19 Vaccines within WHO EUL/PQ evaluation process [Internet]. 2021 [Cited 2021 Mach 1]. Available from: https://extranet.who.int/pqweb/sites/default/files/documents/Status_COVID_VAX_01March2021.pdf

กรมควบคุมโรค. รายงานความก้าวหน้าการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ฐานข้อมูล MOPH Immunization Center [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19

Wagner AK, Soumerai SB, Zhang F, Ross-Degnan D. Segmented regression analysis of interrupted time series studies in medication use research. J Clin Pharm Ther. 2002; 27(4): 299-309.

Thayer WM, Hasan MZ, Sankhla P, Gupta S. An interrupted time series analysis of the lockdown policies in India: a national-level analysis of COVID-19 incidence. Health policy Plan. 2021; 36(5): 620-9.

Saha J, Barman B, Chouhan P. Lockdown for COVID-19 and its impact on community mobility in India: An analysis of the COVID-19 Community Mobility Reports, 2020. Children Youth Serv Rev. 2020; 116: 105160.

United Nations. World Economic Situation and Prospects [Internet]. 2021 [cited 2021 May 22]. Available from: https://www.un.org/development/desa/dpad/publication/world-economic-situation-and-prospects-july-2021-briefing-no-151

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้านเศรษฐกิจ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ittdashboard.nso.go.th/covid19_report_eco.php

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/getFiles/11/1628849610213.pdf

ภาสกร ศรีทิพย์สุโข, บุญยิ่ง ศิริบำรุงวงศ์, พิชญ ตันติยวรงค์, อารยา ศรัทธาพุทธ, พรรณศจี ดำรงเลิศ, พีร์ จารุอำพร. ประสิทธิผลของวัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย: การศึกษาในสถานการณ์จริง (ปีที่ 1). [รายงานการวิจัย]. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30