การพัฒนารูปแบบบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ

ผู้แต่ง

  • จุติพร ผลเกิด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี
  • จินทภา อันพิมพ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบบริการ, ผู้ป่วยเบาหวาน, หน่วยบริการระดับปฐมภูมิ, การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

บทคัดย่อ

          วิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการดูแลผู้ป่วยเบาหวานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (COVID-19) ตำบลจานลาน อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นเตรียมการวิจัย ทำความเข้าใจปัญหาในพื้นที่ และพัฒนา Mobile Application ประเมินความเสี่ยงและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย 2) ขั้นดำเนินการวิจัย เป็นการทดลองปฏิบัติ และปรับปรุงรูปแบบฯ และ 3) ขั้นประเมินผล กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง 47 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่คลินิกเบาหวานโรงพยาบาลพนา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จานลาน ตัวแทนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตัวแทนผู้ป่วยโรคเบาหวาน เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพนา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เครื่องมือประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์เชิงลึก  แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย แบบประเมินความพึงพอใจ และ Mobile Application ตรวจสอบค่าความตรงเชิงเนื้อหา และปรับปรุงเครื่องมือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัยพบว่าในช่วงการระบาดของ COVID-19 เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ได้ปรับมาตรการเพื่อลดการรวมกลุ่มของผู้ป่วย โดยให้ อสม. คัดกรองและติดตามผู้ป่วยในชุมชน ส่งข้อมูลผ่านกลุ่มไลน์ นำสมุดผู้ป่วยส่งที่ รพ.สต. และส่งยาให้ผู้ป่วยที่บ้าน อสม. จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเป็นผู้แพร่เชื้อสู่ชุมชน รูปแบบการบริการในชุมชนแบบใหม่โดย อสม. ใช้ Mobile application เป็นเครื่องมือประเมินผลความเสี่ยง และประเมินพฤติกรรมเสี่ยงรายข้อของผู้ป่วยรายบุคคล ซึ่งโปรแกรมจะประมวลและแสดงผลให้ทันทีพร้อมมีคำแนะนำการปฏิบัติตนให้ผู้ป่วย รพ.สต. ได้รับข้อมูลแบบ real time และ อสม. ยังสามารถจัดกิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อนในชุมชน ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการใช้งาน Application และรูปแบบการบริการใหม่อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานทุกด้านหลังดำเนินการสูงกว่าก่อนดำเนินการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php.

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย. ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไวรัสโคโรนา-19 (Coronavirus disease-19, COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=!67!12!!634!

ระวีวรรณ เลิศวัฒนารักษ์. ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลตัวเองอย่างไรในช่วง COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 13 ตุลาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/diabetes-with-covid.

ปัญจวรา บุญสร้างสม. 7 กลุ่มโรคที่ควรฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://chan.nfe.go.th/ThungBencha/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=45.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค เผยนักท่องเที่ยวชาวจีนติดเชื้อโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 รายที่สองในไทย หายป่วยและเดินทางกลับประเทศแล้ว[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=11134&deptcode=brc&news_views=1440.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. พัฒนารูปแบบการให้บริการวิถีใหม่ สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (เบาหวานและความดันโลหิตสูง). นนทบุรี: สินทวีการพิมพ์; 2565.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2022-04-12-34-22-104013-141.pdf

สำนักงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ. หมอประจำตัว ครอบครัวละ 3 คน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://healthserv.net/1451.

Deming WE. Out of the Crisis. Cambridge MIT Press: 1986.

Wagner EH. Chronic disease management: what will it take to improve care for chronic illness? Eff Clin Pract 1998; 1(1): 2-4.

Polit DF, Beck CT. Nursing Research: Principles and Methods. 7th ed. Philadelphia; Lippincott Williams & Wilkins: 2004.

จรัสดาว เรโนลด์, ศิริพรรณ ปิติ, มานะ อารี, สุมิตรา ชูแก้ว. การส่งเสริมการดูแลตนเองโดยใช้สื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented reality (AR) กรณีศึกษาผู้ป่วยโรคเบาหวานคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลตากสิน(รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม; 2562.

พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย, ขนิษฐา นันทบุตร, บำเพ็ญจิต แสงชาติ. ศึกษากระบวนการใช้ข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโดยชุมชนมีส่วนร่วม ในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารสภาการพยาบาล 2554; 5(2): 29-40.

รัตรพร พัฒคาต. การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอนิคมน้ำอูน. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ; 2561.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย