ประสิทธิผลความพร้อมรับด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2564
บทคัดย่อ
การวิจัยประเมินผลนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ ความพร้อมรับด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพที่ 7 ปี พ.ศ.2564 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง เป็นตัวแทนโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 7 จำนวน 4 แห่ง ดำเนินการเดือนมกราคม ถึง เดือนกันยายน พ.ศ.2564 เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาล 202 คน และผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการสารคัดหลั่งภายในโรงพยาบาล 175 คน ใช้เครื่องมือวิจัย 4 ฉบับ 1) แบบประเมินความพร้อมรับการดูแลรักษาโรคติดต่ออันตรายโรงพยาบาล 2) แบบประเมินความพร้อมห้องแยกผู้ป่วยเฉพาะโรคกรณีโรคติดต่ออันตราย 3) แบบทดสอบความรู้ของผู้ปฏิบัติงานด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และ 4) แบบทดสอบความรู้ของผู้ปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการสารคัดหลั่งภายในโรงพยาบาล ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (Indexes of Item-Objective Congruence: IOC) ค่าความเชื่อมั่นแบบทดสอบ ด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) และด้านความรู้ หาค่า Kuder-Richardson (KR-20) และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิผลของ
1) ปัจจัยนำเข้าความพร้อมรับด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของโรงพยาบาลแม่ข่ายในเขตสุขภาพที่ 7 มีอัตรากำลังครบถ้วนตามกรอบโครงสร้าง จำนวน 2 แห่ง และไม่ครบถ้วนตามกรอบโครงสร้าง จำนวน 2 แห่ง
2) กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายและความพร้อมห้องแยกผู้ป่วยเฉพาะโรคได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ครบทุกด้าน
3) ผลผลิตผ่านการประเมินมาตรฐาน (HA) 3 แห่ง จาก 4 แห่ง และความรู้ด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาล อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 73.8 (149/202) และความรู้เกี่ยวกับการจัดการสารคัดหลั่งภายในโรงพยาบาลของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 56.6 (99/175)
จากผลการประเมินดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรมีการนำผลประเมินไปใช้ประโยชน์สำหรับการพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมรับด้านการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอื่นๆ ต่อไป
References
สถาบันบำราศนราดูร. แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซด์; 2563.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานสรุปผลการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรคปี 2563. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2563.
กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้งานห้องแยกโรคผู้ป่วยแพร่เชื้อทางอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. สรุปผลการประเมินตนเองการประเมินความพร้อมรับผู้ป่วยโรคติดต่อสำคัญ/โรคติดต่อร้ายแรง และภัยสุขภาพที่มีประสิทธิภาพของโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเขตสุขภาพที่ 7; 2563.
ศิริชัย กาญจนวาสี. สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2550.
วิไลลักษณ์ วงศ์จุลชาติ. การใช้กลวิธีหลากหลายเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตามแนวทางป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2560; 31(3): 441 - 56.
สุมล สายอุ่นใจ, ปวีณา มามั่ง, อังสนา จำปา. ประเมินผลโครงการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาลวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2550; 2: 75 – 90.
สุกัญญา ชิตวิลัย. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ จังหวัดราชบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2556.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น