การประเมินผลการพัฒนาและความต้องการจำเป็นในการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำในเขตสุขภาพที่ 5

ผู้แต่ง

  • ณวรัฎ อติรัตนา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี
  • อนุสรณ์ ภวภูตานันท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ, การประเมินผล, ความต้องการจำเป็น

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะเกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ เป็นการวิจัยประเมินผล โดยใช้  CIPP Model และผสมผสานคู่ขนาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ ข้อมูลเชิงคุณภาพจากพยาบาลเรือนจำและข้อมูลทุติยภูมิ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2566  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความสำคัญของนโยบาย การสั่งการที่ชัดเจน การสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำดำเนินได้ด้วยดี มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรควัณโรค โรคเอดส์ และโรคไข้หวัดใหญ่ อยู่ในระดับ “ดีมาก” อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำส่วนใหญ่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาสาธารณสุขในเรือนจำ ดังนั้น เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำได้รับการพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสม ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ควรร่วมกันพัฒนารูปแบบและเนื้อหาการอบรมและสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้แก่พยาบาลและอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ

References

พาหุรัตน์ คงเมือง ทัยสุวรรณ์. ความร่วมมือในการดำเนินการด้านระบบบริการสุขภาพผู้ต้องขังกระทรวงสาธารณสุข. ประชุมวิชาการการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ที่ถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐ ครั้งที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566; 11 พฤษภาคม 2566; โรงแรมรามาการ์เด้นส์. กรุงเทพมหานคร.

กมลวรรณ อิ่มด้วง, นุชทิมา โสภาวาง, ฐาปะนีย์ ชูเหลือ. รูปแบบการค้นหาวัณโรคในเรือนจํา เขตสุขภาพที่ 11. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก 2561; 5(3): 1-14.

กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

พิมพ์นรา อินทรปะเสริฐ. เพราะสิทธิที่จะมีชีวิตรอดเป็นของทุกคน | ส่องสถานการณ์วัณโรคในเรือนจำเมื่อโควิดเข้าไปกดทับ [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.sdgmove.com/2021/07/01/sdgupdates-tb-prison/.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข .หลักสูตรการฝึกอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำ(อสรจ.). [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/fileupload_doc/2019-12-13-1-19-50331521.pdf.

กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. รายงานสถิติผู้ต้องหาในพื้นที่เขต7 (เขตสุขภาพที่ 5) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/rt103pdf/reporttable.Php?Date=2023-03-01&area=7&report.

กลุ่มระบาดวิทยา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี.รายงานผู้ป่วยจากสถานพยาบาลเรือนจำในเขตสุขภาพที่ 5 ราชบุรี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 5 จังหวัดราชบุรี; 2566.

รัตนะ บัวสนธ์. รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 2556; 5(2): 7-24.

สถาบันนวัตกรรมและอภิบาลข้อมูล. วิธีคำนวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตร "ทาโร่ ยามาเน่” (Taro Yamane) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 13 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://digi.data.go.th/blog/method-of-controlling-the-sample/.

กรมควบคุมโรค. เอกสารประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกรมควบคุมโรคประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 28 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1056820201007064440.pdf.

ดุษฎี นรศาศวัต, นันท์นภัส ยุทธไธสงค์. การประเมินผลการนำนโยบายโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดีเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ไปปฏิบัติในเขตสุขภาพที่ 3 ปีงบประมาณ 2563. วารสารโรคและภัยสุขภาพสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2563; 14: 29-41.

กรมราชทัณฑ์ กระทรวงยุติธรรม. คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 2 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/infosaraban65/letter/filepdf/1647845702.pdf.

หนังสือราชการสั่งการของกรมราชทัณฑ์ ที่ ยธ 0705.4/9196 ลว 1 เมษายน 2564 เรื่อง รายละเอียดและแนวทางปฏิบัติในการดำเนินงานตามโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ ในระยะที่ 2 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.correct.go.th/infosaraban64/letter/filepdf/1617329719.pdf.

กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กวัยเรียน กลุ่มวัยทำงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://hss.moph.go.th/HssDepartment/img/pdf/googleformHBHL.pdf.

Gronlund, 1981 อ้างใน บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. คู่มือการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์.พิมพ์ครั้งที่ 7: กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2546.

สุวิมล ว่องวาณิช. การวิจัยประเมินความต้องการจําเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.

มูลนิธิราชทัณฑ์ปันสุขทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. รายงานประเมินผลการพัฒนาระบบสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำ ประจำปี พ.ศ. 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 มีนาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก https://www.moj.go.th/view/75036.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09