ผลการพัฒนาฐานข้อมูลสัตว์ เพื่อการจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ระดับองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งหนึ่ง
คำสำคัญ:
ฐานข้อมูลสัตว์, การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาฐานข้อมูลสัตว์ การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสัตว์อย่างเป็นระบบ วิเคราะห์ ประมวลผล และเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ในการจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้งในการเฝ้าระวัง ติดตามสัตว์เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ ติดตามการฉีดวัคซีน ประเมินสถานการณ์และวางแผนป้องกันควบคุมโรคในสัตว์ให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยประยุกต์ใช้หลักกระบวนการคิดเชิงระบบ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) สำหรับวิเคราะห์สภาพปัญหา คือ ผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล ปศุสัตว์อำเภอพล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองพล โรงพยาบาลพล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพลและผู้รับผิดชอบงานโรคพิษสุนัขบ้าขององค์การบริหารส่วนตำบล และภาคประชาชน และ 2) สำหรับการทดลองใช้ฐานข้อมูลสัตว์ การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า คือ เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่รับผิดชอบงานโรคพิษสุนัขบ้าที่ใช้งานฐานข้อมูลสัตว์ฯ 7 คน (จากองค์การบริหารส่วนตำบล 7 แห่ง) เครื่องมือที่ใช้ 1) แบบเก็บประเด็นสนทนากลุ่ม PHP MySQL 2) แบบประเมินการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจต่อการใช้ฐานข้อมูล 3) แบบบันทึกการติดตามการดำเนินงาน และ 4) แบบบันทึกความครอบคลุมของการได้รับวัคซีน การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ฐานข้อมูลสัตว์ การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าบนเว็บไซต์ สามารถใช้ประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ติดตามการฉีดวัคซีน ติดตามสัตว์เมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดปกติ และประเมินสถานการณ์ในการวางแผนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า รวมถึงการควบคุมจำนวนสัตว์เลี้ยงในพื้นที่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ลดระยะเวลาในการวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์สัตว์ในพื้นที่แก่เจ้าหน้าที่ เป็นช่องทางสื่อสารเผยแพร่ข้อมูลการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในสัตว์กับหน่วยงานเครือข่ายและประชาชน รวมถึงการนำข้อมูลสัตว์ไปสู่การเฝ้าระวังโรคในคน โดยภาพรวมของการใช้ฐานข้อมูลสัตว์ การจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สามารถจัดการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในสุนัขและแมวเพิ่มสูงขึ้น โดยในปีพ.ศ.2562 ได้รับวัคซีน 1,321 ตัว และในปีพ.ศ.2563 ได้รับวัคซีน 6,173 ตัว ความครอบคลุม ร้อยละ 100
References
สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์. คู่มือการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า Rabies Free Area ระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด; 2563.
อังคณา สมนัสทวีชัย, วลัยพร พัชรนฤมล, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร, วันทนีย์ กัลล์ประวิทธ์, ปานเทพ รัตนากร, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. วิวัฒนาการของความร่วมมือภายในแนวคิด “สุขภาพหนึ่งเดียว” ในประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 2557; 8(3): 292 – 305.
เจาะลึกระบบสุขภาพ. คร.เผยข้อมูลผู้เสียชีวิตโรคพิษสุนัขบ้า 2 รายใน 8 เดือน กว่า 90% ไม่ไปพบแพทย์ไม่ฉีดวัคซีน [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/2019/09/17762.
กองนวัตกรรมและวิจัย (กนว.) กรมควบคุมโรค. แผนงานวิจัยด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ พ.ศ.2562-2564. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
กองระบาดวิทยา. ระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค 506 Rabies [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://doe.moph.go.th/surdata/disease.php?ds=42.
กรมปศุสัตว์. ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า Thai Rabies Net [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 30 ก.ค.2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thairabies.net/trn/report/rpt0201.
ทักษิณา สวนานนท์, ฐานิศรา เกียรติบารมี. พจนานุกรมศัพท์คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น; 2546.
ครรชิต มาลัยวงศ์. การจัดการโครงการ "หัวใจสำคัญของ SMEs”. วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี 2546; 30(172): 164-8.
Sköldberg UJ, Woodilla J, Çetinkaya M. Design Thinking: Past, Present and Possible Futures. Creativ Innovat Manag. 2013; 22(2): 121- 46.
ภุชงค์ โรจน์แสงรัตน์. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้การคิดเชิงออกแบบเป็นฐานเพื่อ สร้างสรรค์ผลงานที่ปรากฎอัตลักษณ์ไทยสำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2559.
กลุ่มระบาดวิทยาและข่าวกรอง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานการสอบสวนโรคพิษสุนัขบ้าตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น; 2562.
สุธิดา ทานกระโทก, กมลรัตน์ สมใจ, จิรวดี โยยรัมย์. การพัฒนาสื่อเสริมความรู้สอดแทรกการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องโรคพิษสุนัขบ้าเพื่องานประชาสัมพันธ์ของสำนักงานปศุสัตว์ อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์. ใน นิรุต ถึงนาค, บรรณาธิการ. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 6; 12 มีนาคม 2563; มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม; 2563. หน้า 1-8.
สมศักดิ์ จีวัฒนา, ชลัท รังสิมา, ณปภัช วรรณตรง. การพัฒนาฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทางสัณฐานวิทยาและพันธุศาสตร์เซลล์ของจิ้งเหลนสกุล Eutropis. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2559; 11(พิเศษ): 31-8.
รัตน์ระพี พลไพรสรรพ์, นิดาพรรณ สุรีรัตนันท์, อัครา ประโยชน์. ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของโรควัณโรค. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศ. 2552; 5(10): 7-12.
ถนอม นามวงศ์, แมน แสงภักดิ์, สุกัญญา คำพัฒน์, จรรยา ดวงแก้ว, สมพร จันทร์แก้ว. การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาและระบบติดตามการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรการ 3-3-1 โดยใช้ Applications จาก Google Drive พื้นที่จังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2562; 28(3): 402-10.
อรุณ มะหนิ, ราเชนทร์ แตงอ่อน, ธีร์ธวัช ศรีเพ็ชรสัย, สันติ รักทรัพย์, อดิศักดิ์ วงศ์วิทยาพิทักษ์, บงกช เชี่ยวชาญยนต์. การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศการรับรองการให้บริการวัคซีนผู้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559; 25(2): 262-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น