รายงานผู้ป่วยโรคพยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • สุรเชษฐ์ ภูลวรรณ โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พรทิวา ถาวงค์กลาง โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์
  • ราตรี พันทะชุม โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

พยาธิ, แคปิลลาเรีย, กาฬสินธุ์

บทคัดย่อ

รายงานผู้ป่วยโรคพยาธิลำไส้แคปิลลาเรีย 1 ราย เป็นชายไทย อายุ 70 ปี ภูมิลำเนาอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลฆ้องชัยด้วยอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ เฉลี่ย 10 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 2 เดือน ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นการติดเชื้อพยาธิ Capillaria philippinensis จากการตรวจพบไข่พยาธิ C. philippinensis ในอุจจาระ หลังให้การรักษาด้วยยา Albendazole 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ต่อเนื่องเป็นเวลา 9 วัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและไม่พบไข่พยาธิเพิ่มเติม

จากการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำที่เป็น Intermediate hosts จากแหล่งน้ำจืด 5 แห่ง ในอำเภอฆ้องชัย และทำการตรวจหาไข่และพยาธิ C. philippinensis larvae ในสัตว์น้ำจืด จำนวน 21 ตัวอย่าง ได้แก่ หอย ปู และ ปลา ด้วยวิธี direct wet smear  and concentration techniques ในการศึกษานี้พบ parasite larvae ไม่ทราบชนิดในหอย(Viviparidae และ Pomacea canaliculate) แต่ไม่พบในปูและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปลาซึ่งเป็น intermediate host ของ C. philippinensis และ O. viverrini ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่จากมาสัตว์น้ำจืด เช่น หอย และปลาน้ำจืดมีเกล็ดแบบสุกๆ ดิบๆ ตลอดจนการรณรงค์สร้างกระแสสังคมให้ประชาชนรับประทานปลาสุก เพื่อลดอัตราการติดเชื้อพยาธิ C. philippinensis และ O. viverrini ควบคู่กันต่อไป

Author Biography

พรทิวา ถาวงค์กลาง, โรงพยาบาลฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์

ส.ม. (วิทยาการระบาด)       

References

Chitwood MB, Velasquez C, Salazar NG. Capillaria philippinensis sp. n. (Nematoda: Trichinellida), from the Intestine of Man in the Philippines. J Parasitol 1968; 54(2): 368-71.

Cross JH, Banzon T, Singson C. Further studies on Capillaria philippinensis: Development of the parasite in the Mongolian Gerbil. J Parasitol 1978; 64(2): 208-13.

Pradatsundarasar A, Pecharanond K, Chintanawongs C, Ungthavorn P. The first case of intestinal capillariasis in Thailand. S.E. Asian J Trop Med Pub Health 1973; 4(1): 131-4.

Bhaibulaya M, Indra-ngarm S, Ananthapruti M. Fresh-water fishes of Thailand as experimental intermediate hosts for Capillaria philippinensis. Int. J. Parasitol 1979; 9(2): 105-8.

Cross JH, Banzon T, Clarke MD, Basaca-savilla V, Watten RH, Dizon JJ. Studies on the experimental transmission of Capillaria philippinensis in monkey. Trans R Soc Med Hyg 1972; 06(6): 819-27.

Watten RH, Beckner WM, Cross JH, Gunning JJ, Jarimillo J. Clinical studies of capillariasis philippinensis. Trans R Soc Trop Med 1972; 66(6): 828-34.

Fresh JW, Cross JH, Reyes V, Whalen GE, Uylangco CV, Dixon JJ. Necropsy findings in intestinal capillariasis. Am J Trop Med Hyg 1972; 21(2): 169-73.

Whalen GE, Rosenberg EB, Gattman RA, Cross J, Fresh JW, Strickland T, et al. Treatment of intestinal capillariasis with thiabendazole, bithinol and bephenium. Am J Trop Med Hyg 1971; 20(1): 95-100.

Singson CN, Banzon TC, Cross JH. Mebendazole in the treatment of intestinal capillariasis. Am J Trop Med Hyg 1975; 24(6 Pt 1): 932-4.

Cross JH. Intestinal Capillariasis. Clin microbiol rev 1992; 5(2): 120-9.

สุวิณา รัตนชัยวงศ์, ชาตรี จินตนาวงศ์, มนัส วงศ์ทองศรี, สัจพันธ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา. ภาวะการดูดซึมอาหารผิดปกติเนื่องจาก Capillariasis ของลำไส้. จุฬาลงกรณเวชสาร 2522; 23(1): 39-52.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12