รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ความชุกสูง โดยเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา สิมมาทัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • เสาวลักษณ์ คัชมาตย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • รุจิรา สมภาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับ, เครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

   

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research ) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ความชุกสูง โดยเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะเวลาที่ทำการศึกษา เดือนมกราคม 2565 - เมษายน 2566 สุ่มเลือกตำบลในจังหวัดขอนแก่นที่มีความชุกโรคพยาธิใบไม้ตับมากกว่าร้อยละ 30 ได้แก่ ตำบลกระนวน อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น กลุ่มศึกษา ได้แก่ บุคลากรผู้รับผิดชอบงานจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิในและนอกส่วนสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนกลุ่มเสี่ยง รวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และการอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนาและสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสถานการณ์และปัญหาการดำเนินการแก้ไขโรคพยาธิใบไม้ตับ ตามบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระยะที่ 2 การพัฒนาศักยภาพเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับแบบเชิงผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา  ระยะที่ 3  การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ความชุกสูง โดยเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระยะที่ 4 ประเมินผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่ความชุกสูงมีการกำหนดเป้าหมายและมาตรการร่วมกันโดยเครือข่ายสุขภาพปฐมภูมิร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เกิดแผนงาน/โครงการที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา นวัตกรรมในการดำเนินงาน กำหนดบทบาทในแต่ละมาตรการ และเกิดผลการดำเนินงานตามมาตรการในท้องถิ่น ชุมชน ได้แก่ การคัดกรองพยาธิใบไม้ตับเป็นแผนงานประจำปี  การรักษา ส่งต่อ ให้คำปรึกษาแบบออนไลน์ การจัดการเรียนการสอน เช่น E learning ในโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็ก การจัดการมีนวัตกรรมให้ปลาปลอดพยาธิ การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยสื่อ และ influencer  โดยสรุปผลของรูปแบบการดำเนินงานเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับในระดับปฐมภูมิโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมกำหนดทิศทาง มาตรการ ทำให้มีโอกาสในการดำเนินงานเพื่อให้ใกล้การบรรลุเป้าหมายการกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับโดยชุมชน 

References

International Agency for Research on Cancer, World Health Organization. IARC Monographs- Classifications [Internet]. 2012 [cited 2016Aug 22]. Available from: http://monographs.iarc.fr/ENG/Classification/latest_classif.php.

Fürst T, Keiser J, Utzinger J. Global burden of human food-borne trematodiasis: a systematic review and meta-analysis. Lancet Infect Dis 2012; 12(3): 210–21.

ฐิติมา วงศ์สาโรจน์. รายงานผลการศึกษาสถานการณ์โรคหนอนพยาธิและโปรโตซัวของประเทศไทย พ.ศ. 2552. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

อรวรรณ แจ่มจันทร์, เกษร แถวโนนงิ้ว, เสรี สิงห์ทอง, ลักษณา หลายทวีวัฒน, บุญจันทร์ จันทร์มหา, วัชรวีร์ จันทร์ประเสริฐ และคณะ. ความชุกของโรคหนอนพยาธิและพยาธิใบไม้ตับในพื้นที่เสี่ยงเขตสุขภาพที่ 7. วารสารควบคุมโรค 2559; 42(1): 36-43.

Healthkpi. Health KPI [Internet]. 2023[cited 2023 May 5]. Available from: http://healthkpi.moph.go.th.

กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี พ.ศ. 2564 กองโรคติดต่อทั่วไป. นนทบุรี; 2564.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ ต.ค.2565]. เข้าถึงได้จาก: https://sites.google.com/site/primarycarecluster2017/phrb-rabb-sukhphaph-pthm-phumi.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970; 30(3): 607–610.

รัชนีกร กุญแจทอง, สุมาลี จันทลักษณ์, ศุจินันท์ ตรีเดช, สมจิตร พันธุโพธิ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน ในพื้นที่รับผิดชอบของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. วารสารควบคุมโรค 2564;47(เพิ่มเติม):1191-202.

รัชนีกร กุญแจทอง, สุมาลี จันทลักษณ์, คณยศ ชัยอาจ. การพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับของประชาชน. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(1): 73–85.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Victoria: Deakin University. 1988.

Roma W, Tanasugarn C, Tipayamongkholgul M, Aimyong N, Neelapaichit N, Samnuanklang M, et al. Health Literacy of Thai people 15 years old above. Nonthaburi: Department of Health; 2017.

Woratanarat T, Woratanarat P, Wongdontree A, Chenphanitsub M. Systematic review situation and management health literacy. Bangkok: Chulalongkorn University; 2015.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09