การพัฒนาความร่วมมือการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในผู้จำหน่าย และแกนนำในชุมชน พื้นที่ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กานต์ญาณี เกียรติพนมแพ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สารัช บุญไตรย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • วิทยา แพงแสง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพัฒนาร่วมมือ, การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ผู้จำหน่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือการดำเนินการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว ตำบลหนองกุงเซิน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยแบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และผู้จำหน่าย 2) พัฒนาแนวทางและดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ และ 3) ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูล และแบบสอบถาม ระยะเวลาศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2564 - มิถุนายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า ก่อนพัฒนาความร่วมมือ มีการละเมิดข้อห้ามขายให้เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 19.05 มีการโฆษณา ร้อยละ 38.10 และผู้จำหน่ายมีความรู้เกี่ยวกับมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับดีมากเพียง ร้อยละ 28.57 เครือข่ายที่เกี่ยวข้องของแกนนำชุมชน ผู้จำหน่าย และผู้บริโภค จึงได้มีการกำหนดแนวทางแก้ปัญหา และดำเนินการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คือ สร้างเครือข่ายตรวจเฝ้าระวัง การสร้างข้อตกลงร่วมกันของผู้จำหน่าย เสริมสร้างความรอบรู้การปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การประชาสัมพันธ์รณรงค์ และการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ได้หลังดำเนินการ พบว่า ผู้จำหน่ายมีความรู้ฯ ในระดับดีมากเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 52.38 มีการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเวลากำหนดเพิ่มเป็น ร้อยละ 75 และด้านการโฆษณาฯ ลดลงเหลือ ร้อยละ 9.09 แต่การละเมิดกฎหมายด้านการขายให้ผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี ยังไม่ลดลง เห็นได้ว่าแม้ผู้จำหน่ายจะมีความรู้ความเข้าใจในมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังพบการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 อยู่ ดังนั้นจึงควรติดตามประเมินและปรับปรุงแนวทางการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ให้เหมาะสมต่อเนื่อง และอาจมีความจำเป็นต้องสร้างกติกาชุมชนบังคับใช้โดยการยอมรับของชุมชนที่แท้จริง และนำสู่การขับเคลื่อนแนวทางสู่การปฏิบัติให้ต่อเนื่องต่อไป

 

 

References

GBD 2019 Risk factors collaborators. Global burden of 87 risk factors in 204 countries and territories, 1990–2019: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet 2020; 396(10258): 1223–49.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมด้านสุขภาพของประชากร พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: 2564.

ทีมวิจัยการทบทวนวรรณกรรมนานาชาติและสวีเดน. ชุดรายงาน: สุราและสังคม ปี 2021 สุรากับการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา: มุมมองเชิงปัจเจกบุคคล สังคม และนโยบาย. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์; 2564.

งานโรคติดต่ออุบัติใหม่ กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทางงานโรคในผู้เดินทาง [อินเทอร์เน็ต]; 2564[เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) สาขาวิชาระบาดวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992); 2564.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติการควบคุมครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 – 2570). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2565.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. สรุปผลการจัดการข้อร้องเรียนของประชาชนผ่านระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2564.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานการประชุมวางแผนพัฒนาความรอบรู้ปรับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอภูเวียง. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2564.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. Australia: Deakin University Press; 1988.

กฤษณ์ ขุนลึก, รังสรรค์ สิงหเลิศ, สุณี สาธิตานันต์. รูปแบบการส่งเสริมการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้จำหน่าย ในจังหวัดหนองคาย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2556; 7(3): 197-206.

Manganello JA. Health literacy and adolescents: a framework and agenda for future research. Health Educ Res 2008; 23(5): 840-7.

สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค. การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประชาชนไทยปี 2564. กรุงเทพฯ: เอส.ออฟเซ็ท กราฟฟิค ดีไซน; 2564.

ดุษฎี อายุวัฒน์, วณิชชา ณรงค์ชัย. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดขอนแก่น) กรณีผู้จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(1): 55-68.

พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย. การพัฒนามาตรการการจำกัดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้เยาวชน ของผู้ประกอบการร้านค้าโดยรอบสถานศึกษา ในจังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2561; 6(3): 525-50.

ภมร ดรุณ, ประกันชัย ไกรรัตน์. ปัจจัยความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนจังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2562; 15(3): 71-82.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30