การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษณ์ ใจช่วง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • กิตติเชษฐ์ ธีรกุลพงศ์เวช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • จงกล ธมิกานนท์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • กนกพร ไทรสุวรรณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม
  • ธัญญลักษณ์ ทอนราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบริหารจัดการ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดนครพนม ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบทและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารจัดการในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กลุ่มตัวอย่างและอาสาสมัครคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วย คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์และสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชนและประชาชน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 165 ราย และข้อมูลเชิงคุณภาพ ถอดบทเรียนจากผู้เกี่ยวข้อง 82 ราย โดยสัมภาษณ์เชิงลึก 18 ราย และสนทนากลุ่ม 6 ครั้ง จำนวน 64 ราย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired t-teat และเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า ระยะแรก ก่อนและระหว่างการระบาด มีการขับเคลื่อนกลไกการบริหารจัดการตามสภาพปัญหาและบริบทของพื้นที่ มีแผนรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุและรับมือต่อสถานการณ์ ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ โดยมีการขับเคลื่อนและกำกับติดตาม ในระยะแพร่ระบาดและหลังการแพร่ระบาด โดยใช้การเสริมพลัง (Empowerment) และหลักบริหารจัดการ (Management concept) สังเคราะห์และถอดบทเรียน 7 ด้าน ประกอบด้วย 1) กลไกบริหารจัดการ 2) ทรัพยากรบุคคล 3) เวชภัณฑ์ ยาและเทคโนโลยี 4) ระบบข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร 5) การเงินการคลัง 6) ระบบบริการ และ 7) การมีส่วนร่วม ได้รูปแบบที่โดดเด่น ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ที่สำคัญ ภายใต้หลักการ “ป่วยกลับมาพร้อมดูแล ป้องกันการแพร่ระบาดในชุมชน และทุกคนมีภูมิคุ้มกัน” ได้แก่ การคัดกรองเชิงรุกในผู้เดินทางกลับภูมิลำเนา การเฝ้าระวังและควบคุมโรคโดยชุมชน การดูแลผู้กักตัว และการบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 และระยะที่ 3 เมื่อประเมินผลความคาดหวังและการปฏิบัติในการบริหารจัดการฯ ในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.63, S.D. = 0.19 และ = 4.19, S.D. = 0.39) และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในทุกด้าน

          ข้อเสนอแนะ: นำเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้เชื่อมโยงระบบข้อมูลกับระดับจังหวัด หรือหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลร่วมกัน รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคและภัยสุขภาพ

References

ชนกพร ทองตากรณ์. การบริหารประเทศในสถานการณ์วิกฤตโควิด 19: กรณีศึกษาเชิงเปรียบเทียบ ไต้หวัน สิงคโปร์ และนิวซีแลนด์. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์ 2565; 20(1): 27-61.

World Health Organization. Global COVID-19 (total) cases, deaths and vaccinations to date: chart showing cases reported per week [Internet]. 2022 [Cited 2022 May 1]. Available from: https://cdn.who.int/media/docs/default-source/searo/thailand/2022_05_25_tha-sitrep-237-covid-19.pdf?sfvrsn=42e15724_1.

ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด 19 (ศบค.). สถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 พฤษภาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://media.thaigov.go.th/uploads/public_img/source/250565.pdf4.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) วันที่ 20 พฤษภาคม 2565; 2565.

Gulick HL, Urwick FL. Paper on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration. 1937.

Freire P. Pedagogy of the Oppressed. Translated by Ramos. New York: Contiuum. 30th Anniversary edition. New York; 2005.

Best JW, Kahn JV. Research In Education. 7th ed. Boston, M.A.: Allyn And Bacon; 1993.

Tuner RC, Carlson L. Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing 2003; 3(2): 163-71.

Cronbach LJ, Shabelson RJ. My current thoughts on coefficient alpha and successor procedures. Educ Psychol Meas 2004; 64(3): 391-418.

กาญจนา รอดแก้ว. การพัฒนารูปแบบเสริมพลังชุมชน การเฝ้าระวังทางสังคมและดูแลช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคมจากการแพร่ระบาดโรคโควิด 19. J Soc Work 2564; 29(2): 189-220.

อนุสรณ์ อุดปล้อง, ธวัชชัย อภิเดชกุล, ฟาติมา ยีหมา. รายงานฉบับสมบูรณ์ การประเมินศักยภาพของระบบสุขภาพในความพร้อมรับมือการระบาดโรค COVID-19 ในพื้นที่ชายแดน จังหวัดเชียงราย. ศูนย์ความเป็นเลิศการวิจัยสุขภาพชนชาติพันธุ์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง; 2565.

ฉวีวรรณ ดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, เพ็ญนภา ศรีหริ่ง, รัตน์ดาวรรณ คลังกลาง, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ดิษฐพล ใจซื่อ. รายงานวิจัยการถอดบทเรียนรูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในชุมชน ของอาสาสมัครสาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย. สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

วิรัช ประวันเตา, พรสุรางค์ ราชภักดี, ศรายุธ อุตตมางคพงศ์. การพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการและระบบบัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเขตสุขภาพที่ 2 พิษณุโลก. วารสารกรมควบคุมโรค 2564; 47(2): 396-408.

Hossny EK, Morsy SM, Ahmed AM, Saleh MS, Alenezi A, Sorour MS. Management of the COVID-19 pandemic: challenges, practices, and organizational support. BMC Nurs 2022; 21(196): 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09