ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค และแนวคิดการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี – สปป. ลาว

ผู้แต่ง

  • พนมวรรณ์ สว่างแก้ว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
  • กุลชญา ลอยหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • สุภาพร ใจการุณ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค , การมีส่วนร่วมภาคประชาชน, การป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, แนวชายแดนไทย - สปป. ลาว

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค และแนวคิดการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวชายแดน จังหวัดอุบลราชธานี – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)  ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 68 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 34 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับกิจกรรมสุขศึกษาตามปกติจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2565 ถึงกุมภาพันธ์ 2566 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนาโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงจากอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเกิดโรค ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรค ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดน และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค ร่วมกับการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อ ตามแนวชายแดนไทย- สปป.ลาว เปรียบเทียบภานในกลุ่ม ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ด้วย สถิติ Paired sample t-test และระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วย Independent sample t-test ที่ระดับ p < 0.05

              ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นทั้งคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การรับรู้โอกาสเสี่ยงจากการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงจากอันตรายที่เกิดขึ้นจากการเกิดโรค ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรค ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนองต่อการป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดน และการมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคติดต่อตามแนวชายแดน สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05  สรุปได้ว่าการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจในการป้องกันโรค และแนวคิดการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการป้องกันโรค ทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการป้องกันโรคประสบความสำเร็จ และควรมีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่น

References

World Health Organization. WHO director-general’s opening remarks at the media briefing on COVID-19-11 March 2020 [Internet]. 2021 [cited 2021 Jan 6]. Available from: https://bit.ly/34rNvpA

World Health Organization. WHO Coronavirus (COVID-19) Dashboard [Internet]. 2021. [Cited 2021 December 25]. เข้าถึงได้จาก: Available from: https://covid19.who.int/

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. แนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยข้ามแดนสำหรับบริการยาต้านไวรัสและวัณโรค. กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสําหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.

Polit DF, Beck CK. Nursing research: Principles and methods. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2004.

Becker MH. The health belief model and preventive health behavior. Health Educ Monogr 1974; 2: 324-508.

อุดมลักษณ์ เพียรสุขเวช, พรรณี บัญชรหัตกิจ. ผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการป้องกันโรคมือเท้าปากในวัยเด็กโดยการประยุกต์แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลเด็กและผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557; 29(2): 158-63.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MA. Health promotion in nursing practice. 5th ed. Jurong, Singapore: Pearson; 2006.

วลัยนารี พรมลา, จีระวรรณ์ อุคคกิมาพันธ์. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค 2561; 4(2): 59-67.

กิตติพร เนาว์สุวรรณ, นภชา สิงห์วีรธรรม, นวพร ดำแสงสวัสดิ์. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความรุนแรงของโรคต่อบทบาทการดำเนินงานควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในประเทศไทย. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563; 14(2): 92-103.

วรรณา มุ่งทวีเกียรติ, เพ็ญนภา วิเชียร, พัฒนา ชวลิตศุภเศรณี, อรทัย หุ่นดี, ชัชวาล วงค์สารี. ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในการป้องกันโรคโควิด-19 ของผู้สูงอายุ ในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2564; 13(2): 313-23.

สมหมาย หิรัญนุช, สิริกาญจน์ กระจ่างโพธิ์, ไพลิน นุกูลกิจ. ผลของโปรแกรมความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 ของอาสาสมัครสาธารณสุข จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 2564; 7(2): 61-70.

นฤมล วงศ์วัยรักษ์, รชานนท์ ง่วนใจรัก. ผลของโปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกาของอาสาสมัครสาธารณสุขศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2560. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา 2662; 25(3): 24-33.

ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี, ภาสินี โทอินทร์. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี - Udon Model COVID-19. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(1): 53-61.

เพ็ญมาศ สุคนธจิตต์, สราวุธ อัมพร. ประสิทธิผลของการพัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลเด็กในการป้องกันควบคุมโรคมือเท้าปากของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอสะเดา จังหวัด สงขลา. [รายงานการวิจัย]. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30