ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร ทองทา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดอุดรธานี ประชากรในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จำนวน 1,090 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ข้อมูลเชิงปริมาณสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิได้จำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 12 คน ซึ่งแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 5 มกราคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนานำเสนอจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และสถิติการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.27 (S.D.=0.48), 4.19 (S.D.=0.31) และ 4.07 (S.D.= 0.35) ตามลำดับ โดยภาพรวมปัจจัยทางการบริหารปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางและระดับสูงกับการบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.542, P-value<0.001, r = 0.821, P-value<0.001) ตามลำดับ โดยตัวแปรอิสระทั้ง 4 ตัวแปรได้แก่ ปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยกันและกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ด้านหน่วยงานสนับสนุนทุกระดับมีแผนงานสนับสนุน ด้านผู้บริหารทุกระดับให้การสนับสนุนและติดตาม และด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ มีผลและสามารถร่วมกันในการพยากรณ์การบริหารจัดการวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน รพ.สต. จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 68.7 (R2=0.687, P-value<0.001)

References

กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). เอกสารประกอบการประชุมรายงานสถานการณ์ ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.)วันที่ 8 สิงหาคม 2565.

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ. คำสั่งคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอำนวยการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ 1/2564 (พ.ศ. 2564) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จากจาก: https://ict.moph.go.th/upload_file/files/1f26a59f9aff00c57799a04df9c3e447.pdf

โสภณ เมฆธน. การบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. เอกสารประกอบการประชุมการบริหารจัดการการให้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วันที่ 25 มกราคม 2564 กระทรวงสาธารณสุข. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/20210325135723.pdf

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2564.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ชูชัย ศุภวงศ, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ, ศุภกิจ ศิริลักษณ, ลัดดา ดำริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุทธานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. ระบบข้อมูลทรัพยากรสุขภาพหน่วยบริการปฐมภูมิ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 8 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก http://gishealth.moph.go.th/pcu/

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates; 1988.

Likert R. The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill; 1967.

Elifson KW, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.

พรรษา อินทะรัมย์, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2): 201-12.

เปรมากร หยาดไธสง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2): 175-88.

นัฐรินทร์ ช่างศรี, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(2): 166-78.

ทศพล ใจทาน, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 161-71.

ณัฐพล โยธา, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อการทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2562; 19(1): 149-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-12