การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • กรรณิกา ตั้งวานิชกพงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ณรงค์ชัย เศิกศิริ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ, โรคหลอดเลือดสมอง, เว็บแอปพลิเคชัน, พัฒนาสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565 มีขั้นตอนการพัฒนา 7 ขั้นตอน 1) การค้นหาปัญหา 2) การศึกษาความเหมาะสม 3) การวิเคราะห์ระบบ 4) การออกแบบระบบ 5) การพัฒนาและทดสอบต้นแบบเบื้องต้น โดยนำระบบไปทดสอบในหน่วยบริการ 82 แห่ง มีการปรับปรุงเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการใช้งาน 6) การใช้งานต้นแบบสภาพจริงในหน่วยบริการ 271 แห่ง จากนั้นสุ่มประเมินความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง 137 คนหลังจากการใช้งาน 7) จัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้ใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีลักษณะเป็นเว็บแอปพลิเคชันที่เชื่อมกับเครื่องแม่ข่าย (Server) บรรจุข้อมูลโรคหลอดเลือดสมองประกอบด้วย 1) ชุดข้อมูลตามโครงสร้าง 43 แฟ้มมาตรฐาน version 2.4 คือ ข้อมูลส่วนบุคคล การวินิจฉัยโรค และการทำหัตถการ 2) ข้อมูลการประเมิน Barthel ADL index และ ข้อมูล Modified Rankin Scale (MRS) 3) ข้อมูลประเมินระดับความพิการของผู้ป่วย โดยบันทึกข้อมูลผ่าน Web Browser และประมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็วแบบ Real Time ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลโดยการ Login ด้วย Username และ Password สารสนเทศที่สำคัญที่ใช้ในการพัฒนาคุณภาพการจัดระบบบริการผู้ป่วยและติดตามดูแลผู้ป่วยในชุมชน พบว่ามีการส่งกลับผู้ป่วยในชุมชน 541 ราย เป็นผู้ป่วยรายใหม่ 517 ราย ร้อยละ 95.56    Re-Admit 24 ราย ร้อยละ 4.44 ได้รับการติดตามเยี่ยมผู้ป่วย 385 รายคิดเป็นร้อยละ 71.16 พบผู้ป่วยได้รับการประเมิน MRS ผลปกติ 81 ราย ร้อยละ 21.04 ผิดปกติ 200 ราย ร้อยละ 51.95 ไม่ระบุผล MRS 104 ราย ร้อยละ 27.01การประเมินความพึงพอใจหลังจากใช้งานพบว่ามีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ระดับสูง

References

Lindsay MP, Norrving B, Sacco RL, Brainin M, Hacke W, Martins S, et al. World Stroke Organization (WSO): Global stroke fact sheet 2019. Int J Stroke. 2019; 14(8): 806-17.

กองยุทธศาสตร์และแผนงานกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

Bakas T, Austin JK, Okonkwo KF, Lewis RR, Chadwick L. Needs, concerns, strategies, and advice of stroke caregivers the first 6 months after discharge. J Neurosci Nurs. 2002; 34(5): 242-51.

Bhogal SK, Teasell R, Foley N, Speechley M. Lesion location and poststroke depression: systematic review of the methodological limitations in the literature. Stroke 2004; 35(3): 794-802.

Kumar S, Selim MH, Caplan LR. Medical complications after stroke. Lancet Neurol 2010; 9(1): 105-18.

Parente ST, McCullough JS. Health information technology and patient safety: evidence from panel data. Health Aff (Millwood). 2009; 28 (2): 357-60.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. การพัฒนาเครือข่ายโรคหลอดเลือดสมองภาคอีสาน. วารสารสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย. 2558; 14(1): 3-13.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานประจําปี 2559. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2559.

ยุวนุช กุลาตี, พัชรนิกานต์ พงษ์ธนู, ชินาพัฒน์ สกุลราศรีสวย. แอปพลิเคชันบนมือถือสำหรับดูแลผู้ป่วยเบาหวาน การศึกษาพฤติกรรมในประเทศไทย. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 11(1): 7-22.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานประจําปี 2561. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2561.

McMurtrey M. A case study of the application of the systems development life cycle (SDLC) in 21st century health care: something old, something new?. JSAIS. 2013; 1(1): 14-25.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2555.

John BW. Research is education. (3rd ed). Englewod cliffs: N.J. Prentice-Hall; 1977.

กฤดาภัทร สีหารี. การโปรแกรมบนเว็บ. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2557.

นลินี ศรีบุญเรือง, นริศร แสงคะนอง. การสร้างระบบการส่งข้อมูลทางการแพทย์ผ่านเว็บเซอร์วิสโดยใช้ HL7 V.3 กรณีศึกษาโรงพยาบาลพญาไท 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ; 2554.

Ringberg U, Fleten N, Forde OH. Examining the variation in GPs’ referral practice: a cross-sectional study of GPs’reasons for referral. Br J Gen Pract 2014; 13(4): 426-33.

เพียรจิตต์ ภูมิสิริกุล, ปัทมา อนุมาศ, จิดาภา จารุสินธ์ชัย, อรพันธ์ พรรณประดิษฐ์. คอมพิวเตอร์สำหรับบันทึกทางการพยาบาลผ่าตัดต่อคุณภาพบันทึกทางการพยาบาล ห้องผ่าตัดศัลยศาสตร์. Rama Nurs J 2013; 19(2): 251-63.

สุกัญญา โรจน์ประเสริฐ. การพัฒนาระบบการจัดการการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อการรักษาทางการแพทย์ของโรงพยาบาลในเขตตรวจราชการที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข [วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์; 2556.

ธีรินทร์ เกตุวิชิต, สุรศักดิ์ มังสิงห์. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินแบบครบวงจร โรงพยาบาลนครพนม. วารสารโรงพยาบาลนครพนม. 2557; 8(2): 94-104.

ปรีชา แหวนหล่อ, บุญช่วย ศรีธรรมศักดิ์, สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยทางอินเทอร์เน็ต จังหวัดศรีสะเกษ. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2560; 61(3): 645-58.

นิอร สิริมงคลเลิศกุล, ฐานุตร์ ถมังรักษ์สัตว์, พบสุข ตัณสุหัช, วิทยศักดิ์ รุจิวรกุล, ชมพูนุท สิงห์มณี, สายพิน กัญชาญพิเศษ, และคณะ. การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองผ่านระบบมือถืออัจฉริยะ. เวชสารแพทย์ทหารบก 2565; 75(1): 39-49.

ชูหงส์ มหรรทัศนพงศ์. ความสำเร็จโดยการเพิ่มขึ้นของอัตราการตอบกลับเยี่ยมบ้านจากการใช้โปรแกรมสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการดูแลต่อเนื่องในชุมชน. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิกโรงพยาบาลพระปกเกล้า 2561; 35(4): 355-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09