ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจรับวัคซีนโควิด 19 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • กัมปนาท โคตรพันธ์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • นิยม จันทร์นวล วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ความตั้งใจรับวัคซีนโควิด 19 , พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 , การรับรู้เพื่อป้องกันโรคโควิด 19

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง (Cross-sectional analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจรับวัคซีนโควิด 19 ของประชาชนในจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 581 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) ช่วงเชื่อมั่น 95%CI และกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงร้อยละ 61.3 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 23.0 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 59.4 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 90.0 มีความตั้งใจรับวัคซีนโควิด 19 ร้อยละ 55.6 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจรับวัคซีนโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value<0.05) ได้แก่ อาชีพเกษตรกรรม/รับจ้าง (ORadj=5.01, 95% CI: 2.29-10.97) อาชีพส่วนตัว/ค้าขาย (ORadj=3.05, 95% CI: 1.37-6.82) อาชีพนักเรียน/นักศึกษา(ORadj=5.41, 95% CI: 1.60-18.39) อาชีพข้าราชการ/พนักงานราชการ/เจ้าหน้าที่ของรัฐ (ORadj=6.11, 95% CI: 2.36-15.80) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 (ORadj=2.07, 95% CI 1.40-3.07) การรับรู้เพื่อป้องกันโรคโควิด 19  (ORadj=2.43, 95% CI: 1.59-3.70) ดังนั้น ควรมุ่งเน้นการรณรงค์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคสำหรับประชาชน โดยส่งเสริมการรับรู้เพื่อการป้องกันโรค และพฤติกรรมการป้องกันโรคส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มอาชีพ

References

World Health Organization (WHO). Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2021 [cited 2022 October 16]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1.

World Health Organization (WHO). Coronavirus (COVID-19) dashboard measures [Internet]. 2021 [cited 2022 October 14]. Available from: https://covid19.who.int/measures.

กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ. ฉีด (วัคซีน) เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%94-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการวัคซีนโควิด19 แนวทางการให้บริการวัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/dvp/news.php?news=16897&deptcode=dvp.

ศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ผลการวิจัยเบื้องต้นในการศึกษาความปลอดภัยและการตอบสนองภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ให้ผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบสองเข็ม [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://sicres.org/2021/09/13/covid19-vaccine-booster/?lang=th.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สถานการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์หลังการได้รับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/07112021_AEFI%20Situation_COVID-19%20vaccine.pdf.

Cohen J. Statistical power for the behavioural sciences (2nd ed). New York: Academic Press; 1988.

ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน/สำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือประชาชนเคร่งครัดมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโรคโควิด 19 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=18373&deptcode=brc.

Best JW, Kahn JV. Research in education (4th ed.). New Jersey: Prentice Hall; 1981.

Becker MH, Maiman LA, Kirscht JP, Haefner DP, Drachman R. The health belief model and prediction of dietary compliance: A field experiments. J Health and Soc Behav 1977; 18(4): 348 - 66.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564 ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทีเอส อินเตอร์พริ้นท์; 2564.

Tran VD, Pak TV, Gribkova EI, Galkina GA, Loskutova EE, Dorofeeva VV, et al. Determinants of COVID-19 vaccine acceptance in a high infection-rate country: a cross-sectional study in Russia. Pharm Pract (Granada) 2021; 19(1): 2276.

ไพรัชฌ์ สงคราม, จักรสันต์ เลยหยุด, พรรณิภา ไชยรัตน์, มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง, ชัญญรัชต์ นกศักดา, วิราสินี สีสงคราม. ความต้องการวัคซีนโควิด 19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุขในการบริการวัคซีนโควิด 19 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(เพิ่มเติม 2): 199-207.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด 19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2564; 3(1): 47-57.

Kaadan MI, Abdulkarim J, Chaar M, Zayegh O, Keblawi MA. Determinants of COVID-19 vaccine acceptance in the Arab world: a cross-sectional study. Glob health res policy 2021; 6(1): 23.

Banik R, Islam MS, Pranta MUR, Rahman QM, Rahman M, Pardhan S, et al. Understanding the determinants of COVID-19 vaccination intention and willingness to pay: findings from a population-based survey in Bangladesh. BMC Infect Dis 2021; 21(1): 892.

ขนิษฐา ชื่นใจ, บุฏกา ปัณฑุรอัมพร. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัส (Covid-19) ของประชากรในกรุงเทพมหานคร. บทความวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง; 2564.

Zhang K, Fang Y, Chan PSF, Cao H, Chen H, Hu T, et al. Behavioural intention to get a booster dose of covid-19 vaccine among Chinese factory workers. Int J Environ Public Health 2022; 19(9): 5245.

Wong LP, Alias H, Wong PF, Lee HY, AbuBakar S. The use of the health belief model to assess predictors of intent to receive the COVID-19 vaccine and willingness to pay. Hum Vaccin Immunother 2020; 16(9): 2204-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย