ปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พีรยุทธ แสงตรีสุ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นครินทร์ ประสิทธิ์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุรชัย พิมหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สุพัฒน์ กองศรีมา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการบริหาร, ปัจจัยแห่งความสำเร็จ, การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ, สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อใน สถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ศึกษาคือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานควบคุมและป้องกันโรคติดต่อในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี จำนวน 208 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ จำนวน 185 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบวิธีการสุ่มอย่างง่าย และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยโดยใช้แบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และการถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ และระดับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากค่าคะแนนเฉลี่ย 3.60 (S.D.=0.40) 4.30 (S.D.= 0.61) และ 4.30 (S.D.= 0.61) ตามลำดับ ภาพรวมปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (r = 0.740, P-value = < 0.001) และ โดยพบว่าภาพรวม ปัจจัยแห่งความสำเร็จมีความสัมพันธ์ระดับสูง กับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (r = 0.892, P-value = < 0.001) และพบว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จด้านการพัฒนาภาพลักษณ์ของสถานบริการ ด้านการเชื่อมโยงระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลด้วยกัน และกับโรงพยาบาลแม่ข่าย ด้านการลงมือปฏิบัติในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสมัครใจในการมีส่วนร่วม และปัจจัยทางการบริหารด้านเทคโนโลยี มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี ได้ร้อยละ 83.50

References

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. ความรู้พื้นฐาน โควิด 19 ตอนที่ 1 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก https://www.rama.mahidol.ac.th/atrama/issue037/vocab-rama.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด 19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง แต่งตั้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2564 [อินเทอร์เน็ต]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 109 ง หน้า 7. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 16 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/13720211216032625.PDF.

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559 [อินเทอร์เน็ต]. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 121 ง หน้า 32. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 22 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/c74d97b01eae257e44aa9d5bade97baf/files/005_2gcd.PDF

กรมควบคุมโรคติดต่อ. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/g_other05.pdf.

ศูนย์ปฏิบัติการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรค โควิด 19 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี. รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) จ.อุดรธานี ประจำวันที่ 12 เมษายน 2565. [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 13 เมษายน 2565]. เข้าถึงได้จาก : https://udo.moph.go.th/wasabi3/Home.php.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale NJ: Lawrence Erlbaum; 1988.

ชาญณรงค์ นัยเนตร. ศึกษาปัจจัยทางการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดหนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2565.

ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.

ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ลัดดา ดาริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษม เวชสุทรานนท์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. [อินเทอร์เน็ต]. 2553 [เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2855?show=full.

Elifson KW, Runyon RP, Haber A. Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 2017.

สำเริง จันทรสุวรรณ, สุวรรณ บัวทวน. ระเบียบวิจัยทางสังคมศาสตร์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2547.

พรรษา อินทะรัมย์, ประจักร บัวผัน. บรรยากาศองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2): 201-12.

เปรมากร หยาดไธสง, ประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและปัจจัยแห่งความสำเร็จทีมีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2565; 22(2): 175-88.

สุวิชัย ถามูลเลศ, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยการบริหารและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2561; 25(1): 23–34.

ทศพล ในทาน, สุรชัย พิมหา, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเลย. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 161-71.

ปภินวิทย์ คำสมาน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก, ประจักร บัวผัน. ปัจจัยแห่งความสำเร็จและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและควบคุมวัณโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2564; 21(3): 223-35.

ภาณุมาศ ทุมวัน, สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. ลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) เครือข่ายระดับตำบลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2561; 25(2): 90-102.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย