การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีกลุ่มก้อน จากสถานบันเทิง ในจังหวัดชุมพร ระหว่าง 4 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2564
คำสำคัญ:
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, โรคโควิด 19, SARS-CoV-2, การสอบสวนโรค, สถานบันเทิงบทคัดย่อ
วันที่ 4 มีนาคม 2564 ทีมสอบสวนโรคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร ได้รับแจ้งจากทีมตระหนักรู้สถานการณ์ ว่ามีผู้ป่วยเข้าข่ายติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2 ราย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ทีมสอบสวนโรคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร เจ้าหน้าที่งานระบาดวิทยา โรงพยาบาลปากน้ำหลังสวน และโรงพยาบาลชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จึงดำเนินการสอบสวนโรค และดำเนินการควบคุมโรค โดยใช้การศึกษาระบาดวิทยาเชิงพรรณนา และเชิงวิเคราะห์แบบมีกลุ่มควบคุม (Unmatched case control study) โดยใช้อัตราส่วนระหว่างผู้ป่วยและกลุ่มควบคุม เป็น 1:2 รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยจากการสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และข้อมูลผู้ป่วยจากเวชระเบียน ใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการสอบสวนพบผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรคโควิด 19 (Index case) มีประวัติเดินทางไปเที่ยวที่สถานบันเทิงในกรุงเทพมหานครที่มีรายงานพบผู้ป่วยโควิด 19 และพบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19 ที่เกี่ยวข้องกับ index case จำนวน 15 ราย ในระหว่างวันที่ 4 เมษายน ถึง 6 พฤษภาคม 2564 มีรูปแบบการระบาดของโรคเป็นแหล่งโรคแพร่กระจาย โดยผู้ป่วยมีสัญชาติไทยทั้งหมด ค่ามัธยฐานของอายุ คือ 38 ปี (อายุต่ำสุด 6 ปี อายุสูงสุด 67 ปี) ประกอบอาชีพในกลุ่ม ข้าราชการ พนักงานบริษัท ห้างร้าน (ร้อยละ 75.0) พบผู้ป่วยมีอาการเพียงร้อยละ 37.5 โดยพบอาการและอาการแสดงได้แก่ ปวดเมื่อยตัว ปวดศีรษะ ไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่ได้รส ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต จากการค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิด Index case พบ ผู้สัมผัสใกล้ชิด จำนวน 2,319 ราย แบ่งออกเป็น ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงจำนวน 151 ราย (ร้อยละ 6.51) และ ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำจำนวน 2,168 ราย (ร้อยละ 93.49) คิดเป็น Attack rate ร้อยละ 0.68 ผลการตรวจหาชนิดของสายพันธุ์ของเชื้อ SARS-CoV-2 พบความเข้าได้กับสายพันธุ์ ที่พบในทวีปยุโรปหรืออเมริกาใต้ จำนวน 3 ราย และพบสายพันธุ์ที่เข้าได้กับสายพันธุ์อัลฟา (B1.1.7) ที่พบในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะ 5 ราย ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง พบว่า ปัจจัยด้านเพศ กลุ่มอายุ และกลุ่มอาชีพ (OR = 1.46,2.33 และ 1.36 ตามลำดับ) มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อ SARS-CoV-2 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value >0.05)
ผลจากการสอบสวน พบว่า แหล่งโรคของการระบาดครั้งนี้อาจมาจากผู้ป่วย Index case และผู้ป่วยรายที่ 2 ที่มีประวัติเดินทางไปเที่ยวที่สถานบันเทิงในกรุงเทพมหานคร พบผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด 19 ที่เกี่ยวข้องกับ index case อีกจำนวน 14 ราย ปัจจัยเสี่ยงด้านสถานที่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ที่บ้าน สถานบันเทิง ร้านอาหาร และโต๊ะสนุกเกอร์ มีปัจจัยด้านพฤติกรรม คือ การไม่ได้ใส่หน้ากากอนามัย การรับประทานอาหารร่วมกัน การสัมผัสสิ่งของร่วมกัน ทั้งนี้ควรแนะนำให้ทุกคนปฏิบัติตาม Universal precautions เพื่อเป็นการป้องกันโรคส่วนบุคคลขั้นสูงสุดในทุกที่ตลอดเวลา และสถานประกอบการควรใช้มาตรการ Covid free setting มาตรการปลอดภัยสำหรับร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม อย่างเคร่งครัด
References
World Health Organization. Coronavirus [Internet]. 2021[cited 2021 June 29]. Available from: https://www.who.int/health-topics/coronavirus#tab=tab_1.
ทวิติยา สุจริตรักษ์. ประเด็นน่ารู้เกี่ยวกับไวรัส SARS-CoV-2: ไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://pidst.or.th/A966.html.
Li X, Luk HKH, Lau SK, Woo PCY. Human coronavirus: General features. Reference Module in Biomedical Sciences. 2019: B978-0-12-801238-3.95704-0.
Zhou P, Yang XL, Wang XG, Hu B, Zhang L, Zhang W, ed.al. A pneumonia outbreak associated with a new coronavirus of probable bat origin. Nature 2020; 579(7798): 270-3.
Pan American Health Organization. COVID-19 Daily Update 2021 April 1. IRIS PAHO Home [Internet]. 2021 [cited 2021 June 29]. Available from: https://iris.paho.org/handle/10665.2/53444.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. ชุมพรจัดทัพรับมือโควิด[อินเทอร์เน็ต]. รายงานสถานการณ์โรคโควิด 19 จ.ชุมพร วันที่ 12 เมษายน 2564. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=288091042844221&id=100999761553351.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www3.dmsc.moph.go.th/download/file/dmsc_sar2.pdf.
อารีย์รัตน์ หนูนวล. Molecular genetic testing techniques- DNA sequencing and Next generation sequencing. [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class02/B2_364_221/Molecular_genetic_part3/index.html.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/g_form.php.
พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ลักษณา ไทยเครือ. การสอบสวนทางระบาดวิทยา. ใน: คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ, วิทยา สวัสดิวุฒิพงศ์, ชุลีพร จิระพงษา, บรรณาธิการ. พื้นฐานทางระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แคนนากราฟฟิค; 2562. หน้า 178 – 211.
อนันต์ จงแก้ววัฒนา. ความหลากหลายทางพันธุกรรม SARS-CoV-2 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://thaiviro.org/site/images/SARS-CoV-2_Dr--Anan.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.cdce.me/uploads/1/2/9/6/129674478/covid-19-ver-16_part_2.1_14042564.pdf.
จิรชาติ เรืองวัชรินทร์, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์, พิมพ์ภา เตชะกมลสุข, ชรัฐพร จิตรพีระ, กรรณิกา สุวรรณา, วรวิทย์ เสงี่ยมวรกุล. การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในหอผู้ป่วยหญิง โรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง เดือนมีนาคม–เมษายน 2563. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 29 มิถุนายน 2564]; 51(34). เข้าถึงได้จาก: https://wesr-doe.moph.go.th/wesr_new/file/y63/F63341_1802.pdf.
ณัฐปราง นิตยสุทธิ์, รัชชญาภัช สำเภา, ขนิษฐา ภู่บัว, ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์. การสอบสวนการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เชื่อมโยงกับร้านอาหารแห่งหนึ่งในช่วงแรกของการแพร่กระจายเชื้อ SARS-CoV-2 ในประเทศไทย. Outbreak, Surveillance and Investigation Response (OSIR) Journal 2563; 13(2): 64-70.
WHO. Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. 2021 [cited 2021 June 29]. Available from: https://www.who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น