การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรค โดยหมอประจำบ้าน ของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ดวงใจ ไทยวงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สุวัฒนา อ่อนประสงค์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, วัณโรค, หมอประจำบ้าน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกัน ควบคุมวัณโรค โดยหมอประจำบ้าน ของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุม่เป้าหมาย 80 คน เป็นตัวแทนครัวเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลคูคำ อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของประชาชน แบบบันทึกการอภิปรายกลุ่ม แบบคัดกรองวัณโรค แบบบันทึกการสภาพปัญหาพฤติกรรมการป้องกันวัณโรค และแบบติดตามประเมินทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Independent t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้

         1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานป้องกันควบคุมวัณโรค พบสภาพปัญหาเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัณโรค การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยววัณโรค การสื่อสารเกี่ยวกับวัณโรคในหมู่บ้าน และประชาชนในครัวเรือนยังปฏิบัติตนเกี่ยวกับวัณโรคไม่ถูกต้อง

          2) การจัดแผนการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรค โดยหมอประจำบ้าน มี 4 โครงการ คือ 1) โครงการพัฒนาหมอประจำบ้าน 2) โครงการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรค 3) โครงการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในการป้องกันควบคุมวัณโรคในชุมชน และ 4) โครงการ เฝ้าระวังวัณโรคในชุมชนโดยการตรวจคัดกรอง

          3) ผลการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรค โดยหมอประจำบ้าน ของอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น

              3.1) ผลการพัฒนาหมอประจำบ้านและการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุม วัณโรค ครอบคลุมทุกหลังคาเรือน ประชาชนในพืน้ทีไ่ด้รบัข่าวสารเกีย่วกับวัณโรค ร้อยละ 100 และคัดกรองวัณโรค ด้วยวาจา จำนวน 786 ราย ส่งต่อโรงพยาบาล จำนวน 10 ราย

             3.2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมวัณโรคในพื้นที่นำร่องคือ ตำบลคูคำ กับพื้นที่ปรียบเทียบคือ ตำบลห้วยเตย พบว่า ตำบลคูคำมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 123.12 (S.D. = 14.86) ตำบลบลห้วยเตย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 77.31 (S.D. = 23.62) ค่าความแตกต่างของค่าเเฉลี่ยเท่ากับ 45.81 (95% CI: 39 ถึง 51) ความแตกต่าง ดังกล่าวมีนัยคัญทางสถิติ (p-value < 0.001)

        4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงาน พบหมอประจำบ้านมีความตั้งใจและให้ความร่วมมือ ชุมชนมีช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ท่ัวถึง ประชาชนให้ความร่วมมือในการตรวจคัดกรองวัณโรค แกนนำชุมชนสนับสนุน การดำเนินงาน การกำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดให้การป้องกันการแพร่เชื้อวัณโรคของผู้ป่วยและผู้สัมผัส ร่วมบ้านเป็นมาตรการทางสังคม และคืนข้อมูลวัณโรคแก่ชมุชน จากผลการพัฒนาสามารถสรุปได้ว่ารูปแบบดังกล่าวสามารถเสริมสร้างให้ประชาชนเกิดความรอบด้านสุขภาพในการป้องกันวัณโรคในระดับชุมชนได้

References

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แผนยุทธศาสตร์วัณโรคระดับชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

National Tuberculosis Information Program (NTIP). ฐานข้อมูลโรคประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564[เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ntip-ddc.moph. go.th/

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong,Victoria: Deakin University Press; 1988.

อรุณ จิรวัฒน์กลุ. สถิตทิางวิทยาศาสตร์สขุภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์; 2556.

วาริน เขื่อนแก้ว. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและควบคุมวัณโรค อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา 2564, 1(2); 30-44.

ดวงใจ ไทยวงษ์, สุวัฒนา อ่อนประสงค์, อิทธิเดช ไชยชนะ. วารพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องพฤติกรรมการป้องกันวัณโรคของประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไปในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564; 28(3): 39 – 54 .

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการควบคุมวัณโรคประเทศไทย ปี พ.ศ. 2564. กรุงเทพ ฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.

ปราณี มีหาญพงษ์, กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัยทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก 2561; 19(1): 9 -15.

สาเริง ซึมรัมย์, จิระภา ศิรวิฒันเมธานนท์, สมศักดิ์ ศรีภักดี. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมวัณโรคโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารรสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2558; 12(1): 139 – 49.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มืออสม.หมอประจำบ้าน.[อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 15 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http: //อสม.com/document/หลักสูตรหมอประจำบ้าน/หมอประจำบ้าน.pdf.

เฉลิมเกียรติ ตาตะมิ, เทอดศักดิ์ พรหมอารักษ์, สุทิน ชนะบุญ. การพัฒนารูปแบบในการป้องกันและควบคุมวัณโรคในพื้นที่ตำบลท่าบ่อ อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2562; 26(2): 36-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28