พฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
นักศึกษาวิทยาลัย, พฤติกรรมการป้องกัน , โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ , วิทยาลัยการอาชีพบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross–sectional Analytic Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพแห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาจำนวน 281 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือนมกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติไคสแควร์
ผลการศึกษาพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 44.48) ทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 86.12) แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 77.94) และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 59.79) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา พบว่า เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
แม้ว่านักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพจะมีระดับความรู้อยู่ในระดับสูง แต่ยังมีพฤติกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการติดโรคทางเพศสัมพันธ์ได้ง่าย เช่น การใช้วัตถุหรืออุปกรณ์เสริมในการมีเพศสัมพันธ์ การไม่ทำความสะอาดอวัยวะเพศหลังมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น แสดงให้เห็นว่านักศึกษายังไม่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ดังนั้นควรมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องเพศศึกษาอย่างต่อเนื่อง ครบถ้วน และรอบด้าน เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ที่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลให้นักศึกษามีทัศนคติที่ดีต่อการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และนำไปสู่การมีพฤติกรรมที่ถูกต้องและเหมาะสม เป็นการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง ครอบครัว และสังคมต่อไป
References
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. ยุทธศาสตร์การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ. อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2564.
กรมควบคุมโรค. พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพรายสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=23335&deptcode=brc&news_views=148&fbclid=IwAR2cosmRninssAjhpUyh4SJBCsHHa4cnKJPITmPcJw-Jt6IzmSJXFJD72So.
กลุ่มยุทธศาสตร์แผนงานและเครือข่าย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. รายงานประจำปี 2563. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2564.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. รายงานสถานการณ์โรคและภัยสุขภาพประจำสัปดาห์ที่ 15 ประจำปี 2565. อุดรธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2565.
วิริยาภรณ์ จันทร์รัชชกูล. ซิฟิลิส โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ อันตรายของวัยรุ่น [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ซิฟิลิส.
อาทิตยา วังวนสินธุ์, จิระวดี กันทะมัง, น้ำฝน ยมจันทร์, ศักดิ์สิน สิมสินธุ์, สุพาณี บุญโยม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนแห่งหนึ่งในภาคเหนือตอนล่าง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2564; 3(1): 1-12.
มุสตูรา ยะโกะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. วารสาร AL–NUR บัณฑิตวิทยาลัย 2556; 8(14): 45-58.
วิพรรษา คำรินทร์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2558.
วนิดา ภูพันหงษ์, กฤษณา วุฒิสินธ์, ธวัชวงศ์ชัย ไตรทิพย์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ 2559; 3(2): 54-72.
สิริพร มนยฤทธิ์. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ 5 โรคหลักในเยาวชน ประเทศไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557-2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 สิงหาคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1006020200507053840.pdf
ศริญญา เจริญศิริ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, ยุวดี ลีลัคยาวีระ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาชายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 2562; 30(2): 14-25.
งานทะเบียนวิทยาลัยการอาชีพคำม่วง. รายชื่อนักศึกษาประจำปีการศึกษา 2563. วิทยาลัยการอาชีพคำม่วง อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์; 2563. (เอกสารอัดสำเนา)
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
Bloom BS. Taxonomy of educational objectives, the classification of educational goals – Handbook I: cognitive domain. New York: McKay; 1956.
Best JW. Research in education. 3rd ed. Engle Clift, NJ: Prentice-Hall; 1977.
เยาวดี วิบูลย์ศรี. การวัดผลและการสร้างแบบสอบผลสัมฤทธิ์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2549.
Cronbach LJ. Educational psychology. 2nd ed. New York: Harcourt Brace & World; 1963.
ภาสิต ศิริเทศ, ประกายรัตน์ ทุนิจ, วรัฏฐา เหมทอง, กาญจนา บุศราทิจ. ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และเจตคติการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข 2563; 6(เพิ่มเติม): 53-70.
ทะนงศักดิ์ มนสิมา. พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [ปริญญานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2554.
ศิวานิตย์ ทองคำดี, ฉวีวรรณ บุญสุยา, เสาวนีย์ ทองนพคุณ, สาวิตรี วิษณุโยธิน. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2563; 15(1): 85-98.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น