รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ราชบัณฑิต สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเปือยน้อย

คำสำคัญ:

การป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน, พชอ.

บทคัดย่อ

         การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดย กระบวนการมีสว่นร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์และวางแผนแก้ไขปัญหาการบาดเจ็บ 2) ดำเนิน งานตามรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บ 3) ติดตามและประเมินผลรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บ และ 4) ถอดบทเรียนรูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 110 คน ประกอบด้วย คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ (ศปถ.อำเภอ) ปฏิบตักิารความปลอดภัยทางถนน ท้องถิ่น (ศปถ.ท้องถิ่น) ผู้นำ อสม. และประชาชน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ ประเด็นการอภิปราย แบบบันทึกกิจกรรม แบบสอบถามเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม และแบบสรุปผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนาและวิเคราะห์เชิงเนือ้หา ผลการวิจัยพบว่า

          1. การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ได้แก่ ด้านโครงสร้างกลไก การดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการดำเนินงานผ่านกลไกคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) ด้านการวิเคราะห์จดุเสี่ยงด้านพฤติกรรมของประชาชน ด้านการสอบสวนสาเหตุการเสียชีวิต ด้านการ บังคับใช้กฎหมาย และการคืนข้อมูล

          2. ผลจากการใช้รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะ กรรมการพัฒนาคุณภาพชีวติในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น

               2.1 รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนฯ มี 4 โครงการ ได้แก่ 1) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอบ้านไผ่ 2) การจัดการข้อมูลเฝ้าระวังและการ ป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน โดยแก้ไขจุดเสี่ยง 3) การสอบสวนสาเหตุการบาดเจ็บและเสียชีวิต และ 4) สรุปผลและถอดบทเรียน

              2.2 สถานการณ์การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนในระหว่างปี 2564 เทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2560–2563 จำนวน 2,573, 2,022, 1,766, 1,544, และ 1,518 ราย มีแนวโน้มลดลง

              2.3 ความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมการพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุทางถนน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับอำเภอ (พชอ.) อำเภอ บ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( χ = 4.30, S.D = 0.62)

          3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ เกิดจากความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการป้องกันอุบัติเหตุทาง ถนน ประกอบกับผู้นำและทีมงานมีความเข้มแข็ง มีการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง และการเตรียมอุปกรณ์สำหรับสนับสนุนการปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ จากผลการพัฒนาสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบฯ ดังกล่าวทำให้เกิดความร่วมมือในการป้องกันการบาดเจ็บจาก อุบัติเหตุทางถนน ส่งผลให้แนวโน้มจำนวนผูบ้าดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนลดลง

References

ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน. การบูรณาการข้อมูลการตายจากอุบัติเหตุทางถนน 3 ฐาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 พ.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://rti.ddc.moph.go.th /RTD DI/ Mo dules /Report/Report11.aspx.

ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนท้องถิ่น อำเภอบ้านไผ่. เอกสารประกอบการประเมินรับรอง คุณภาพการดำเนินงานป้องกันและลดการตายจากอุบัติเหตุทางถนน. ขอนแก่น: ศปถ.อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น; 2563.

กลุ่มโรคไม่ติดต่อ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น .เอกสารรายงานการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน. สคร.7 ขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2563.

แผนงานสนับสนุนการป้องกันอุบัติเหตุจราจรระดับ จังหวัด (สอจร). แนวทางการขับเคลื่อนงานความปลอดภัยทางถนนภายใต้การสนับสนุนโครงการ นวัตกรรมและพัฒนาจังหวัดเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ (Best Practice สอจร.). ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์; 2562.

Kemmis S, McTaggart R. The Action Research Planner. Australia: Deakin University Press; 1988.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ประคอง กรรณสูต. สถิตเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2542.

สมพงษ์ จรุงจิตตานุสนธิ์. รูปแบบการป้องกันการ บาดเจ็บจากจราจรทางถนนโดยมาตรการด่านชุมชน จังหวัดขอนแก่น ปี 2559. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(2): 183 – 95.

ปานทิพย์ จิ๋วรี. การพัฒนาการดำเนินงานป้องกันการ บาดเจ็บทางท้องถนน (D-RTI) อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. นำเสนอผลงานวิชาการในประชุมสัมมนา สานพลังสร้างแรงจูงใจสู่เครือข่ายโรคไม่ติดต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน และจมน้ำ เขตสุขภาพที่ 3 ในวันที่ 16 ก.ย.2562. 2562. [รายงานไฟล์แนบ].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28