ผลของมาตรการควบคุมยุงพาหะนำโรคไวรัสซิกาแบบเข้มข้น สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ปี พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ รามะโคตร ศูนย์ควบคุมคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.1 จังหวัดอุดรธานี
  • ปิยานุช พามา ศูนย์ควบคุมคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 8.1 จังหวัดอุดรธานี
  • วราภรณ์ อุ่นนาวิน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสซิกา, การพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างในบ้าน, ยุงลาย, บึงกาฬ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้าเพื่อวัดผลของมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้นที่มีต่ออุบัติการณ์การติดเชื้อไวรัสซิกาและลดความหนาแน่นของประชากรยุงลายใกล้บ้านหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่าง คือหญิงตั้งครรภ์ จำนวน 13 คู่ ในพื้นที่ จังหวัดบึงกาฬ เครื่องมือที่ใช้คือ การพ่นสารเคมีชนิดมีฤทธิ์ตกค้างในกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้น ส่วนกิจกรรมที่เหมือนกันทั้ง 2 กลุ่มได้แก่ สำรวจลูกน้ำยุงลาย วางกับดักยุง สัมภาษณ์ และกำจัดลูกน้ำยุงลายทุกสัปดาห์ ในระยะเวลา 5 เดือน ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์ ของกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบปกติ จำนวน13 คนมีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 25.62 ปี (S.D.=5.69 ปี) พฤติกรรมลดจำนวนยุง ส่วนใหญ่ คือ การกำจัดขยะออกจากบริเวณบ้าน คิดเป็นร้อยละ 81.08 ส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น ยาฉีดยุง ยาทากันยุง โลชั่นทากันยุง และมุ้ง เพื่อลดจำนวนยุงของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ คือ การใช้มุ้ง คิดเป็นร้อยละ 79.73 หญิงตั้งครรภ์ของกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้น จำนวน 13 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 23.31 ปี (S.D.=5.14 ปี) พฤติกรรมลดจำนวนยุงส่วนใหญ่ คือ การกำจัดขยะออกจากบริเวณบ้าน คิดเป็นร้อยละ 78.38 ส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ เช่น ยาฉีดยุง ยาทากันยุง โลชั่นทากันยุง และมุ้ง เพื่อลดจำนวนยุง ส่วนใหญ่คือการใช้มุ้ง คิดเป็นร้อยละ 83.11 ค่าเฉลี่ยลูกน้ำยุงลายทั้ง 2 ค่าในกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบปกติและกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้น ไม่แตกต่างกันแต่กลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบปกติมีค่าเฉลี่ยของดัชนี HI ลดลงร้อยละ 24.23 ค่าเฉลี่ยของดัชนี CI ลดลงร้อยละ10.97 และกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้น มีค่าเฉลี่ยของดัชนี HI ลดลงร้อยละ 20.00 ทั้ง 2 ค่า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ความหนาแน่นของยุงลายตัวเต็มวัย ได้แก่ ยุงลายบ้านและยุงลายสวน ในกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบปกติและกลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบเข้มข้น ไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มมาตรการควบคุมยุงแบบปกติ มีความหนาแน่นของยุงลายบ้าน ลดลงร้อยละ 5.77 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 การตรวจหาเชื้อไวรัสซิกา ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซิกาทั้งในคนและยุงพาหะ จากผลการศึกษาหน่วยงานสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ควรส่งเสริม สนับสนุนการสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ให้ครอบคลุมทั้งบ้านหญิงตั้งครรภ์และชุมชน ซึ่งจะช่วยลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายและยุงลายตัวเต็มวัย ส่งผลให้ลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดอุบัติการณ์ติดเชื้อไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์และชุมชนได้ นำไปสู่การป้องกันและควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์และมาตรการป้องกันควบคุมโรคไวรัสซิกา [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2560]; เข้าถึงได้จาก: http://www.ppho.go.th/webppho/dl_strat/F20170707131904.pdf.

Chen LH, Hamer DH. Zika Virus: Rapid Spread in the Western Hemispher. Annals of internal medicine [Internet]. 2016 [Cited 2020 March 17]; Available from: https://doi.org/10.7326/M16-0150.

กรมควบคุมโรค. องค์ความรู้เรื่องไข้ซิกา (Zika virus disease) [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 17 มีนาคม 2563]. เข้าได้จาก: https://spo.moph.go.th/web/dcdc/index.php/category-cal-1/zika01.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาผู้ป่วยในระบบเฝ้าระวัง รง.506.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. จำนวนหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/anc12/index?year=2017.

สุวิช ธรรมปาโล, ธนิษฐา ดิษสุวรรณ์. คู่มือการใช้เครื่องพ่นและสารเคมีในการควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา; 2558.

ศิรินธร มังคะมณี, อิศรา ศิรมณีรัตน์. ระดับความรู้ ระดับการรับรู้ และการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของไข้ไวรัสซิกาของหญิงตั้งครรภ์ในจังหวัดราชบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565; 8(2): 134-43.

รุจิรา เลิศพร้อม. ผลการสำรวจลูกน้ำยุงลายกับการเกิดโรคไข้เลือดออกในเขตสุขภาพที่ 4 พ.ศ. 2560-2562.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด 2562; 1: 59-66.

ศณิษา ตันประเสริฐ. ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมของชุมชนกับการลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย. วารสารกรมควบคุมโรค 2561; 44(2): 185- 96.

Che-Mendoza A, Guillemo-May G, Herrera-Bojórquez J, Barrera-Pérez M, Dzul-Manzanilla F, Gutierrez-Castro C, et al. Long-lasting insecticide-theated houses screens and targeted treatment of productive breeding-sites for dengue vector control in Acapulco, Mexico. Trans R Soc Trop Med Hyg. 2015; 109 (2) : 106-15.

Mushtag S, Mukhtar MU, Aralan A, Zika AB, Hammad M, Bhatt A. Probing the residual effects of deltamethrin on different surfaces against malaria and dengue vector in Pakistan by designing laboratory model. Journal of Entomology and Zoology Studies 2015; 3 (4) : 440-3.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09