ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับพนักงานขับรถบรรทุก ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, พนักงานขับรถบรรทุกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ สำหรับพนักงานขับรถบรรทุกที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงานอาชีพพนักงานขับรถบรรทุก อายุ 35 - 60 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน และกลุ่มควบคุม 36 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยใช้การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ เน้นการพัฒนาทักษะ 6 ด้าน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ Independent t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองเป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 100 อายุเฉลี่ย 44.67 ปี อายุงานเฉลี่ย 8.06 ปี รายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 19,680.56 บาท การทำงานต่อสัปดาห์เฉลี่ย 5 วัน การทำงานล่วงเวลา (OT) เฉลี่ย 1 ชั่วโมงต่อครั้ง ส่วนใหญ่สถานภาพสมรส ร้อยละ 77.80 จบการศึกษาสูงสุดระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 44.40 หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพมากกว่าก่อนการทดลอง และมากกว่ากลุ่มควบคุม และคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันความดันโลหิตสูงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการให้ความรู้จากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อเพิ่มความรู้ ทักษะ ให้บุคลากร และการจัดกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพควรเน้นการปฏิบัติ และติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการกระตุ้นเตือนกลุ่มเสี่ยงให้มีการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สนับสนุนการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
References
World Health Organization. Noncommunicable diseases [Internet]. 2521 [cited 2021 September 22]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/noncommunicable-diseases.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. ข้อมูลโรคไม่ติดต่อจำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรคไม่ติดต่อ ปี 2560-2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=14480&tid=32&gid=1-020.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์, สุพัตรา ศรีวณิชชากร. สถานการณ์ภายใต้กรอบ 9 เป้าหมายระดับโลก ของประเทศไทย. สถานการณ์โรคไม่ติดต่อปัจจัยเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อและการจัดระบบบริการ เพื่อตอบสนองต่อโรคไม่ติดต่อตามเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับโลกของประเทศไทย ปี พ.ศ.2553 – 2558. นนทบุรี: สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง; 2559. หน้า 18-37.
ชิดชนก มยูรภักดิ์, จอม สุวรรณโณ. ความสัมพันธ์เชิงทำนายของปัจจัยด้านเพศ อายุ และระดับความดันโลหิตกับภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารักษาในสถานบริการระดับปฐมภูมิ. วารสารการพยาบาล 2563; 35(2): 132-48.
อติญาณ์ ศรเกษตริน, รุ่งนภา จันทรา, รสติกร ขวัญชุม, ลัดดา เรืองด้วง. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามแนวทาง 3อ.2ส.ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ต.คลองฉนาก อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2560; 4(1): 253-64.
กฤศภณ เทพอินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, นภาเพ็ญ จันทขัมมา. ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์ 2562; 11(1): 197-212.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่4. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2558. หน้า 165-6.
ศิริพร เพิ่มพูน. ผลการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ โยคะ และการกำกับตนเองต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารเกื้อการุณย์ 2549; 13: 1-14.
Polit DF, Hungler BP. Nursing research. Principles and methods. 6thed. Philadelphia: Lippincott; 1999.
Nutbeam D. Health literacy as a public health goal. A challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health Promot Int; 2000. 15(3): 259-67.
ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. การพัฒนาความฉลาดทางสุขภาพ. ความฉลาดทางสุขภาพ. นนทบุรี: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2554. หน้า 37-56.
กองสุขศึกษา. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตาม 3อ.2ส. ของประชาชนที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ฉบับปรับปรุงปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/
กองสุขศึกษา. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กระทรวงสาธารณสุข. แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนวัยทำงาน สำหรับหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการคุณภาพชีวิต ฉบับปี 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 4 มิถุนายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.hed.go.th/
รุ่งนภา อาระหัง, สุธีรา ฮุ่นตระกลู, ศศิธร รุจนเวช. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงสำหรับกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์นาวี 2561; 45(3): 509-26.
ทรัพย์ทวี หิรัญเกิด, พร้อมจิตร ห่อนบุญเหิม, สุรชาติ สิทธิปกรณ์. ศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่อความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับความดันโลหิตของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 31(4): 97-104.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น