ความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ต่อการจัดคลินิกบริการโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2565
คำสำคัญ:
ความต้องการ, ความคาดหวัง, คลินิก, โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นต่อการจัดคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ ประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดขอนแก่น คำนวณขนาดตัวอย่างของกลุ่มผู้รับบริการโดยการประมาณค่าเฉลี่ยกรณีไม่ทราบค่าประชากร ได้ขนาดตัวอย่าง จำนวน 345 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้รับบริการแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ระยะเวลาในการวิจัย ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึง 31 กรกฎาคม 2565 การวิเคราะห์ข้อมูล สถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์คุณลักษณะส่วนบุคคล กับความต้องการและความคาดหวัง โดยใช้สถิติหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีสเปียร์แมน (Spearman's rank correlation Coefficient: rs) และกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างผู้รับบริการในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 345 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 58.55 รองลงมาเป็นเพศชาย ร้อยละ 37.68 และมีกลุ่มตัวอย่างที่ยอมเปิดเผยว่าเป็น MSM (ชายรักชาย) และ TGW (ข้ามเพศ/แปลงเพศ) ร้อยละ 2.90 และ 0.58 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 25-34 ปี ร้อยละ 21.45 รองลงมา 15-24 ปี ร้อยละ 20.00 อายุเฉลี่ย 38.47 ปี (S.D.=15.38) อายุต่ำสุด 15 ปี อายุสูงสุด 82 ปี สถานภาพสมรส เป็นโสด ร้อยละ 46.09 สมรส ร้อยละ 44.35 ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 56.55 รองลงมา ปริญญาตรี/เทียบเท่า ร้อยละ 28.12 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 31.30 รองลงมาคือ ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย และเป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 19.42 และ 16.52 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้อยู่ในช่วง 0-5,000 บาท รองลงมา 10,001–20,000 บาท และ 5,001–10,000 บาท ร้อยละ 28.12, 26.96 และ 26.09 ตามลำดับ
ระดับความต้องการและความคาดหวังต่อการจัดบริการคลินิกตามมาตรฐานการจัดคลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ในภาพรวมทั้ง 2 ตัวแปรอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.32 (S.D.=0.65) และค่าเฉลี่ย 4.34 (S.D.=0.62) ตามลำดับ
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับความต้องการต่อการจัดบริการคลินิก พบว่า ตัวแปรด้านระดับการศึกษา และรายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับต่ำ (rs=0.2129, p-value=0.0001; rs =0.2920, p-value=0.0000) และอาชีพมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามระดับต่ำ (rs =-0.1630, p-value=0.0024) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศ อายุ และสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะส่วนบุคคลกับความคาดหวังต่อการจัดบริการคลินิก พบว่า ตัวแปรด้านรายได้มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับปานกลาง (rs=0.3252, p-value=0.0000) อายุ และระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันระดับต่ำ (rs=0.1544, p-value=0.0040; rs=0.2039, p-value=0.0001) อาชีพมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามระดับต่ำ (rs=-0.1085, p-value=0.0440) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเพศ และสถานภาพสมรสไม่มีความสัมพันธ์
ข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัย ผู้รับบริการอยากให้ 1) ศูนย์สาธิต มีคลินิกบริการตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2) มีการจัดอบรมเรื่องโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่ประชาชน และเยาวชนอย่างทั่วถึง รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ 3) มีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายช่องทาง และ 4) มีบริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีการพิทักษ์สิทธิผู้ป่วย การรักษาความลับ การให้บริการอย่างเท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และมีบริการตรวจรักษาโรคฟรี
References
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2559.
กองระบาดวิทยากลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. การเฝ้าระวังเอดส์จากการรายงาน EIIS [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2564] เข้าถึงได้จาก: http://aidsboe.moph.go.th/aids_system
สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพกรมควบคุมโรค. กรมควบคุมโรค แนะประชาชนช่วงวันวาเลนไทน์นี้ ยึดหลัก “New Normal New Safe SEX : ชีวิตวิถีใหม่กับเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย” [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 24 ตุลาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=17031&deptcode=brc.
สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและการประเมินการดำเนินงานด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในสถานบริการสาธารณสุข พ.ศ.2560. กรุงเทพฯ: บริษัทนัมเบอร์วัน จำกัด; 2560.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. ลักษณะสำคัญองค์กร สำนักงานป้องกันควบคุมโรค
ที่ 7 จังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2564. เอกสารอัดสำเนา; 2564.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. โครงการจัดตั้งศูนย์สาธิตบริการ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ระยะที่ 1 (พ.ศ.2565–2569); 2564.
จุฬาลักษณ์ โกมลตรี. บทความพิเศษ: การคำนวณขนาดตัวอย่าง. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2555; 20(3): 192-8.
น้ำฝน ลูกค้า. ความต้องการและความคาดหวังของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ต่อการเลือกศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. รายงานการวิจัย; 2555.
กนกภรณ์ หัมพานนท์, พรชนก เกตุกัณฑร. ความพึงพอใจ ความต้องการ และความคาดหวังของผู้รับบริการต่องานแผนวิจัยและพัฒนา วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2560; 4(1): 181-91.
สุคนธ์ทิพย์ บุญยัง. ความคาดหวังของผู้รับบริการและทีมหมอครอบครัวต่อบริการของคลินิกหมอครอบครัวจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2564; 30(2): 262-73.
จิตสุดา คำมุงคุณ. ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการบริการฟอกไตในแผนกไตเทียม โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2561.
ภักศจีภรณ์ ขันทอง. ความคาดหวังและความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการบริการของคลินิกแพทย์แผนไทย จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย 2561; 8(2): 75–84.
ศุภณัฐ รอดงาม. ความคาดหวังและการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการบริการด้วยระบบ 3G ของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) 2556; 2(2): 21-31.
ศักร์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา, กรุณา รัตนรุ่งเรือง, พัชรณัฏฐ์ นวกิจธนสาร, ชนาภัทร คงเส้ง. การศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการประชาชน ณ จุดบริการ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต 2560; 12(1): 35-49.
วนาพรรรณ ชื่นอิ่ม. ความคาดหวังและการรับรู้ของบุคลากรต่อคุณภาพการบริการของหน่วยบริการสุขภาพบุคลากร. Rama Nurse J 2015; 1: 122–38.
ฝนทิพย์ มะม่วงแก้ว. คุณสมบัติส่วนบุคคล จิตวิทยาตลาดบริการ และภาพลักษณ์ที่ส่งผลต่อความคาดหวังในด้านการบริการของร้านอาหาร ในเขตกรุงเทพมหานคร [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ; 2559.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น