ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • คณยศ ชัยอาจ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • จุลจิลา หินจำปา สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • บุญทนากร พรมภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคโควิด 19, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, อสม.

บทคัดย่อ

          โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) มีการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วทุกภูมิภาคของโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังคงมีความรุนแรงและระบาดอย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรด้านสาธารณสุข เช่น การติดตาม เฝ้าระวัง คัดกรอง และการป้องกันควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชน

          การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Analytical study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 (2) ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด 19 และ (3) พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของ อสม. ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติพหุถดถอยแบบโลจิสติก (Multiple Logistic regression) นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า Adjusted Odds Ratio (ORadj) 95%CI และค่า P-value ผลการศึกษาพบว่า อสม. ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.5 อายุเฉลี่ย 56.1 ปี (S.D.=9.5) มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด 19 ภาพรวมระดับสูง ร้อยละ 72.8 (Mean=127.1 S.D.=11.1) และมีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ระดับดี ร้อยละ 96.5 (Mean=42.0 S.D.=3.0) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของ อสม. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ได้แก่ เพศหญิง (ORadj=2.68, 95%CI=1.07-6.72, P-value=0.019) และความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด 19 ระดับสูง (ORadj=27.82, 95%CI=6.38-121.24, P-value<0.001)

          จากผลการศึกษาจะเห็นว่า อสม. ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ระดับดี เพศและความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด 19 ระดับสูงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 แต่ อสม. บางส่วนยังมีพฤติกรรมควรปรับปรุงและความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องโรคโควิด 19 อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นจึงควรนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาต่อยอด เช่น การจัดทำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ และการจัดทำโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพให้แก่ อสม. โดยเฉพาะในด้านการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ ด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคและภัยสุขภาพต่าง ๆ เพื่อให้ อสม. มีความพร้อมในการปฏิบัติหน้าที่และสามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องแก่ประชาชน รวมถึงพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็งและความยั่งยืนด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพในอนาคตต่อไป

References

World Health Organization. Coronavirus disease (COVID-19) [Internet]. 2020 [cited 2020 Oct 10]. Available from: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/question-and-answers-hub/q-a-detail/coronavirus-disease-covid-19.

สุวัฒนา อ่อนประสงค์, กรรณิการ์ ตฤณวุฒิพงษ์, พิทักษ์ กาญจนศร, คณยศ ชัยอาจ. ความรู้และการปฏิบัติตัวของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อการป้องกันโรคโควิด 19 จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564; 28(3): 83-92.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 15 ต.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์ผู้ป่วย COVID-19 ภายในประเทศ รายสัปดาห์ [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ม.ค. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/covid19-dashboard.

กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. อสม.4.0 [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 17 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaiphc.net/new2020/content/4.

จิตรา มูลทิ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการ สคร.9 นครราชสีมา 2564; 27(2): 5-14.

สุภาภรณ์ วงธิ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

ปัณณวัฒน์ โม้เวียง, ชนัญญา จิระพรกุล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจมาตรวจยืนยันมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงโดย การส่องกล้อง (Colonoscopy) อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น [ปริญญานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2561.

อภิวดี อินทเจริญ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล, สุวรรณา ปัตตะพัฒน์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองคอหงส์ จังหวัดสงขลา. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2564; 3(2): 19-30.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณบุญประจักษ์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(12): 360-75.

เอกราช มีแก้ว, วัลลภ ใจดี, สุนิศา แสงจันทร์. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในการปฏิบัติงานเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2565; 32(1): 74-87.

สารียะห์ เลาะแมง, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, สมเกียรติยศ วรเดช. พฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตเทศบาลสงขลา [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 19 ก.พ. 2565]. เข้าถึงได้จาก: http://ird.skru.ac.th/RMS/file/63256.pdf.

ดาวรุ่ง เยาวกูล, ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม, นิภา มหารัชพงศ์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในเขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2565; 1(15): 257-72.

ทรรศนีย์ บุญมั่น. ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านจังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2564.

Visanuyothin S, Chatanuluk C, Saengsuwan S, Rojanavarapong A, Pornchanya P. Health literacy of village health volunteer in municipalitiy, Nakhonratchasima, Thailand. Journal of Public Health Development. 2015; 13(1): 37-54.

วชิระ เพ็งจันทร์. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ. ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากร กรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

Karimy M, Bastami F, Sharifat R, Heydarabadi AB, Hatamzadeh N, Pakpour AH, et al. Factors related to preventive COVID-19 behaviors using health belief model among general population: a cross-sectional study in Iran. BMC Public Health 2021; 21(1): 1934. Available from: http://doi.org/10.1186/s12889-021-11983-3.

Sanchez-Arenas R, Doubova SV, Gonzalez-Perez MA, Perez-Cuevas R. Factors associated with COVID-19 preventive health behaviors among the general public in Mexico City and the State of Mexico. PLOS ONE 2021; 16(7): c0254435.

ธวัชชัย ยืนยาว, เพ็ญนภา บุญเสริม. ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หญิงจังหวัดสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2563; 35(1): 555-64.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย