การประเมินระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.2562-2564

ผู้แต่ง

  • วรรณา วิจิตร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  • อุษารัตน์ ติดเทียน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก
  • ภูดิศักดิ์ ท่อศิริโภควัฒน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

การจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข

บทคัดย่อ

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดพิษณุโลก ปี พ.ศ.2562-2564 รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยประเมินผล โดยใช้เครื่องมือแบบจัดเก็บข้อมูล EOC Assessment Tool จากผลประเมินภายนอกและประเมินตนเอง และแบบสอบถามความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า กระบวนการปฏิบัติงาน ที่ช่วยให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพียงพอ/เหมาะสม เก็บรวบรวมข้อมูลเดือนมีนาคม พ.ศ.2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณาและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นด้านปัจจัยนำเข้า ด้านความพียงพอและเหมาะสม ด้านกระบวนการดำเนินงานจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ผลประเมินตนเอง EOC Assessment Tool ปีงบประมาณ พ.ศ.2562-2564 ผ่านเกณฑ์ทุกปี (ร้อยละ 58.11, 72.97 และ 87.84) ตัวชี้วัดที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ปี คือ หมวดที่ 4 ระบบข้อมูล และหมวดที่ 7 การสื่อสารความเสี่ยง และการเตือนภัย ปี พ.ศ.2564 ไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 2 ตัวชี้วัด ได้แก่ หมวดที่ 1 บริบทและหมวดที่ 9 Coordination and logistical support of field operations เพื่อสามารถบริหาร และปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่ความสำเร็จของการดำเนินงาน ควรจัดอัตรากำลังตามบทบาทที่ได้รับมอบหมายอย่างเพียงพอต่อภาระงาน หรือลดปริมาณงานที่ไม่จำเป็นให้สอดคล้องกับกำลังคน มีการซักซ้อมแผนอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้จริงเมื่อเผชิญเหตุการณ์ และการจัดงบประมาณในภาวะฉุกเฉินที่แตกต่างจากภาวะปกติ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ(พ.ศ.2560-2579).กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2560.

ธนรักษ์ ผลิพัฒน์, พรทิพย์ ศิริภาณุมาศ. แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรค และภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579). กรุงเทพ ฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

กองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค.แบบเก็บข้อมูลพื้นฐานเพื่อการวางแผนการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำหรับหน่วย

งานสาธารณสุขระดับจังหวัด และระดับเขต (EOC Assessment Tool) [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2/ddce/files/EOC_Assessment_Too.pdf

Kast FE, Rosensweig JF. Organization and Management:Asystemsandcontingencyapproach. 4th. ed. New York: McGraw-HillBook company; 1985.

สำนักงานความร่วมมือระหว่างประเทศ กรมควบคุมโรค. การประเมินความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019(2019-nCoV) ระหว่างประเทศทั่วอาเซียน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/RiskAssessment/ThaiVers270163.pdf

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพ ฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20ปี ด้านสาธารณสุข (2560-2579) [อินเทอร์เน็ต]. 2561[เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://bps.moph.go.th/new_bps

ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา.งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 ภายใต้ประเด็นหลัก (ธีม)“พลังพลเมืองตื่นรู้ ... สู้วิกฤตสุขภาพ” สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ[อินเทอร์เน็ต].2563[เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.nationalhealth.or.th/en/node/2273

พรสุรางค์ ราชภักดี. การประเมินประสิทธิผลทีมตระหนักรู้สถานการณ์ และทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2จังหวัด

พิษณุโลก. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2565; (1): 1-10.

ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, ปทุมมาลย์ ศิลาพร, เชิดพงษ์ มงคลสินธุ์, สุมาลี จันทลักษณ์. การประเมินสมรรถนะศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น กรมควบคุมโรค ปีงบประมาณ 2562. วารสารกรมควบคุมโรค 2563; 46(4): 528-39.

ประทีป ธนกิจเจริญ. งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 ประจำปี 2563 ภายใต้ประเด็นหลัก (ธีม) “พลังพลเมืองตื่นรู้ ... สู้วิกฤตสุขภาพ”[อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ7 พฤศจิกายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.national health.or.th/en/node/1450

สุรางค์ศรี ศีตมโนชญ์, ลักขณา ไทยเครือ, วิวัฒน์ ศีตมโนชญ์. การประเมินเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภัยพิบัติของหน่วยงานสาธารณสุขและชุมชนจังหวัด. วารสารวิชาการสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. 2551 [เข้าถึงเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2564]; 17(7): SVII1998 2551. เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/JHS/issue/view/458 download

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28