ประเมินผลการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชน อายุ 15 - 19 ปี พื้นที่เขตสุขภาพที่ 7
คำสำคัญ:
ความชุกของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, เยาวชนอายุ 15-19 ปี, การควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนอายุ 15 -19 ปี ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม หัวข้อประเด็นการสัมภาษณ์ และหัวข้อประเด็นแนวทางการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ รวม 39 คน ผู้จำหน่าย 47 คน และเยาวชนนักเรียนอายุ 15-19 ปี 354 คน ดำเนินการในเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ความชุกของนักดื่มที่เป็นเยาวชนในรอบปีมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.7 ในช่วงปี 2554 – 2557 ทั้งนี้ กรอบแนวทางการดำเนินงานควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับจังหวัดกำหนดตามยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ และมาตรการของสำนักงานคณะกรรมการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค ด้านทรัพยากรสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบงานตามบริบทโครงสร้างของแต่ละหน่วยงาน ระดับ สสจ.มีงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ดำเนินงานเพียงพอ แต่ระดับ สสอ. ยังมีไม่เพียงพอ และทุกระดับมีแผนปฏิบัติการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ โดยมีเครือข่ายภาครัฐ องค์กรเอกชน ภาคประชาชน และสื่อมวลชนที่เกี่ยวข้องร่วมสนับสนุนการดำเนินงาน การขับเคลื่อนงานระดับจังหวัดดำเนินกิจกรรม ได้แก่ เฝ้าระวังบังคับใช้กฎหมาย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ การรับและจัดการเรื่องร้องเรียน สนับสนุนขับเคลื่อนมาตรการระดับชุมชน และการคัดกรองและบำบัดรักษาผู้ติดสุรา และระดับอำเภอดำเนินกิจกรรม ได้แก่ ตรวจเตือน บังคับใช้กฎหมาย อบรมชี้แจงร้านค้าผู้จำหน่าย รณรงค์ประชาสัมพันธ์ และขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนต้นแบบ ส่วนการกำกับติดตามประเมินผลการดำเนินงาน ระดับจังหวัดกำกับผ่านการประชุมติดตามของคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และระบบรายงานตัวชี้วัด ส่วนระดับอำเภอเน้นติดตามงานเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ผ่านระบบรายงานและการประชุมประจำเดือนส่วนราชการ ผลที่เกิดขึ้นคือ ทุกจังหวัดมีการจัดทำและขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และรับเรื่องร้องเรียนในพื้นที่ โรงเรียนมัธยมศึกษาทุกแห่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาเข้าร่วมโครงการโรงเรียนปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กลุ่มผู้จำหน่ายที่ไม่รู้การจำกัดเวลาห้ามจำหน่ายประมาณร้อยละ 25 การขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่ห้ามขาย และขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี พบที่ร้านชำมากที่สุด เยาวชนอายุ 15-19 ปี กว่าร้อยละ 50 เคยซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรอบ 3 เดือน และยังพบว่า ผู้ที่ซื้อมีโอกาสที่จะเป็นนักดื่มประมาณ 11 เท่าของกลุ่มที่ไม่เคยซื้อ เจ้าหน้าที่ประมาณร้อยละ 4 ไม่ทราบเกี่ยวกับการจำกัดสถานที่จำหน่ายและอายุของผู้ซื้อ ประมาณร้อยละ 25 ที่ไม่รู้ช่วงการจำกัดเวลาจำหน่าย และมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายเพียงร้อยละ 40 ของกรณีพบการกระทำผิด
สรุปและข้อเสนอแนะ ความชุกของการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนในพื้นที่ยังสูง เยาวชนสามารถเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ง่าย ผู้จำหน่ายและเจ้าหน้าที่รับผิดชอบบางส่วนยังมีการรับรู้ข้อจำกัดข้อห้ามตามกฎหมายที่ไม่ชัดเจน และมีข้อจำกัดของทรัพยากรสนับสนุนทั้งด้านปริมาณและการจัดการให้ทั่วถึงและเพียงพอ ดังนั้นการขับเคลื่อนการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในกลุ่มเยาวชนจึงควรมีการบริหารจัดการที่เป็นระบบทั้งด้านนโยบาย แผนปฏิบัติการ ทรัพยากรสิ่งสนับสนุน การกำกับติดตาม และความร่วมมือของภาคีเครือข่ายภาคการศึกษา ท้องถิ่น ชุมชนในการดำเนินงานให้ชัดเจนต่อเนื่อง
References
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศกระทรวงสาธารณสุข. รายงานภาวะโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทหารผ่านศึก; 2558.
World Health Organization. Global status report on alcohol and health - 2014 [Internet]. 2014[cited 2022 Jul 21]. Available from: https://apps.who.int/iris/handle/10665/112736.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา; 2559.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. การประเมินผลครึ่งแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติ (พ.ศ. 2554-2558). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2559.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ. นนทบุรี: เดอะ กราฟิก ซิสเต็ม; 2553.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์แห่งชาติ (พ.ศ.2554-2563). นนทบุรี: เดอะ กราฟิก ซิสเต็ม; 2553.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ ดีไซน์; 2559.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากรไทย รายจังหวัด พ.ศ. 2554. นนทบุรี: เดอะ กราฟิก ซิสเต็ม; 2556.
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. รายงานประจำปี 2559. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น; 2559.
รัตนะ บัวสนธ์. รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้. วารสารศิลปากรศึกษา ศาสตร์วิจัย 2556;5(2): 7-24.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. วิธีวิทยาการประเมิน: ศาสตร์แห่งคุณค่า. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2553.
สุรศักดิ์ ไชยสงค์. ขนาดตัวอย่างในการวิจัย(คลินิกวิจัย). จดหมายข่าวศูนย์วิจัยปัญหาสุรา 2556; 2(6): 5-8.
สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค. สถานการณ์และการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย [Internet]. 2022[cited 2022 Jul 22]. Available from: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1439020200823062540.pdf.
Cochran WG. Sampling Techniques 3rd Ed. New York: John Wiley & Sons; 1991.
มานพ คณะโต. วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพในระบบสุขภาพชุมชน. ขอนแก่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550.
กนกพร พินิจลึก, บุญทนากร พรมภักดี, วรางคณา คุ้มโภคา, นิภาพร หร่องบุตรศรี, นัทนัน วิรุฬหเดช. การประเมินผลมาตรการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551ตามแนวทางของแบบจําลอง CIPP ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2556.
กฤษณ์ โพธิ์ศรี. การพัฒนายุทธศาสตร์ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2559; 13(2): 8-16.
ชุษณะ รุ่งปัจฉิม, เชษฐ์ รัชดาพรรณาธิกุล. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 2553; 2(3): 7-21.
ฑิฆัมพร หอสิริ, ชุลีกร สิทธิสัน, กนกขวัญ ลิ้มศรีเจริญ. ความชุกของพฤติกรรมการดื่มสุราในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2559; 61(1): 3–14.
ดุษฎี อายุวัฒน์, วณิชชา ณรงค์ชัย. การประเมินผลการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พ.ศ. 2551ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดขอนแก่น) กรณีผู้จําหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5(1): 55-68.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา(ศวส.). ข้อเท็จจริงและตัวเลข เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทย พ.ศ.2559-2561. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น