การพัฒนาระบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ เทศบาลตําบลสาวะถี อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, การจัดการขยะ, ผู้สูงอายุ, ชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ โดยศึกษาสถานการณ์ ปัญหา ความต้องการในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ และศึกษาแนวทางการจัดการขยะ เทศบาลตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กระบวนการพัฒนาประกอบด้วย 1) การศึกษาสถานการณ์ปัญหาการจัดการขยะโดยการสำรวจข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตการณ์ทำกิจกรรมของผู้สูงอายุ และการจัดเวทีประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวทางการจัดการขยะ 2) กำหนดแนวทางการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ 3) ลงมือปฏิบัติ 4) ติดตามและประเมินผล ผู้ร่วมวิจัยได้แก่ ผู้สูงอายุและผู้ที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ท้องที่ แกนนำกลุ่ม องค์กรในชุมชน ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการสามเส้า ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจน รวมทั้งการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการจัดการขยะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน เช่น โครงการจัดตั้งธนาคารขยะ โครงการรณรงค์การจัดการขยะชุมชนอย่างมีส่วนร่วม กองทุนสูงวัยใส่ใจสิ่งแวดล้อม กองทุนขยะเป็นบุญเพื่อผู้สูงวัย ศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะโดยชุมชน การดำเนินการที่ประสบความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนในพื้นที่ ซึ่งการจัดทำแนวทางการจัดการขยะเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนประกอบด้วย การจัดการขยะในครัวเรือน การจัดการขยะในชุมชนและพื้นที่สาธารณะ และการจัดการในระดับหน่วยงานองค์กรในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการจัดการขยะเพื่อดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การสร้างความตระหนักในการจัดการขยะโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ ส่งผลให้เกิดการปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ การสร้างรายได้และมีการจัดสวัสดิการสำหรับดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมิติ
References
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2565.
กองสถิติสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.
กรมควบคุมมลพิษ. รายงานตัวชี้วัด "ปริมาณขยะมูลฝอย (2553-2565). กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ; 2565.
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. 4 ตุลาคม 2565 ขอนแก่น...ต้นแบบแก้ไขขยะมูลฝอย ขับเคลื่อนไทยสู่สังคม Zero Waste [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://www.onep.go.th/4-%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A1-2565-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%81/
นันทวุฒิ จำปางาม. การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม: สุขภาวะที่ดีในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2562; 13(2): 63-73.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). รายงานระบบข้อมูลตำบลโดยการสำรวจ ปี 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2562.
สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). คู่มือการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลโดยการสำรวจ. กรุงเทพฯ: มาตา; 2562.
นฤนาท ยืนยง, พิชชานาถ เงินดีเจริญ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2565; 12(2): 279-97.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). การจัดการขยะในระดับชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2562.
กชกร เดชะคำภู, ทิพาภรณ์ หอมดี. กลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการพื้นที่สาธารณะ “หาดแห่” เกาะกลางแม่น้ำโขง. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ 2559; 9(5): 347-60.
ขนิษฐา นันทบุตร. ระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2561.
ขนิษฐา นันทบุตร. กรณีศึกษานวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน: การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน. นนทบุรี: สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น