การพัฒนาแนวทางและกลไกการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานข้ามชาติ: จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย รักษานนท์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • ฝนทิพย์ บุตระมี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • กิตติยา พิมพ์พาเรือ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • กาญจนา แสนตะรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • สร้อยสุดา เกสรทอง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • เสียน ชุมสีวัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

แรงงานข้ามชาติ, แนวทางและกลไกการจัดบริการ, การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ , อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

บทคัดย่อ

          แรงงานข้ามชาติถือเป็นกำลังหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ รวมทั้งในจังหวัดอุดรธานี แต่ยังพบปัญหาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติ ในขณะที่ระบบบริการด้านจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ยังไม่มีกลไกที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม ทำให้การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติยังมีปัญหา วิธีการศึกษาการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ศึกษาในแรงงานข้ามชาติ สัญชาติเมียนมา ลาว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดอุดรธานี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางและกลไกการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในการทำงานของแรงงานข้ามชาติ ในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามเข้าร่วมจำนวน 87 คน จาก 3 สถานประกอบการ ระยะเวลาดำเนินงานวิจัย มีนาคม 2560 - ธันวาคม 2562 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ ระยะดำเนินการ และระยะติดตามผล มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสนทนากลุ่ม และแบบตรวจสอบรายการ ทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทดสอบความถูกต้องตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ ใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ และ การอธิบายเนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา ในปี 2560 พบแรงงานข้ามชาติในจังหวัดอุดรธานี 3,588 คน ส่วนใหญ่ทำงานบริการ ร้านอาหาร ขายของปลีก ส่ง (ร้อยละ 25) เกษตร ปศุสัตว์ (ร้อยละ25) รองลงมา คือ การให้บริการต่างๆ เช่น สถานบริการน้ำมัน ลูกจ้างในครัวเรือน (ร้อยละ 24) การพัฒนาแนวทางและกลไกการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะเตรียมการ คือการศึกษาสถานการณ์ปัญหา บริบทและเครือข่ายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระยะดำเนินการ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการและวางแผนหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน และระยะติดตามผลเป็นประเมินความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อแนวทางการดำเนินงานของผู้เกี่ยวข้อง ข้อเสนอแนะ แนวทางการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของแรงงานข้ามชาติควรมีกลไกเป็นรูปของคณะทำงานที่มาจากผู้เกี่ยวข้องและทำงานอย่างต่อเนื่อง ควรบูรณาการแผนให้เกิดการปฏิบัติอย่างจริงจังควรจะมีทั้งแผนระยะสั้น และระยะยาว ควรมีการเชื่อมโยงข้อมูลและใช้ฐานข้อมูลรวมกันเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาสุขภาพของแรงงานในทุกมิติ รวมทั้งการพัฒนาแกนนำแรงงานด้วยหลักสูตรที่เหมาะกับบริบท เพื่อให้เป็นสื่อกลางในการให้ความรู้ อีกทั้งควรผลักดันให้ชุมชนและท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพแรงงานข้ามชาติขั้นพื้นฐานเช่น การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานทั้งนี้ควรมีการจัดสรรงบประมาณรายหัวจากงบประกันสุขภาพเพื่อกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ

References

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. ข้อมูลสถิติการทำงานของคนต่างด้าว [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 14 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/alien/statistic/param/site/152/cat/82/sub/0/pull/category/view/list-label.

สร้อยสุดา เกสรทอง, รณภูมิ สามัคคีคารมย์, รัชนีวรรณ คุณูปกร. ปัญหาสุขภาพจากการทำงานในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ (แรงงานต่างด้าว) จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารควบคุมโรค 2560; 43(3), 255-69.

สำนักงานแรงงานจังหวัดอุดรธานี, แผนปฏิบัติการพัฒนาการจัดบริการและการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันควบคุมโรคจากการทำงานของแรงงานข้ามชาติ. ประชุมการจัดทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการจัดบริการและการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันควบคุมโรคจากการทำงานของแรงงานข้ามชาติ. ครั้งที่ 4; 22 พฤษภาคม 2560; ห้องประชุมลาวเสี่ยงเทียน โรงแรมเจริญ โฮเต็ล อ.เมือง จ.อุดรธานี 2560.

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว. พระราชกําหนดการบริหารจัดการการทํางานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/alien_th/051aa1e74663946c6ab17c6c391805df.pdf.

ทรงชัย ทองปาน. สภาพปัญหา และข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย: ผลจากการสังเคราะห์งานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมกรรมการวิจัยแห่งชาติ. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา 2563; 2(4): 1-20.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 4 สิงหาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.stopcorruption.moph.go.th/index.php/main/p_detail/page/60.

ธนกร สิริธร. พฤติกรรมการทำงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน และบุคลิกภาพที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานต่างด้าว: กรณีศึกษาแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ในโรงงานย่านมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร. [รายงานการศึกษาอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2559.

ญาดา เรียมริมมะดัน, ศิรินันท์ คำสี. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างเสริมสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสาร มฉก.วิชาการ 2561; 21(42): 79-91.

พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล, จิดาภา ถิรศิริกุล, พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. ปัจจัยการจัดการสาธารณสุขส่งผลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย.วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 2561; 11(3): 307-14.

เพ็ชราภรณ์ ชัชวาลชาญชนกจิ, พรรณรัตน์ อาภรณ์พิศาล. ทัศนคติที่มีอิทธิพลต่อการเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า กรณีศึกษากิจการต่อเนื่องประมง จังหวัดสมุทรสาคร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ 2560; ฉบับพิเศษ: 57-63.

อัชวัฒน์ คำหวาน, ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์. การเข้าถึงบริการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติ กรณีศึกษา อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2559; 4(3): 359-74.

พยาม การดี, วราภรณ์ บุญเชียง. การดูแลสุขภาพแรงงานต่างด้าวในบริการปฐมภูมิ: ความท้าทายในบทบาทพยาบาล. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2562; 33(3): 146-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-09