ปัจจัยทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ของวัยรุ่นตอนต้น
คำสำคัญ:
พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ, วัยรุ่นตอนต้น, ครอบครัว, ชุมชน, ปัจจัยทำนายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนา แบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและศึกษา ปัจจัยการทำนายด้านบุคคล ครอบครัว และสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น มีขนาดตัวอย่าง 222 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติพรรณนาที่ใช้มี ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาปัจจัยการ ทำนาย ด้วยสถิติการถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise multiple linear regression analysis) ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.8 มีแฟน หรือคนรัก ร้อยละ 21.17 มีอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ร้อยละ 85.14 เคยดืม่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 14.86 แต่งกายล่อแหลม ร้อยละ 24.32 และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศอยู่ในระดับน้อย มีค่าเฉลี่ย 1.79 (คะแนนเต็ม 5) ส่วนเเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.53 ผลการวิเคราะห์อำนาจการทำนายของปัจจัยด้านบุคคล ด้านครอบครัว และด้านสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น พบว่าจาก ตัวแปรทั้งหมด 17 ตัว มีตัวแปร 7 ตัวที่เป็นปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น สร้างสมการได้ ดังนี้ Ŷ = 24.31 + 1.71(เพศชาย) + 4.40 (การมีแฟน) + 1.35 (การแต่งกายล่อแหลม) + 2.68 (สถานบันเทิง) – 4.48 (ผลการเรียน) – 4.32 (สื่ออิเล็กทรอนิกส์) – 1.9 0(กิจกรรมในชุมชนด้านการป้องกันพฤติกรรมเสีย่งทาง เพศ) โดยร่วมกันทำนายพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นตอนต้น ได้ร้อยละ 56 ดังนั้น โรงเรียนหรือสถานศึกษาควร ร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุข และชุมชนในการปรับเปลี่ยน ส่งเสริมให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมทางเพศที่เหมาะสม ให้มีการเข้าถึงสื่อที่เป็นประโยชน์ จำกัดอายุในเรื่องการเข้าถึงสถานบันเทิง มีการจัดตั้งชมรมที่สามารถให้คำปรึกษา เรื่องเพศได้
References
World Health Organization (WHO). Adolescent pregnancy [Internet]. 2020 [cited 2020 February 20]. Available from: https://www.who.int/ news-room/fact-sheets/detail/adolescentpregnancy
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย. อัตราการ คลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi-list/ view/?id=1017
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. สถานการณ์น่าห่วง วัยรุ่นไทยติดเชื้อ HIV สูงขึ้น [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth. or.th/Content/41145สถานการณ์น่าห่วง%20 วัยรุน่ไทยติดเชื้อ%20HIV%20สูงขึ้น.html
กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กองโรค เอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุม โรค. การเฝ้าระวังโรคเอดส์ จากการรายงาน [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://aidsboe.moph.go.th/ aids_system
ศูนย์อำนวยการบริหารจัดการปัญหาเอดส์แห่งชาติ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทยในการยุติปัญหาเอดส์ ปี พ.ศ.2560. กรุงเทพมหานคร: หกหนึ่งเจ็ด; 2560
สำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กรมอนามัย . สถานการณ์อนามัยเจริญพันธุ์ในวัยรุ่นและเยาวชน ปี 2560 [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www. rh.anamai.moph.go.th/
สุนีย์ กันแจ่ม, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, อนามัย เทศกะทึก, วนัสรา เชาวน์นยิม. ความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายกับเพื่อนหญิง: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561; 11: 64-73.
อาภาพร เผ่าวัฒนา. การป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่น : การมีส่วนร่วมของครอบครัว โรงเรียน และชุมชน. กรุงเทพฯ: โนเบิล; 2552
มณีรัตน์ เทียมหมอก. การพัฒนาแนวทางการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นในชุมชน [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2560.
อังศินันท์ อินทรกำแหง. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์; 2560.
ชิสาพัชร์ ชูทอง. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการรับรู้ภาวะเสี่ยงทางเพศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. การนำเสนอผลงานวิจับระดับชาติ เครือข่ายบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ ครั้งที่ 17. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบลูสงคราม; 2560.
กรกวรรษ ดารุนกิร, ชนัญญา จิระพรกุล, เนาวรัตน์ มณีนิล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีคู่นอนหลาย คนของวัยรุ่นในสถานศึกษาจังหวัดขอนแก่น . วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2562; 62(1): 13-21.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพกระทรวง สาธารณสุข. การเสริมสร้างและประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเด็กและ เยาวชน (อายุ 7 – 14 ปี) และกลุ่มประชาชนที่มีอายุ 15 ปีข้ึนไป. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2561.
Faul F, Erdfelder E, Lang AG, Buchner A. G*Power 3: a flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior research methods 2007; 39(2): 175–91.
อรุณ จิรวัฒน์กลุ. สถิตทิางวิทยาศาสตร์สขุภาพเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.
เกศินี สราญฤทธิชัย. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา; 2563
ณมน ธนินธญางกูร. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในเขตเทศบาลนคร ขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.
สุมาลี ตราชู. พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นและการป้องกันในตำบลน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น [ปริญญาวิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2550
สุมติตา สว่างทุกข์, ปาริชาติ ทาโน. การศึกษาการตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์ 2558; 22(2): 41-56.
นฎาประไพ สาระ, ชุติมา หรุ่มเรืองวงษ์. ความชุกของการมีประสบการณ์ทางเพศและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาในจังหวัดนนทบุรี. เวชศาสตร์ร่วมสมัย 2559; 60(2): 215-30.
ศาสนา ผาสุข. ความฉลาดทางอารมณ์ท่ีมีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดจันทบุรี [ปริญญานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2554
ณัฐพร สายพันธุ์. พฤติกรรมทางเพศและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร มหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.
อรอุษา จันทรวิรธุ. ปัจจัยที่อีทิธิพลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรปราการ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น