ประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน(RR/MDR-TB) ที่ได้รับการรักษาด้วยสูตรยาระยะสั้น ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • อิทธิเดช ไชยชนะ -
  • ภัทรียา พอจิต สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • สุพัตรา สิมมาทัน สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน(RR/MDR-TB, การรักษาด้วยสูตรยาระยะสั้น

บทคัดย่อ

              การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนาน และติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานด้วยสูตรยาระยะสั้น ในเขตสุขภาพที่ 7 รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 22ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยและขึ้นทะเบียนรักษาวัณโรคดื้อยาในโรงพยาบาลจังหวัดและโรงพยาบาลชุมชน  6 แห่ง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564  เครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 59.09 อายุเฉลี่ย 47.6 ปี (S.D.= 15.75) ใช้ระยะเวลาในการรักษา 11 เดือน ร้อยละ 50.0 รักษา 9 เดือน ร้อยละ 45.46 ขยายเวลารักษา 18 เดือน ร้อยละ 4.54 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 54.5 ไม่เคยสัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ร้อยละ 81.81 มีผู้กำกับดูแลการกินยาตลอดการรักษา ร้อยละ 95.5  เป็นผู้ป่วยวัณโรคดื้อยา ร้อยละ 95.45 และดื้อยา Rifampicin resistance-TB ร้อยละ 4.55 น้ำหนักเฉลี่ย 53.04 กิโลกรัม (S.D. = 11.14)  รักษาด้วยสูตรยาระยะสั้น 6Bdq-Mfx-Pto-Cfz-Z—H (high-dose)-E/5Mfx-Cfz_Z_E ร้อยละ 50.00 สูตร 4Bdq-Mfx-Pto-Cfz-Z—H(high-dose)-E/5Mfx-Cfz_Z_E ร้อยละ 45.46 และขยายสูตรการรักษาเป็น 18 เดือน ร้อยละ 4.54 ติดตามผลการ รักษาด้วยการตรวจเสมหะพบเสมหะเปลี่ยนจากบวกเป็นลบในเดือนที่ 1 ร้อยละ 81.81 และเปลี่ยนเป็นลบมากขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาในเดือนที่ 9 และเดือนที่ 11 ครบทุกราย ตรวจเสมหะโดยการเพาะเชื้อ เสมหะจะเปลี่ยนไม่พบเชื้อในเดือนที่ 1 ร้อยละ 72.72 และไม่พบเชื้อจนสิ้นสุดการรักษาในเดือนที่ 9 และเดือนที่ 11 ครบทุกราย ผู้ป่วยรักษาหาย ร้อยละ 95.45 และขยายการรักษา 18 เดือน ร้อยละ 4.55 เนื่องจากมีภาวะตับอักเสบ อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ผลการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการรักษาพบมีอาการปวดข้อ ร้อยละ 31.82 คลื่นไส้อาเจียนและผื่นคันที่ผิวหนัง ร้อยละ27.28 และเวียนหัว/หูดับ ร้อยละ18.18

            หลังจากการรักษา ควรมีการติดตามผู้ป่วยที่รักษาหายอย่างต่อเนื่องทุก 6 และ12 เดือน เนื่องจาก การรักษาวัณโรคดื้อยาต้องใช้ระยะเวลาการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและยาวนานอย่างใกล้ชิด การให้คำปรึกษาให้ความรู้ข้อมูลกับผู้ป่วยและญาติให้เข้าใจในการเจ็บป่วยและมีแนวทางการการรักษาที่ชัดเจนจะทำให้เกิดความร่วมมือในการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพิ่มอัตราการรักษาหายมากขึ้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04