การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านการสอบสวนควบคุมโรคติดต่ออันตราย ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) เขตสุขภาพที่ 7

ผู้แต่ง

  • จมาภรณ์ ใจภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • วนิดา สายรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • ณิชชาภัทร ยอดแคล้ว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น

คำสำคัญ:

สมรรถนะการสอบสวนและควบคุมโรค, หน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้วัดสมรรถนะด้านการสอบสวนและควบคุมโรคติดต่ออันตราย ของเจ้าหน้าที่ในหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ (CDCU) มีขั้นตอนในการพัฒนาตัวบ่งชี้ 4 ขั้นตอนคือ ขั้นที่ 1 พัฒนาแบบจำลองเชิงทฤษฎีจากการทบทนวรรณกรรม เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างตัวบ่งชี้และข้อคำถาม ได้องค์ประกอบหลัก 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ย่อย 14 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ด้านศักยภาพทางวิชาการ (2 ตัวบ่งชี้) ด้านทักษะการปฏิบัติงาน (4 ตัวบ่งชี้) ด้านความสามารถในการสอบสวนควบคุมโรค (6 ตัวบ่งชี้) และคุณลักษณะส่วนบุคคล (2 ตัวบ่งชี้) ขั้นที่ 2 ตรวจสอบคุณภาพและความเชื่อมั่นของแบบประเมิน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.94 ขั้นที่ 3 การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานใน CDCU จำนวน 236 คน ขั้นที่ 4 ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยใช้สถิติการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis; CFA)

          ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 236 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.9 อายุ 30–39 ปี ร้อยละ 35.6 ตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุข ร้อยละ 61.9 ปฏิบัติงานด้านการป้องกันควบคุมโรคต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 63.2 การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องและความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างของ โมเดลพบว่า ค่าสถิติวัดความสอดคล้องกลมกลืนผ่านเกณฑ์ดีทุกตัว แสดงว่าตัวบ่งชี้สมรรถนะมีความเที่ยงตรงเชิงโครงสร้างดีสามารถวัดได้ตรงตามสภาพจริงของข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวบ่งชี้ย่อยทั้งหมด 14 ตัวบ่งชี้ ค่าน้ำหนัก องค์ประกอบมาตรฐานอยู่ระหว่าง 0.553–0.886 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทุกตัว ตัวบ่งชี้ที่มีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบมาตรฐานมาก 3 ลำดับแรกคือ ทักษะการประเมินความเสี่ยง การสื่อสารความเสี่ยง และความสามารถในการควบคุมโรคติดต่ออันตราย น้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐาน 0.886, 0.862, 0.837 ตามลำดับ อธิบายสมรรถนะ ได้ร้อยละ 78.5, 74.3, 70.0 ตามลำดับ

References

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2555.

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2548

กรมควบคุมโรค ศูนย์กฏหมาย. พระราชบัญญัตโรคติดต่อ พ.ศ.2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

กรมควบคุมโรค กองควบคุมโรคติดต่อทั่วไป. ประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์การจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2559[อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2564]. เข้าถึงได้จากจาก https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางปฏิบัติงานทีมเฝ้าระวังสอบสวนควบคุมโรคและภัยสุขภาพ 2563. กรุงเทพมหานคร: แคนนา กราฟฟิค; 2563.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. นิยามโรคและแนวทางการรายงานโรคติดต่ออันตรายและโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: แคนนา กราฟฟิค; 2563.

กรมควบคุมโรค. แนวทางการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 [อินเทอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 5 มกราคม 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/g_srrt.php

Hair JF, Black WC, Babin B, Anderson RE, Tatham RL. Multivariate data analysis. 6th ed. New Jersey: Prentice Hall; 2005.

อุไรวรรณ์ ชัยชนะวิโรจน์, ชญาภา วันทุม. การทดสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือวิจัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2560; 11(2): 105-11.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis-CFA). วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร 2555; 2(2): 68-74.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติขั้นสูงด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพมหานคร: สามลดา; 2560.

ปริทัศน์ เจริญช่าง, สุวัฒนา เกิดม่วง, สุรินธร กลัมพากร. สมรรถนะวิชาชีพการสาธารณสุขชุมชนของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิไทย. Nursing Journal of The Ministry of Public Health 2016; 26 (1): 40-51.

วีระพงษ์ เรียบพร, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการประเมินมาตรฐานทีมเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็ว (SRRT) ระดับอำเภอ จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556; 6(2): 54-61.

สันติ ธรณี, ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานเฝ้าระวังสอบสวนเคลื่อนที่เร็วของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2557; 14(1): 89-104.

อาทิชา วงศ์คำมา, วราลักษณ์ ตังคณะกุล, ดารินทร์ อารียโชคชัย, อมรรัตน์ ชอบกตัญญ, นฤมล สวรรค์ ปัญญาเลิศ. การประเมินสมรรถนะด้านการเฝ้าระวังสอบสวน ควบคุมโรคของประเทศไทย ตามกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2556; 44(35): 545–52.

พวงทิพย์ รัตนะรัต, พจมาน ศิริอารยาภรณ์, ธีรศักดิ์ ชักนำ, นิภาพรรณ สฤษดิ์อภิรักษ์. การประเมินสมรรถนะหลักด้านการเฝ้าระวังสอบสวน และควบคุมโรค ตามตัวชี้วัดกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 ระดับอำเภอในจังหวัดชายแดนของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2557. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ 2561; 49(1): 1-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28