พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้

ผู้แต่ง

  • ไตรภพ ขยันการนาวี -
  • พัชราภรณ์ เจนใจวิทย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัว , ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลเบาหวานที่ควบคุมโรคไม่ได้และครอบครัว มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ และเพื่อศึกษาระดับของพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของครอบครัวที่มีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุมโรคไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างทำสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ มารับบริการในคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองงูเหลือม อายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 52 คนและ 52 ครอบครัว เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของบุคคลและครอบครัว และแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพครอบครัวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เมอร์ดอก และ พาร์สัน (Pender, Murdaugh, & Parsons, 2015) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D)

         ผลการศึกษา พบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับดีมาก (=3.282 S.D.=0.358)   พบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ ( =2.802 S.D.=0.334) 

          ครอบครัวมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมระดับดี ( =3.153 S.D = 0.401) พบว่าพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด ได้แก่ การออกกำลังกายของครอบครัว ( =2.909 S.D.=0.716)

References

International Diabetes Federation. IDF DIABETES ATLAS 9th edition 2019 [Internet]. 2019 [cited 2022 Jan 15] Available from: https://diabetesatlas.org/idfawp/resource-files/2019/07/IDF_diabetes_atlas_ninth_edition_en.pdf

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2560.พิมพ์ครั้งที่ 2. ปทุมธานี: ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.

วิชัย เอกพลากร. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559.

Deerochanawong C, Ferrario A. Diabetes management in Thailand: a literature review of the burden, costs, and outcomes. Globalization and health [Internet]. 2013 [cited 2022 Jan 15]; 9: 11. Available from: https://doi.org/10.1186/1744-8603-9-11.

เกษร มั่นคง, นิภา กิมสูงเนิน, อําภาพร นํามวงศ์พรหม. เปรียบเทียบพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้และควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลทหารบก. 2559; 17(3): 54-62.

ขวัญฤทัย พันธุ, จันทร์ฉาย มณีวงษ์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ในภาคกลาง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา. 2559; 22(1): 93-107.

ธัญลักษณ์ ตั้งธรรมพิทักษ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับผู้ป่วยเบาหวานในชุมชนบ้านหนองนาสร้าง จังหวัดร้อยเอ็ด. ศรีนครินทร์เวชสาร. 2562; 34(3): 243-8.

สุพาพร เพ็ชรอาวุธ, นันทิยา วัฒายุ, นันทวัน สุวรรณรูป. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการโรคเบาหวานด้วยตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2553; 29(4): 18-26.

Pender NJ, Murdaugh CL, Parsons MN. Health Promotion in nursing practice. 7th ed. New Jersey: Pearson; 2015.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-04