คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
คุณลักษณะส่วนบุคคล , ปัจจัยทางการบริหาร , การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional Descriptive Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น ประชากรที่ศึกษาคือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น จำนวน 1,572 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้จำนวน 167 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลเชิงปริมาณและ แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 13 คน ซึ่งแบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ทุกข้อคำถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยง ของแบบสอบถามได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาช 0.96 ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 11 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน โดยมีการกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับปัจจัยทางการบริหาร และการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 2.46 (S.D. = 0.37) และ 2.55 (S.D. = 0.25) ตามลำดับ โดยพบว่าคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความสัมพันธ์ระดับต่ำกับการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น (r = 0.161, p-value = 0.038) และภาพรวมของปัจจัยทางการบริหารมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางกับการปฏิบัติงานป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น (r = 0.609, p-value < 0.001) และพบว่าตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัว ได้แก่ ปัจจัยทางการบริหารด้านการบริหารจัดการ ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และด้านงบประมาณ มีผลและสามารถร่วมพยากรณ์การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 38.1 (R2 = 0.381, p-value < 0.001)
References
กองโรคติดต่อนำโดยแมลง, สำนักงานป้องกัน ควบคุมโรคที่ 1 – 12, สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง. สถานการณ์โรคติดต่อนำโดยยุงลายและการประเมินความเสี่ยงต่อการระบาดในปี 2564 [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1212820211229113331.pdf
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. สถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น; 2563.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือ อสม.ยุคใหม่. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกตามพระราชบัญญัติควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 [ออนไลน์]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://164.115.22.73/khealth/api/doc/doc _20171108160209_e4cfcd9f23c30762a1737cbdc8f5bba7.pdf
จันทิมา เหล็กไหล, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ในการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2559; 30: 132-44.
ภคอร โจทย์กิ่ง, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนสามเหลี่ยม เทศบาลนครขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2560; 24: 29-37.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, ปัทมา รักเกื้อ. ปัจจัยที่มีผลต่อบทบาทในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ. 2561; 21: 31-9.
Schermerhorn JR, Osborn RN, Uhl-Bien M, Hunt JG. Organizational Behavior 12th ed. United States: John Wiley & Sons 2011.
ธนชัย เอกอภิชน. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันวัณโรคของอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริ,สุขภาพตำบลบางลึก อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร.วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ. 2561; 1: 12-24.
ประจักร บัวผัน. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
ปุณณภา วงษาธรรม. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2559.
บัญชา ณ พัทลุง, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น. วารสารและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561; 11, 287-96.
ชวัลลักษณ์ คลังกลาง, ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.วารสารและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561; 11, 533-9.
โรงพยาบาลสีชมพู. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรงพยาบาลสีชมพู. ขอนแก่น: โรงพยาบาลสีชมพู; 2563.
เกียรติศักดิ์ เชิญกลาง, ชัญญา อภิปาลกุล. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 2561; 4: 92-140.
บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางการสาธารณสุข กรณีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์; 2560.
ไอลดา ภารประดิษฐ์, ประจักร บัวผัน. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหาร ที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12: 623-31.
เสาวณี ดอนเกิด, ชัญญา อภิปาลกุล. แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในสุขศาลา อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2560; 10: 47-54.
นิกร บาลี, ชนะพล ศรีฤๅชา. ปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการบริหารคลังยาและเวชภัณฑ์ของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบล จังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2562; 12: 568-94.
พิทักษ์พงษ์ กุลวิมล, อารยา ประเสริญชัย.วรางคณา จันทร์คง. การประเมินผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำ
หมู่บ้านในการดำเนินงานหมู่บ้านจัดการสุขภาพ
อำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 2561; 8: 265-73.
มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน, มกราพันธุ์ จูฑะรสก. การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับัณฑิตศึกษา). 2561; 19: 161-71.
ลักขณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21: 211-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น