การสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
การสนับสนุนจากองค์การ , ปัจจัยแห่งความสำเร็จ , การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรที่ศึกษา คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอ
หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 3,202 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 126 คน และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน ทุกข้อมีค่าความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ 0.95 เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ ระหว่างวันที่ 21 – 28 กุมภาพันธ์ 2565 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 จากการศึกษาพบว่า ระดับการสนับสนุนจากองค์การ ระดับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และระดับการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สมการทำนายในรูปคะแนนดิบ Y = 1.568 + (0.282) (ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการสนับสนุนการดำเนินงาน) สมการทำนายในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.448 (ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ด้านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการสนับสนุนการดำเนินงาน) มีผลและสามารถพยากรณ์การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ร้อยละ 20.1 (R2 = 0.201, p-value < 0.001)
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563 [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/thaivbd/
นิพนธ์ ชินานนท์เวช และคณะ. คู่มือการจัดการโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะสำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2559.
ทองหล่อ เดชไทย. หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์; 2545.
ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์, ลัดดา ดาริการเลิศ, สุพัตรา ศรีวณิชากร, เกษมเวช สุทรานนท์. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มสัก. สรุปผลการดำเนินงานควบคุมและป้องกันไข้เลือดออก ปี 2563. เพชรบูรณ์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มสัก; 2563.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มสัก. ทะเบียนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอหล่มสัก ปี 2564. เพชรบูรณ์: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหล่มสัก; 2564.
Cohen J. Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1988.
ชวัลลักษณ์ คลังกลาง , ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2561; 11(2): 533-49.
Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall; 1977.
Kirk W. Elifson, Richard P. Runyon, Audrey Haber. A Fundamentals of social statistics. 2nd ed. New York: McGraw-Hill; 1990.
ลักษณา ชื่นบาล, ประจักร บัวผัน, สุรชัย พิมหา. คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา). 2564; 21(3): 211-21.
จิราภรณ์ สีดาพล , ชัญญา อภิปาลกุล. แรงจูงใจที่มีผลต่อการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2557; เอกสารรายงานสืบเนื่องหลังการประชุม (Full Paper Proceedings) เล่ม 1 สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาคบรรยาย: 707-12.
สมศักดิ์ เลาหภิชาติชัย. การมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2557; 4(2): 143-50
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น