รูปแบบการจัดจุดบริการเช็คสุขภาพด้วยตนเอง โดยความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ตั้งสวัสดิ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • เบญจมาศ วังนุราช กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงษ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
  • คุณกัญญ์ศศิ พิมพ์ขันธ์ กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

จุดบริการเช็คสุขภาพด้วยตนเอง, ความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research ) นี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดจุดบริการเช็คสุขภาพด้วยตนเองโดยความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น ระยะเวลาที่ทำการศึกษาระหว่างเดือน ตุลาคม 2562 - ธันวาคม 2563 กลุ่มเป้าหมายดำเนินงาน ประกอบด้วย บุคลากรผู้รับผิดชอบงานที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วน ได้แก่  กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการปกครอง  กรมควบคุมโรค   สำนักอนามัยและสำนักงานเขต จากกรุงเทพมหานคร ประเมินผลจากกลุ่มผู้ให้บริการจัดจุดบริการ กลุ่มประชาชนที่มาใช้บริการ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต และการอภิปรายกลุ่ม การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สภาพปัญหา พัฒนาความร่วมมือและข้อเสนอการบริหารจัดการ นำร่องรูปแบบระยะแรก ระยะที่ 2 พัฒนาปรับปรุงเครื่องมือและติดตามเบื้องต้น ระยะที่ 3  ประเมินผลและขยายผลตามพื้นที่ที่กำหนด ระยะที่ 4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานจากประชาชนและสถานที่จุดบริการและสรุปผล  วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา   ผลการศึกษาพบว่า เกิดความร่วมมือการจัดจุดบริการให้บริการเช็คสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง นำร่องในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 50 จุดบริการ และขยายผลทั่วประเทศใน 76 จังหวัด จำนวน 690 จุดบริการ ในสถานที่ราชการ หน่วยบริการประชาชน สถานที่เอกชน ผลการสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนและเครือข่ายในการจัดจุดบริการในพื้นที่ดำเนินการเห็นว่ามีประโยชน์ เป็นการเพิ่มตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง ได้รับความรู้ เพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อ ต้องการให้มีการขยายจุดบริการเพิ่มขึ้น โดยสรุปการจัดจุดบริการเช็คสุขภาพด้วยตนเองเป็นรูปแบบความร่วมมือของภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่นได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชน มีโอกาสในการพัฒนาเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้นในชุมชนต่อไป

References

World Health Organization. 2008-2013 action plan for the global strategy for the prevention and control of noncommunicable diseases [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/gho/publications/world_health_statistics/2018/en/

World Health Organization. World Health Statistics2018. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.

int/gho/publications/world_health_statistics/2018/en/

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข ข้อมูลมรณบัตร ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2562 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562].เข้าถึงได้จาก http://dmsic.moph.go.th/index/detail/8297

วิชัย เอกพลากร เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล หทัยชนก พรรคเจริญ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า กนิษฐา ไทยกล้า.รายงานการสำรวจ

สุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2552. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2552.

วิชัย เอกพลากร เยาวรัตน์ ปรปักษ์ขาม สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล หทัยชนก พรรคเจริญ วราภรณ์ เสถียรนพเก้า กนิษฐา ไทยกล้า. รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2559.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยงโรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บ พ.ศ. 2561. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2561.

Responding to noncommunicable diseases during and beyond the COVID-19 pandemic: a rapid review brief. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/publications/i/item/WHO-2019-nCoVNon-communicable_diseases-Evidence-2020.

World Health Organization. Covid and NCD risk factor 2020. [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://www.who.

int/docs/default-source/ncds/uninteragencytask-force-on-ncds/uniatfpolicy-brief-ncdsand-covid-030920-poster.pdf

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ข้อมูลผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 ณ วันที่ 28 กันยายน 2563 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/doe/

Kemmis S & McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Victoria : Deakin University pres. 1990.

Graves JW. Blood pressure measurement in public places. Am Fam Physician 2005; 71(5): 851-2.

Fleming S, Atherton H, McCartney D, Hodgkinson J, Greenfield S, Hobbs FDR, et al. Self-screening and non-physician screening for hypertension in communities: A systematic review. Am J Hypertens 2015; 28: 1316-24.

Edwards LA, Campbell P, Taylor DJ, Shah R, Edgar DF, Edwards DPC, et al. BMC Public Health (2019) 19:42 [อินเตอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก https://doi.org/10.1186/s12889-018-6370-0

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11