การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรคดื้อยาหลายขนานในชุมชน กรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • โสภิต ชาลี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • สุวรรณี สิริเศรษฐภักดี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์
  • เกรียงชัย เอกา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

วัณโรคดื้อยาหลายขนาน, การพัฒนารูปแบบ, การเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรค

บทคัดย่อ

สถานการณ์วัณโรคดื้อยาหลายขนาน (MDR-TB) ในจังหวัดสุรินทร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังขาดรูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุมโรคในชุมชนที่มีประสิทธิภาพ จึงทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart เพื่อพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB ในชุมชน กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มตัวอย่างในการจัดเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ และการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB โดย คัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรค บุคลากรสาธารณสุข ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 15 คน และ 2) กลุ่มตัวอย่างที่จะทดลองใช้รูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB ในชุมชนที่พัฒนาขึ้น สุ่มอย่างง่ายจากกลุ่มเสี่ยงในชุมชนในพื้นที่อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 21 คน ดำเนินกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ระหว่างเดือนมกราคม 2563 – กันยายน 2564  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ การสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการคัดกรองวัณโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลต่างด้วย Paired T-test และวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB ในชุมชน มี 5 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และ อสม. ในด้านการเฝ้าระวังและควบคุมวัณโรค 2) การเร่งรัดค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในชุมชน 3) การเฝ้าระวังและติดตามการรักษาผู้ป่วยวัณโรคปอดที่กลับมารักษาซ้ำ 4) การคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านที่พบผู้ป่วย MDR-TB หรือมีอัตราชุกของวัณโรคสูง และ 5) การประสานงานส่งต่อข้อมูลทั้งในสถานบริการและในชุมชน เพื่อการเฝ้าระวัง และควบคุมโรค MDR-TB ผลการเปรียบเทียบการปฏิบัติพฤติกรรมเฝ้าระวังและควบคุมโรคในกลุ่มเสี่ยง พบว่า หลังการทดลองใช้รูปแบบกลุ่มเสี่ยงมีค่าเฉลี่ยความแตกต่างคะแนนพฤติกรรมเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB เพิ่มมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ดังนั้น การดำเนินกิจกรรมตามรูปแบบการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB ในชุมชนที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเฝ้าระวังและควบคุม MDR-TB ชุมชนที่มีอัตราชุกวัณโรคสูงหรือมีอัตราอุบัติการณ์ของ MDR-TB ได้

References

กองวัณโรค กรมควบคุมโรค. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก (Extensively drug-resistant TB: XDR-TB) [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.tbthailand.org/download/form/

Stosic M, Vukovic D, Babic D, Antonijevic G, Foley KL, Vujcic I, et al. Risk factors for multidrug-resistant tuberculosis among tuberculosis patients in Serbia: a case-control study. BMC Public Health 2018; 18: 1114.

Pradipta IS, Forsman LD, Bruchfeld J, Hak E, AlffenaarJW. Riskfactors of multidrug-resistant tuberculosis: A global systematic review and meta-analysis. J Infect 2018; 77(6): 469-78.

World Health Organization. Global tuberculosis report 2020.Geneva:WorldHealthOrganization; 2020.

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์. สรุปผลการดำเนินงานปี 2563. สุรินทร์: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุรินทร์; 2563.

มุกดา วิเศษ,นพดล พิมพ์จันทร์. การพัฒนารูปแบบการป้องกันวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมากโดยกระบวนการชุมชนมีส่วนร่วม.วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2563; 27(2): 1-11.

World Health Organization. WHO consolidated guidelineson drug-resistant tuberculosis.Geneva: World Health Organization; 2019.

สำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค. แนวทางการรักษาผู้ป่วยวัณโรคดื้อยาหลายขนานด้วยสูตรยาระยะสั้น 9 เดือน. พิมพ์ครังที่ 1. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planner. 3rd ed. Geelong,Victoria: Deakin UniversityPress.; 1988.

นิรมล พิมน้ำเย็น, ทวีศักดิ์ ศิริพรไพบูลย์. ความรู้และเจตคติต่อวัณโรคดื้อยาหลายขนานของเจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรค โรงพยาบาลศูนย์ทั่วไปและชุมชน พื้นที่ภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2554; 5(1): 47-58.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30