ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไตในผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 ในจังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไต, โรคเบาหวาน, โรคไตเรื้อรังบทคัดย่อ
สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะโรคไตเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ซึ่งผู้ป่วยเบาหวาน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรคไตเรื้อรัง การศึกษาเชิงวิเคราะห์ แบบภาคตัดขวาง (Cross – sectional Study) นี้ผู้วิจัยกำหนดนิยามการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไตคือ มากกว่า 5 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตร/ปี มีวัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ใน จังหวัดขอนแก่น โดยศึกษาจากฐานข้อมูลระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ (43แฟ้ม) ของ จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 – 30 กันยายน 2563 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA เวอร์ชั่น 14 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับการตรวจคัดกรองโรคไตเรื้อรังและยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง จำนวน 7,655 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้การถดถอยลอจิสติกพหุคูณ (Multiple logistic regression) คัดเลือกตัวแบบการถดถอยโดยวิธีการกำจัดแบบถอยหลัง (Backward elimination) พิจารณาที่ค่าพี (p-value) น้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษาพบว่า การลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไต ร้อยละ 39.7 ตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 64.0 อายุเฉลี่ย 59.7 ปี (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 11.3) ดัชนีมวลกายระดับอ้วน ร้อยละ 32.9 ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้แก่ (1) การสูบบุหรี่ (ORAdjusted =1.25, 95%CI 1.09 ถึง 1.44) (2) การควบคุมระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือดไม่ได้ (ORAdjusted=1.32, 95%CI 1.20 ถึง 1.44) โดยสรุปการศึกษานี้พบปัจจัยเสี่ยง 2 ปัจจัย ดังนั้น เพื่อยืดระยะเวลาการเสื่อมของไตก่อนเข้าสู่ภาวะโรคไตเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวควรได้รับการให้คำปรึกษาและแนวทางการปฏิบัติตัวเพื่องดการสูบบุหรี่ และลดระดับไขมันชนิดไม่ดีในเลือด
References
Xie Y, Bowe B, Mokdad AH, Xian H, Yan Y, Li T, Maddukuri G, et.al. Analysis of the Global Burden of Disease study highlights the global, regional, and national trends of chronic kidney disease epidemiology from 1990 to 2016. Kidney International. 2018; 94(3): 567–81.
ikbov B, Purcell CA, Levey AS, Smith M, Abdoli A, Abebe M, et.al. Global, regional, and national burden of chronic kidney disease, 1990–2017: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2017. The Lancet. 2020; 395(10225): 709–33.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. ข้อมูลการบําบัดทดแทนไตในประเทศไทย. รายงานงานการข้อมูลการบําบัดทดแทนไตโดยคณะอนุกรรมการลงทะเบียนการรักษาทดแทนไต( TRT) ประจำปี 2563[อินเทอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 4 กันยายน 2564]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/
สำนักระบาดวิทยา. ข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.boe.moph.go.th
Bjornstad P, Nehus E, El Ghormli, L, Bacha F, Libman IM, McKay S, et al. Insulin sensitivity and diabetic kidney disease in children and adolescents with type 2 diabetes: An observational analysis of data from the today clinical trial. American Journal of Kidney Diseases 2018; 71(1): 65-74.
มณีรัตน์ จิรัปปภา. การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2557; 20(2): 5-16.
โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์. ปัจจัยเสี่ยงของการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไตในผู้ป่วยเบาหวาน [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 18 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้จาก: http://www.brkidney.org
Menon V, Katz R, Mukamal K, Kestenbaum B, De Boer IH, Siscovick DS, et.al. Alcohol consumption and kidney function decline in the elderly. Nephrology Dialysis Transplantation. 2020; 25(10): 3301–07.
Liang S, Cai GY, Chen XM. Clinical and pathological factors associated with progression of diabetic nephropathy. Nephrology. 2017; 22: 14–9.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. แนวทางการรายงานผลการลดลงอย่างรวดเร็วของอัตราการกรองของไต [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 11 พฤษภาคม 2563]. เข้าถึงได้ จาก: http://www.nephrothai.org
Evaluation D. Correction: National kidney foundation practice guidelines for chronic kidney disease. Annals of Internal Medicine. 2003; 139(7): 605.
Laecke SV, Biesen WV. Smoking and chronic kidney disease: Seeing the signs through the smoke?. Nephrology Dialysis Transplantation. 2017; 32(3): 403-05.
Hall ME, Wang W, Okhomina V, Agarwal M, Hall JE, Dreisbach AW, et al. Cigarette smoking and chronic kidney disease in African Americans in the Jackson heart study. Journal of the American Heart Association. 2016; 5(6): 1-6.
Orth SR, Schroeder T, Ritz E, Ferrari P. Effects of smoking on renal function in patients with type 1 and type 2 diabetes mellitus. Nephrology Dialysis Transplantation. 2005; 20(11): 2414-9.
Willey JZ, Moon YP, Kulick ER, Cheung YK, Wright CB, Sacco RL, et al. Physical inactivity predicts slow gait speed in an elderly multi-ethnic cohort study: The Northern Manhattan study. Neuroepidemiology. 2017; 49: 24-30.
Wang X, Ji X. Sample size estimation in clinical research: From randomized controlled trials to observational studies. Chest. 2020 158(1): S12-S20.
Zoppini G, Targher G, Chonchol M, Ortalda V, Negri C, Stoico V, et al. Predictors of estimated GFR decline in patients with type 2 diabetes and preserved kidney function. Clinical Journal of the American Society of Nephrology. 2012; 7(3): 401-8.
อภิรดี แซ่ลิ่ม.การจัดการข้อมูล กราฟ และการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรมR. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ไอคิว มีเดีย; 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น