ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ และการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อรรถพล ภูอาษา โรงพยาบาลจอมพระ จังหวัดสุรินทร์

คำสำคัญ:

วัยรุ่น, พฤติกรรมเสี่ยง, เพศสัมพันธ์, สารเสพติด

บทคัดย่อ

การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการใช้สารเสพติดในวัยรุ่นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น แต่ยังขาดหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ถึงขนาดของปัญหา และปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดการปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น จึงทำการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง เพื่อประมาณค่าความชุกและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านพฤติกรรมทางเพศ และด้านการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 12-19 ปี เป็นนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายที่เรียนในโรงเรียนพื้นที่อำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 530 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประมาณค่าความชุก และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงด้วยวิธีถดถอยพหุลอจิสติก รายงานค่าความสัมพันธ์ด้วย ORadj. และ 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05

       ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 62.83 กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 59.43 สูบบุหรี่ ร้อยละ 10.75 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 15.28 มีประสบการณ์ใช้สารเสพติดอื่นๆร้อยละ 5.66 ความชุกด้านการใช้สารเสพติดทุกชนิด ร้อยละ 20.19 (95%CI; 16.85-23.68) และมีความชุกพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 6.42 (95%CI; 4.48-8.84) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมปลาย (ORadj =3.49; 95%CI: 1.51-8.05) การดูสื่อหรือคลิปที่ก่อให้เกิดอารมณ์ทางเพศมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ (ORadj =8.31; 95%CI: 3.64-18.96) และการมีพฤติกรรมดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj =4.40; 95%CI: 1.95-9.94) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) และกลุ่มตัวอย่างเพศชาย (ORadj =2.78; 95%CI: 1.72-4.50) มีอายุ 16 ปีขึ้นไป (ORadj = 2.10; 95%CI: 1.29-3.41) มีบิดาหรือมารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj = 2.46; 95%CI: 1.35-4.47) มีบิดาและมารดาดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ORadj = 2.87; 95%CI: 1.53-5.39) และการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ (ORadj =7.70; 95%CI: 3.36 – 17.65)  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงด้านการใช้สารเสพติดของวัยรุ่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05)

            ดังนั้น จึงจำเป็นต้องส่งเสริม สนับสนุนการเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมในวัยรุ่น การสร้างกิจกรรมในครอบครัวที่สร้างสรรค์เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อป้องปรามและลดการปฏิบัติพฤติกรรมเสี่ยงด้านต่างๆ ของวัยรุ่นได้

References

สุนิสา ประวิชัย. เจาะใจวัยรุ่นไทยผ่านผลโพลล์. วารสารสำนักบริหาร 2548; 25(3): 88-90.

สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์. กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ชัยเจริญ; 2551.

World Health Organization [WHO]. Child and Adolescent Health and Development Geneva: WHO; 2011 [Internet]. 2020 [cited 4 January 2020]. Available from: http://www.who.int/

child_adolescent_health/news/archive/2011/01_06_2011/en/index.html.

กุลระวี วิวัฒนชีวิน, รวมพร คงกำเนิด, ศิริอรสินธุ. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ในเยาวชนที่กำลังศึกษาในระบบการศึกษาในเขตภาคเหนือประเทศไทย. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ 2564; 22(1): 1-14.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. พฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในไทย 2562 กรุงเทพฯ: ETDA [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [10 เมษายน 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-behavior2019-slides.html.

ชุติมาภรณ์ ค้าขาย. อิทธิพลของสื่อสังคมออนไลน์ต่อพฤติกรรมเบี่ยงเบนของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ 2562; 27(2): 194-227.

ปัทมาภรณ์ สุขสมโสด, ปฐมพงษ์ พุ่มพฤกษ์. ผลกระทบของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อการเปลี่ยนแปลงค่านิยมวัยรุ่นในพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา 2564; 13(1): 119-37.

วราภรณ์ มั่งคั่ง,จินตนา วัชรสินธุ์,วรรณี เดียวอิศเรศ. ปัจจัยครอบครัวที่มีผลต่อการใช้ยาเสพติดของวัยรุ่นชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559; 11(2): 53-63.

อ่อนนุช หมวดคูณ, วันเพ็ญ ช้างเชื้อ. ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2562; 9(3): 379-89.

สถาบันบาบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติพระบรมราชชนนี. ข้อมูลการให้บริการด้านการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด ปีงบประมาณ 2561-2563 [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [8 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.pmnidat.go.th/thai/index.

php?option=com_content&task=view&id=3294&Itemid=53.

เปรมฤดี หงษ์สุทธิ, ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์, ดวงใจ วัฒนสินธุ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดสารเสพติดของนักเรียนชายโรงเรียนขยายโอกาส. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2560; 33(3): 112-23.

โรงพยาบาลจอมพระ.สรุปผลการดำเนินงานตัวชี้วัดด้านสุขภาพสำหรับการตรวจราชการ รอบที่ 2 ปี 2563. สุรินทร์: โรงพยาบาลจอมพระ; 2563.

Lwang SK, Lemeshow S. Samplesize determination in health studies: Apractical manual. Geneva:

Worl Health Organization; 1990.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ พ.ศ. 2560 กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2561 [อินเทอร์เนต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 8 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/News/2561/N31-08-61-

aspx.

วรารัตน์ สังวะลี, จุน หน่อแก้ว, มะลิ โพธิพิมพ์, วลัญช์ชยา เขตบ่ารุง, ธีรยุทธ อุดมพร, แสงจ่อย อินทจักร. สถานการณ์การสูบบุหรี่ของบุคลากรและนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล 2563; 33(2): 56-70.

เผ่าพงศ์ สุนทร. รายงานการวิจัยเรื่องความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนมัธยมในอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. ลำพูน: โรงพยาบาลลี้; 2555.

วิทย์ วิชัยดิษฐ, เอ็ดเวิร์ด แม็คแนล, ดาริกา ใสงาม, สาวิตรี อัษณางค์กรชัย. รายงานสถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทยประจำปีพ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์; 2562.

พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, อภินันท์ อร่ามรัตน์, เพ็ญประภา ศิวิโรจน์, สำราญ กันทวี. ความชุกของการใช้สารเสพติดและความสัมพันธ์ระหว่างการใช้สารเสพติดกับพฤติกรรมแสวงหาความตื่นเต้นเร้าใจของนักเรียนอาชีวศึกษา. พยาบาลสาร 2560; 44(2): 172-81.

ธนันณัฏฐ สิงห์วิเศษ, พิมพ์พรรณ ศิลปสุวรรณ, ปรารถนา สถิตย์วิภาวี, ราม รังสินธุ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นชายไทย ที่รับเข้าเป็นทหารกองประจำการ. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2560; 31 (ฉบับพิเศษ): 139-61.

สุนีย์ กันแจ่ม, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, อนามัย เทศกะทึก, วนัสรา เชาวน์นิยม. ความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายกับเพื่อนหญิง: การวิเคราะห์อภิมาน. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2560; 11(ฉบับพิเศษ): 64-73

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-29