โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนพื้นที่แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • เกดแก้ว หลวงไซ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • กุลชญา ลอยหา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • เด่นดวงดี ศรีสุระ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคไข้เลือดออก, โปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก, ความรู้ , การปฏิบัติตัว

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนพื้นที่แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ เป็นการศึกษาเชิงกึ่งทดลอง จำนวน 94 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 47 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 47 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ในส่วนของข้อมูลทางด้านประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะด้วยสถิติ paired t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนภายในกลุ่มในด้านความรู้ความเข้าใจ การรับรู้อันตรายและความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ และ วิเคราะห์ด้วยสถิติ independent t-test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบในด้านความรู้ความเข้าใจ การรับรู้อันตรายและความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของทั้งก่อนทดลองและหลังการทดลอง ที่ระดับ P-value <0.05

          ก่อนการทดลอง พบว่า ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้อันตรายและความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ประโยชน์ และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ ส่วนใหญ่มีระดับคะแนนที่ระดับปานกลาง และระดับต่ำ ตามลำดับ และหลังการทดลอง พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น ทั้งคะแนนความรู้ความเข้าใจ การรับรู้อันตรายและความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์ ของทั้งภายในกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบ โดยกลุ่มทดลองก็มีคะแนนเฉลี่ยในด้านความรู้ความเข้าใจ การรับรู้อันตรายและความรุนแรง การรับรู้โอกาสเสี่ยง และการรับรู้ประโยชน์ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value <0.05 ส่วนการปฏิบัติตนด้านพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก พบว่า ไม่มีความแตกต่าง ดังนั้นเจ้าหน้าที่ สาธารณสุขควรมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกทั้งนี้ต้องมีการกระตุ้นเตือนและมีการติดตามอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติด้านพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกที่ถูกต้อง และควรนำไปทดสอบประสิทธิผลเพื่อป้องกันหรือควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชนโดยมีการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับบริบทในแต่ละพื้นที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

References

World Health Organization. Dengue Guidelines for Diagnosis, Treatment, Prevention and Control [Internet]. 2009[cited 2020 Dec 3]. Available: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44188/9789241547871_eng.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Khampapongpane B, Lewis HC, Ketmayoon P, Phonekeo D, Somoulay V, Khamsing A, Phengxay M, Sisouk T, Vongphrachanh P, Bryant

JE. National dengue surveillance in the Lao People’s Democratic Republic, 2006–2012: epidemiological and laboratory findings. Western

Pacific Surveillance and Response Journal 2014; 5(1): 7-13.

Arima Y, Chiew M, Matsui T. Epidemiological update on the dengue situation in the Western Pacific Region 2012. Western Pacific Surveillance and Response Journal 2015; 6(2): 82-9.

Limkittikul K, Brett J, Lazou M. Epidemiological trends of dengue disease in Thailand (2000–2011): a systematic literature review. PLOS

Neglected Tropical Diseases 2014; 8(11): 32-41.

หน่วยงานเฝ้าระวังระบาดวิทยา แผนกสาธารณสุขแขวงจำปาสัก. รายงานโรคไข้เลือดออก ปี 2018-2019. แขวงจำปาสัก: สำนักงานสาธารณสุขแขวงจำปาสัก; 2019.

กูอัณวาร์ กูเมาะ. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกหมู่บ้านบางหมู ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 28 มกราคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.google.com/url?sa=t&source=web&rct=j&url=https:/he02.

tcithaijo.org/index.php/ppkjournal/article/download/68424/56376/&ved=2ahUKEwjEjrvJk7nuAVByDgGHdHmCd0QFjAAegQIARAB&usg=AOvVaw0E8auAytm8FVJpcHjMCct8;2559.

เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ, ยลฤด ตัณฑสิทธิ์, ธีรศักดิ์ พาจันทร์, จิรพงศ วสุวิภา. การพัฒนารูปแบบการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2562; 6(1): 209-18.

Vanlerberghe V,Toledo ME,Rodríguez M,Gomez D, Baly A, Benitez JR, Vander SP. Community involvement in dengue vector control: cluster randomised trial. BMJ 2009; 33(3): 1946-59.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement 1970; 30: 607-10.

ดาว เวียงคำ, จุฑามาศ ผลมาก, พยาม การดี, ศิริรัตน์ โกศัลย์วัฒน์, นวิยา กันทะมูล, สำเริง พรหมมงคล. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อ

ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติ ของแกนนำชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา. วารสารการพยาบลและการดูแลสุขภาพ 2060; 35(1): 207-14.

รอยฮาน เจ๊ะหะ. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก : กรณีศึกษาตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2552.

Bartley SH. Principle of Perception. New York: Harper & Row; 1963.

กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนนาชะอัง จังหวัดชุมพร [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2553.

พรพรรณ สมินทร์, ปัญญา อำไพวรรณ ทุมแสน, สุภัจฉรี มะกรครรภ์. ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออก ของประชาชน บ้านคั่นตะเคียน ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2560; 18(35): 37-51.

Wanglomglang J. Effectiveness of The Leader Participation on Dengue Hemorrhagic fever Prevention and Control in Banggruy District, NontaburyProvince[dissertation].Mahasarakham: Mahasarakham University; 2010.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-28