การจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ความเสี่ยงจากการทำงาน, การจัดการความเสี่ยง, ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานบทคัดย่อ
บุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น มีการสัมผัสความเสี่ยงจากการทำงาน แต่ยังไม่มีกระบวนการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานที่มีรูปแบบที่ชัดเจน การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กลุ่มเป้าหมายและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 114 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่ทำการศึกษา
สถานการณ์และสภาพปัญหาจำนวน 100 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 14 คน การวิจัยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผนศึกษาสถานการณ์ ประเมินความเสี่ยงจากการทำงานจัดทำแนวทางและแผนปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน 2) การปฏิบัติตามแผนงานการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน 3) การสังเกตการณ์หลังปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงาน 4) การสะท้อนผลการปฏิบัติโดยประชุมแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงาน สะท้อนปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบบันทึกการทบทวนหลังปฏิบัติงาน การสนทนากลุ่ม ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยคุกคามทางสุขภาพสูงสุด 3 อันดับ คือ 1) ปฏิบัติงานกับคอมพิวเตอร์หรือปฏิบัติงาน ที่ต้องใช้สายตาในการเพ่งมองหน้าจอ 2) ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม และ 3) การปฏิบัติงานนั่งทำงานอยู่กับที่ติดต่อกันเป็นเวลานานจนมีผลต่อการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความเข้มแสงไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 46.64 ดำเนินการจัดทำแนวทางจัดการความเสี่ยงและแก้ไขความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานสำหรับบุคลากร ตามกรอบขั้นตอนและแนวทางที่จัดทำขึ้น ได้แก่ การให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงจาการทำงาน ปรับปรุงแก้ไขสภาพแวดล้อมในการทำงาน ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงจากการทำงาน ดำเนินงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้บุคลากรมีผลการเรียนรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรมให้ความรู้เรื่องความเสี่ยงจาการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) ติดตามประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจากการทำงานโดยการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พบว่า สิ่งคุกคามด้านกายภาพ ด้านชีวภาพ ด้านเคมีและด้านการยศาสตร์ อยู่ในระดับเล็กน้อย - ปานกลาง ซึ่งอยู่ในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
References
World population. [internet]. 2020[cited October 10, 2020]. Available from: https://thestandard.co/the-world population-prospects-2019/
WHO. [internet]. 2018 [cited October 10, 2020]. Available from: https://www.who.int/data/gho/publications/world health-statistics.
International Labour Organization [ILO]. [internet]. 2013 [cited October 10, 2020]. Available from: http://www.ilo.org/global/standards/subjectscovered-by-international-labourstandard/occupational-safety-and-health/lang-en/index. htm
Richardson, Kristy. Liability under the Workplace Health and Safety Act 1995: select issues for management. Central Queensland University, Australia. [internet]. 1995 [cited October 10, 2020]. Available from: http://researchgateway.in.th/search/index
รายงานสถานการณ์โรค NCDs.กองโรคไม่ติดต่อ. กรมควบคุมโรค; 2562.
กลุ่มรายงานมาตรฐานระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2562 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2563].
เข้าถึงได้จาก https//61.19.32.29/hdc/reports/page. php?cat_id=f16421e617aed29602f9f09d951cce68
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 [ออนไลน์]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 26 กันยายน 2563]. เข้าถึงได้จากhttp:://www3.mol.go.th/content/63218/150480
พิรวรรณ วังอุปัดชา. การประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น: กลุ่มแผนงานและประเมิน
ผล สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น; 2562.
องอาจ นัยพัฒน์. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: แนวคิดและวิธีการ. วารสารการวัดผลการศึกษา 2548; 48(22): 23-40.
อรุณ จิระวัฒน์กุล. ชีวสถิติที่ใช้ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2551.
สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. คู่มือประเมินความเสี่ยงจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข 2554). พิมพ์
ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2554.
Zanko, Michael. occupational health and safety management in organizations. Central Queensland University, Australia. [internet]. 2016 [cited October 21, 2020]. Available from: http://researchgate way.in.th/search/index.
ประกายรุ่ง โกมุติบาล. การจัดการความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ของพนักงานสายสนับสนุนที่ปฏิบัติงาน ในสำนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี.
[วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2559.
ฉัตร์ยุภา จิโนรส. ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของพนักงานทำความสะอาดโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. [วิทยานิพนธ์
ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. จังหวัดเชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2558.
ทัศนพงษ์ ตันติปัญจพร. ผลของภาระงานคอมพิวเตอร์ต่ออาการผิดปกติของรยางค์ส่วนบน คอ และหลัง จากการทำงานในกลุ่มพนักงานสำนักงาน 2562. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(1): 60-7.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดขอนแก่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ความรับผิดชอบ
บทความที่ลงพิมพ์ในวารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ถือเป็นผลงานทางวิชาการหรือวิจัย และวิเคราะห์ตลอดจนเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน ไม่ใช่ความเห็นของวารสารสำนักงาน ป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น หรือ ของกองบรรณาธิการแต่ประการใด ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง
ลิขสิทธ์บทความ
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์จะถือเป็นลิขสิทธิ์ของสำนักงานป้องกันตวบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น