การพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียนพื้นที่หัวสัตว์บวก : กรณีศึกษาตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • สุภาพร ทุยบึงฉิม สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • บุญทนากร พรมภักดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • กิตติศักดิ์ สีสด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียนพื้นที่หัวสัตว์บวกในพื้นที่ตำบลเมืองพล  อำเภอพล  จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการวิจัย  1) การวิเคราะห์สภาพปัญหาของการดำเนินงานป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียน  2)  สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียน  3) ทดลองใช้รูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และ 4) ประเมินผลรูปแบบการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กลุ่มตัวอย่าง  61 คน ประกอบด้วย 1) พัฒนารูปแบบ 30 คน  และ 2) ครูและนักเรียน 31 คน   และผู้เชี่ยวชาญ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูล ประเด็นการอภิปราย  แผนการเรียนการสอนเรื่องการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า แบบทดสอบความรู้เรื่องโรคพิษสุนัขบ้า  และแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติ Paired t-test  และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อจัดหมวดหมู่ แยกแยะประเด็น สามารถสรุปผลการวิจัย ดังนี้

  1. การวิเคราะห์สภาพปัญหาในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีปัญหาเกี่ยวกับการสร้างความรอบรู้ของนักเรียน
  2. การสังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียนพื้นที่หัวสัตว์บวกในพื้นที่ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสาระและมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา 2) กระบวนการ ประกอบด้วย การพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า และการจัดกระบวนการเรียนรู้การสอนของครู และ 3) ผลผลิต ประกอบด้วย ผลการใช้รูปแบบ และการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบ
  3. ผลจากการใช้รูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียนพื้นที่หัวสัตว์บวกในพื้นที่ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

          3.1 คะแนนค่าเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียน (  = 8.93, S.D. = 2.35) หลังการจัดกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ย (  = 18.12, S.D. = 2.82) และนักเรียนมีคะแนนระหว่างเรียนตามแผนการเรียนรู้ทั้ง 6 แผน (  = 135.61, S.D. = 13.38) 

          3.2. ความแตกต่างของคะแนนค่าเฉลี่ยก่อนและหลัง (  = 9.19, S.D. = 2.37) การเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) 

                    3.3 ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนการสอนเรื่อง การป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า โดยค่า E1= 90.41 และ E2 = 72.48

          4. การประเมินความคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในโรงเรียนพื้นที่หัวสัตว์บวก ตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ระดับมากที่สุด ( = 3.35, S.D. = 0.24)

 

 

References

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปจากประเทศไทย ภายใน พ.ศ.2563 (ค.ศ. 2020). พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซค์; 2556.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าโครงการสัตว์ปลอดโรคคนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธาน ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารีฯ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2560.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป. ข้อมูลรายงานผู้สัมผัสโรคพิษสุนัขบ้าโปรแกรม ร.36 ข้อมูลสะสมณวันที่1 ม.ค.- 31 ก.ค.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์2562]. เข้าถึงได้จาก: http://r36.ddc.moph.go.th/r36/index.php/webboards/category/4

เคโก๊ะ อาไก, จิราพร ชมพิกุล, ชีระวิทย์ รัตนพันธ์. พฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของเจ้าของสุนัขในจังหวัดนครปฐม ประเทศไทย.วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2558; 13(1): 17-28.

หทัยกาญจน์ ยางศรี,สงครามชัย ลีทองดี,จมาภรณ์ ใจภักดี. รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน เพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2560; 12(2): 86–97.

เกษร แถวโนนงิ้ว, ศศิธร ตั้งสวัสดิ์, พงษ์ศักดิ์ ภูกาบขาว. การประเมินผลหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6ปี2559. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560; 35(1): 157 – 67.

Franziska B, Yue-Sheng Li, Li-Ping Y, YongKang H, Darren G, GailW. School-Based Health Education Targeting Intestinal Worms Further Support for Integrated Control. PLoS Negl Trop Dis 2014; 8(3): e2621.

ทิศนา แขมมณี. การวิจัยทางการศึกษา (Educational Research). ใน: ทิศนา แขมมณี และสร้อยสน สกลรัตน์, บรรณาธิการ. แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2540.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงสาธารณสุข.หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุงพ.ศ.2560) [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อวันที่10 กุมภาพันธ์2562]. เข้าถึงได้จาก: http://academic.obec.go.th/newsdetail.php?id=75

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

ประคอง กรรณสูต. สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์; 2542.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2554.

Dongxu W, Donald S, Yanfei Y, Chun C. Do health-promoting schools improve nutrition in China? Health Promotion International 2013; 30(2): 359-68.

ปวีณา นามโคตร, ศิริพร คำสะอาด, มาลินี เหล ่าไพบูลย์, สุพจน์ คำสะอาด, พรรณี บัญชรหัตถกิจ. ประสิทธิผลของวิธีการทางสุขศึกษาในการป้องกันการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์เมตต้า. ศรีนครินทร์เวชสาร 2560; 32(4):379-88.

Foster GD, Sherman S, Borradaile DF, SandySherman K, Borradaile M, Grundy S, et al. A policy-based school intervention to prevent overweightandobesity.Pediatrics 2008; 121(4): e794–e80.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30