ความรอบรู้ด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมสุขภาพ การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • รินธรรม จารุภาชน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น
  • นงนุช สุรัตนวดี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • วิภาพร ต้นภูเขียว สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • เนตรชนก พันธุ์สุระ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • ณัฏฐดา สวนไผ่ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น
  • อรทัย ปรีดีย์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ, ไวรัสโคโรนา 2019, ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในจังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คำนวณ
ขนาดตัวอย่างจำนวน 620 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 และวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน ค่าร้อยละ และค่าความถี่

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 620 คน มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละ 21.0 โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 38.2 และเป็นผู้ป่วยทั้งโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 40.8, อายุเฉลี่ย 62.98 ปี (S.D.=10.22), จบระดับประถมศึกษา ร้อยละ 84.7 มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 65.8 ภาพรวมส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 59.5 จำแนกตามทักษะ 6 ทักษะ ดังนี้ ทักษะการตัดสินใจอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 75.3 การจัดการตนเองอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 70.0 การรู้เท่าทันสื่ออยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 68.1 ทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับดีมาก ร้อยละ 55.6 การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 56.5 และความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.4 และพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 99.5

สรุปและข้อเสนอแนะ ระดับความรอบรู้สุขภาพด้านทักษะความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับพอใช้ และทักษะการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพนั้นอยู่ในระดับไม่ดี จึงควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลอย่างเหมาะสมแก่ประชาชนและออกแบบรูปแบบการให้ข้อมูลให้เหมาะสมกับอายุ และระดับการศึกษาของประชาชนต่อไป

References

Sinclair A.J, Abdelhafiz A.H. Age, frailty and diabetes-triple jeopardy for vulnerability to COVID-19 infection. EClinicalMedicine. 2020 Apr 23; 22. PMID: 32328575.

Kluge HP, Wickramasinghe K, Rippin HL, Mendes R, Peters DH, Kontsevaya A, et al. Prevention and control of non-communicable diseases in the COVID-19 response. Lancet 2020; 395: 1678-9.

ภัคณัฐ วีรขจร, โชคชัย ขวัญพิชิต, กิตติพร เนาว์สุวรรณ์, นภชา สิงห์วีรธรรม. การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกำลังพลที่ปฏิบัติงานสายแพทย์ ศูนย์อำนวยการแพทย์ จังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2563; 3: 109.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, นฤมล ตรีเพชรศรีอุไร. ความฉลาดทางสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด;2554.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำ

หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 1); 2563.

ศิริชัย กาญจนวาสี. ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2552.

Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

วิชาญ ปาวัน, ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ, จักรกฤษณ์ พลราชม, นิรันตา ศรีบุญทิพย์, สุจิตรา บุญกล้า. การประเมินผลการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องโรคและภัยสุขภาพ พฤติกรรมการป้องกันโรคและควบคุมโรคและภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคของประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2562. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2562.

ภัสราวลัย ศีติสาร, อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์, จารุวรรณ ใจลังกา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2556; 9: 120-35.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, นิรชร ชูติพัฒนะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2559; 3: 110-26.

รุ่งนภา จันทรา, ชุลีพร หีตอักษร, สุทธานันท์ กัลกะ, อติญาณ์ ศรเกษตริน, ดาราวรรณ รองเมือง. ความแตกฉานด้านสุขภาพของประชากรกลุ่มเสี่ยงโรค

เบาหวานและความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2563; 30: 177-87.

Jovic-Vranes A, Bjegovic-Mikanovic V, Marinkovic J. Functional health literacy among primary health-care patients: data from the

Belgrade pilot study. Journal of Public Health 2009; 31: 490-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-11